ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ
    วิทยากร อาจารย์วินัย วิริยะอลงกรณ์  สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    การห่อผลในไม้ผล
    การห่อผลหรือช่อผลด้วยวัสดุห่อ นอกจากจะช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงแล้ว   ยังมีผลต่อการเจริญและคุณภาพของผลด้วย  โดยทำให้ผลไม้หลายชนิดมีผิวสวยงาม และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ลิ้นจี่  สาลี่ และท้อ  ช่วยป้องกันผลแตกในลิ้นจี่ เนคทารีน และองุ่น ตลอดจนอาการจุดสีน้ำตาลบนผลสาลี่  และแอปเปิล ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการผลิตวัสดุห่อช่อผลไม้ออกมามากมายหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติด้านการผ่านได้ของแสง การซึมผ่านได้ของไอน้ำ และการนำความร้อน ซึ่งส่งผลถึงสภาพแวดล้อมรอบๆ ผลิตผลที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตผล

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร อาจารย์ปรีชา รัตนัง  สาขาพืชผัก  ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

     

    การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

    กวางตุ้ง การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์กวางตุ้งจะต้องมีการคัดเลือกต้นที่มีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ตรงตามความต้องการของตลาด  คัดเลือก  5 -10 ต้นต่อแปลง  หลังจากนั้นให้เอามุ้งตาข่ายครอบดอกไว้เพื่อไม่ให้ได้รับการผสมเกสรจากต้นอื่น ป้องกันการปลอมปน  หลังจากติดฝักแล้วให้เก็บไปห้อยไว้ในร่วม การตากแดดให้ตากต้อนเช้า  ตอนบ่ายให้เก็บเข้าร่มเพื่อป้องกันการตายนึ่ง สามารถเก็บไว้ได้นาน

     

    การเก็บเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จะเก็บฝักที่อยู่ตรงกลางต้นหรือเถาและไม่เก็บฝักที่แห้งคาต้นเลือกที่ตรงตามความต้องการของตลาด  โดยสังเกตเมื่อฝักเริ่มบวมให้เก็บมารวมกัน รอจนฝักเหลืองทิ้งไว้ในร่ม  3.-5 วัน ตากแดดประมาณ 3 ครั้งในช่วงเวลาเช้า  บ่ายให้เก็บเข้าร่ม เมื่อฝักแห้งแล้วให้แกะเมล็ดออกนำมารวมกันแล้วแช่ตู้เย็น และให้เก็บปีต่อปี

     

    เรื่อง ข้าวโพดหวานสองสีฝีมือคนไทย *พันธุ์ No. 4058 F1*
    โดย ประวิตร  พุทธานนท์    ศิริชัย  อุ่นศรีส่ง   สุรินทร์  ดีสีปาน  และเสกสรร  สงจันทึก

    พันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมฝีมือคนไทย เป็นเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ที่วิจัยติดต่อกัน 9 ฤดูปลูก ตั้งแต่ปี 2543 - 2545 ทั้งในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และไร่เกษตรกร โดยมีขั้นตอนดังนี้ การประเมินเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดคุณภาพจากภายในและต่างประเทศ การสกัดและคัดเลือกสายพันธุ์ การผสมพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมที่ควบคุมด้วยยีน shrunken 2 (sh2) ตลอดจนการเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพกับพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีจากต่างประเทศ No. 58 F1 จนได้พันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมเดี่ยวฝีมือคนไทย No. 4058 F1 ที่ปรับตัวได้ดีในภาคเหนือตอนบน            ทรงสม่ำเสมอ มีคุณภาพความหวานและอ่อนนุ่มดี (ตารางที่ 1) เมล็ดสีเหลืองสลับขาว ทนทานโรคราสนิม ที่สำคัญคือ ราคาเมล็ดพันธุ์เพียง 600 บาทต่อกิโลกรัม หรือครึ่งหนึ่งของพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ     เหมาะสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานแช่แข็งเพื่อการส่งออก

    ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยคุณภาพและผลผลิตข้าวโพดหวานพันธุ์ต่างประเทศ No.58 F1 เปรียบเทียบกับพันธุ์สองสีลูกผสมของไทย No.4058 F1 ในไร่เกษตรกร  ฤดูฝน ปี 2545 ที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

    ลักษณะทางการเกษตรของพันธุ์สองสีลูกผสมเดี่ยว

    No.58 F1

    No.4058 F1

    1.  ความแข็งแรงของต้นกล้า  (1-5  คะแนน)

    2.  อายุวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์  (วัน)

    3.  อายุวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ (วัน)

    4.  ความสูงต้น  (เซนติเมตร)

    5.  ความสูงฝัก  (เซนติเมตร)

    6.  ระดับความเป็นโรคราสนิม  (1-5  คะแนน)

    7.  อายุวันเก็บเกี่ยว  (วัน)

    8. น้ำหนักฝักทั้งเปลือก  (กรัม)

    9. น้ำหนักฝักปอกเปลือก  (กรัม)

    10. คะแนนความสม่ำเสมอฝัก  (1-5  คะแนน)

    11. ความยาวฝัก  (เซนติเมตร)

    12. ความกว้างฝัก  (เซนติเมตร)

    13. เปอร์เซ็นต์ความหวาน  (องศาบริกซ์)

    14. ผลผลิตทั้งเปลือก  (กิโลกรัม/ไร่)

    15. ผลผลิตปอกเปลือก  (กิโลกรัม/ไร่)

    16. ราคาเมล็ดพันธุ์ลูกผสม (บาท/กิโลกรัม)

    4.5

    38

    39

    154

    43

    4

    59

    364.5

    222.3

    4.2

    17.2

    4.6

    15

    3,110

    1,896

    1,200

    4.5

    40

    42

    182

    77

    1

    62

    384.3

    230.5

    4.7

    18.7

    4.7

    14

    3,279

    1,967

    600

     

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร อาจารย์ปรีชา  รัตนัง สาขาพืชผัก  ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    การเพาะพันธุ์มะพร้าว

    1. นำมะพร้าวที่แก่จัดเลือกผลที่อยู่ตรงกลางทะลายเอาลูกที่มีขาดและลักษณะตรงตามพันธุ์
    2. เตรียมพื้นที่ที่จะวางมะพร้าวสำหรับเพาะพันธุ์ให้เรียบถากหญ้าหรือวางบริเวณพื้นทรายรดน้ำให้ชื้น ทำซาแรนมุงหลังคาบังแดดให้ร่ม
    3. นำผลมะพร้าวมาตัดด้านข้างใกล้บริเวณก้นของผลมะพร้าวเพื่อวางผลมะพร้าวให้เอียงเพราะมะพร้าวจะแทงหน่อขึ้นมาเอียงข้าง ต้นมะพร้าวที่เกิดขึ้นมาจะได้ต้นตรง
    4. หมั่นรดน้ำให้ชื้นบริเวณที่วางผลมะพร้าว ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนผลจะงอกต้นขึ้นมา

    การขยายพันธุ์ไผ่มี  4 วิธี  คือ

    1. การแยกเหง้ามาชำโดยขุดขึ้นมาชำไว้ในที่ร่มหรือโรงเรือนรดน้ำให้ชุ่ม รอให้มีรากออกมาก
    2. การตอนกิ่งโดยตอนกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่เลือกขนาดพอเหมาะ  เอามีดผ่าตาแต่ไม่ต้องตัดทิ้งจากต้น เอาขุยมะพร้าวหุ้ม
    3. การตัดข้อปล้องโดยเอาต้นไผ่ที่แก่มาชำในดินทราย
    4. การเพาะเมล็ดแต่จะใช้เวลานานไม่ค่อยเป็นที่นิยม

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ

    วิทยากร อาจารย์วินัย    วิริยะอลงกรณ์   สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    เรื่อง   การเตรียมต้นไม้ผลเพื่อปลูก

    1. การเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ โดยควรเลือกพันธุ์ที่ในท้องถิ่นนิยมบริโภคภายในชุมชนและในท้องถิ่นใกล้เคียงบริโภค เพื่อจะได้สามารถจำหน่ายได้ อย่าเลือกพันธุ์ที่ในท้องถิ่นไม่นิยมปลูกเพราะถ้าตลาดที่อื่นไม่ซื้อยังสามารถขายในท้องถิ่นได้

    2. การเลือกซื้อกิ่งพันธุ์ ควรเลือกซื้อกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือมีการรับรองพันธุ์จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

    การนำผลการประเมินมาปรับปรุง

    จากการประเมินความพึงพอใจของผู้รับฟังรายการวิทยุในปี งบประมาณ 2552   ผู้รับฟังรายการวิทยุต้องการให้เชิญผู้ที่ทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาพูดคุยถึงแนวคิดและการปฏิบัติมาพูดคุย  ทางรายการแม่โจ้สัมพันธ์จึงได้เชิญคุณครูประทุม สุริยา บ.สันป่ายาง ต.สันป่ายาง  อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้รับรางวัลในระดับชาติ มาพูดคุยในรายการ ผ่านทางโทรศัพท์  ในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำโครงการชุมชนพอเพียง  โดยซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นไปตามความต้องการของคนในชุมชนเอง  การทำต้องการทำแบบบูรณาการโดยให้ชาวบ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการประชุมร่วมกัน   และให้หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้  ซึ่งการทำโครงการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงลักษณะนี้ จะทำให้คนในชุมชนเป็นผู้ริเริ่มปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้เกิดความยั่งยืน

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร อาจารย์ปรีชา รัตนัง  สาขาพืชผัก  ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    การเพาะเมล็ดมะละกอ

    เมื่อได้เมล็ดมะละกอจากผลแล้วโดยนำเมล็ดมะละกอมาล้างเมือกออกให้หมดก่อน  จากนั้นนำไปผึ่งในที่ร่มให้แห้ง   การเพาะเมล็ดโดยเตียมกระบะทราย และทรายที่จะเพาะเมล็ดให้นำไปล้างน้ำซัก 2 ครั้งเพื่อให้เมล็ดวัชพืชหลุดออหลุดไป หลังจากนั้นนำทรายใส่ในกระบะ ทำร่องแล้วนำเมล็ดฝังลงไปกลบด้วยทรายหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม นำกระบะที่เพาะเมล็ดแล้วใส่ในถุงอบขนาดใหญ่มัดถุงให้โป่ง  นำไปวางเรียงไว้กลางแจ้ง ประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดมะละกอจะงอก ซึ่งวิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นซึ่งบริษัทผลิตต้นกล้ามะละกอจำหน่ายนำไปทำเป็นการค้า

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes