ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ
    วิทยากร อาจารย์วินัย    วิริยะอลงกรณ์   สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง
    น้อยหน่าลูกผสม (Annona atemoya Hort.) เป็นลูกผสมระหว่าง "เซริมัวย่ากับสวีทชอพ" ผลมีลักษณะคล้ายเซริมัวย่า สามารถปลูกได้ดีในบริเวณที่ปลูกน้อยหน่าพื้นเมือง แต่บางพันธุ์ต้องปลูกในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นกว่า และสูงจากระดับน้ำทะเลมาก ๆ จึงจะออกดอกติดผล เนื่องจากเป็นลูกผสมการขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดจึงมีโอกาสกลายพันธุ์เป็นอย่างมาก การรักษาพันธุ์สามารถทำได้โดยการติดตาหรือต่อกิ่ง โดยใช้น้อยหน่าหรือสวีทซอฟ เป็นต้นตอ นิยมปลูกกันแพร่หลายใน อเมริกา อิสราเอล และ ออสเตรเลีย ในประเทศไทยนำเข้ามาปลูก ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เรียกกันติดปากว่า "น้อยหน่าออสเตรเลีย"
    จุดเด่น:  ผลขนาดใหญ่ เนื้อมาก เมล็ดน้อย ให้ผลผลิตเร็ว และติดผลดกกระจายทั่วต้น
    จุดด้อย: มีเมล็ดน้อยจึงมักผลบิดเบี้ยว แต่ติดผลดกสามารถเลือกไว้ผลที่สมบูรณ์ได้อย่างเพียงพอ
    แหล่งปลูกและสภาพพื้นที่ปลูก น้อยหน่าชอบอากาศร้อนแห้งไม่หนาวจัด  ปริมาณน้ำฝน 800 – 1,300 มิลลิเมตร/ปี อุณหภูมิ 10-40  องศาเซลเซียส  มีแสงแดดจัดส่องได้ทั่วถึง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 1,000  เมตร ดินและสภาพดินปลูกมีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึกตั้งแต่ 40เซนติเมตรขึ้นไปชอบดินร่วนทราย  หรือดินร่วนเหนียว มีการระบายน้ำดีไม่มีน้ำท่วมขัง  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินระหว่าง  5.5 - 7.4  มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับใช้ตลอดฤดูกาลหรือในช่วงฝนทิ้งช่วงสะอาดปราศจากสารพิษปนเปื้อน
    พันธุ์ ควรเลือกปลูกพันธุ์ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์และตลาดต้องการเช่น น้อยหน่าควรปลูกน้อยหน่าหนังเขียวและฝ้ายเขียวที่ผ่านการคัดพันธุ์แล้ว  และน้อยหน่าลูกผสมปลูกพันธุ์การค้าเช่นพันธุ์เพชรปากช่อง  เพราะเจริญเติบโตได้ดีเหมาะกับสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ของประเทศไทยต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกได้จากการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการไม่ใช้เพศเช่น การต่อกิ่งบนต้นตอน้อยหน่าเพาะเมล็ด  มีความสมบูรณ์  อายุอยู่ระหว่าง 6 - 12 เดือน

     

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ
    วิทยากร ดร. จงกล พรมยะ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    การประชาสัมพันธ์
    1. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ประจำปี  2553 ระหว่าง 26-27 พฤษภาคม 2553
    2. การจัดการฝึกอบรม  หลักสูตร การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าต้นทุนต่ำเพื่อเป็นอาหารปลา ในวันที่ 17 และ 20  พฤษภาคม 2553   รับจำนวนรุ่นละ  30 คน

    ประโยชน์ของสาหร่ายสไปรูลิน่า
    สาหร่ายสไปรูลิน่ามีสารสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เจริญเติบโตในน้ำกร่อยและอุ่น ที่มีคุณ สมบัติเป็นด่าง คำว่าสไปรูลิน่ามาจากภาษา ลาติน Helex หรือ Spiral (เกลียว) ซึ่งหมายถึง รูปร่างที่มีลักษณะเส้นหมุนรอบขึ้นไปเหมือน ก้นหอยนี้ มีส่วนประกอบที่พิเศษ คือ มีอะมิโนโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายสูง กว่าเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่ สามารถผลิตได้เอง แต่ร่างกายต้องการใช้ เป็นประจำทุกวัน
    1. ไอโซลูซีน (Isoluecine) ที่ช่วยในการเจริญเติบโตพัฒนาการของความทรงจำ และยังใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนไม่จำเป็นบางตัวในร่างกายอีกด้วย
    2. ลูซีน (Luecine) กระตุ้นการทำงานของสมองทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้น
    3. ไลซีน (Lysine) เป็นโครงสร้างของเซลล์เม็ดเลือด ที่มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบไหลเวียนโลหิต และทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ
    4. เมไธโอนีน (Methionine) ช่วยในกระบวนการเผาผลาญไขมันและกรดไขมัน ทำให้ตับมีสุขภาพดี และยังลดความเครียดของสมอง
    5. เฟนินอลานีน (Phynynollanine) ช่วยให้ต่อมไธรอยด์นำไปใช้สร้างไธรอยด์ฮอร์โมนที่ควบคุมพลังงานพื้นฐานของร่างกายที่เรียกว่า BMR
    6. เทรโอนีน (Threonoine) ช่วยให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารเป็นปกติ และช่วยให้การดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสโลหิตเป็นไปได้ด้วยดี
    7. ทริปโตแฟน (Tryptophan) ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาวิตามิน B มาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลทำให้ระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น เชื่อว่าให้ผลในการควบคุมอารมณ์และทำให้ใจเย็นลงได้
    8. วาลีน (Valine) กระตุ้นการทำงานของระบบการควบคุมอารมณ์ และการประสานงานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ
    มีวิตามินจำพวกเบตา คาโรทีนมากกว่าผักถึง 25 เท่า มีธาตุเหล็ก สูงกว่าตับถึง 28 เท่า และเป็นแหล่งรวมของ วิตามิน บี 12

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร อ. นสพ. ไพโรจน์  พงศ์กิดาการ  คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี    มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    หมาบ้า

    โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อโรคในกลุ่มของไวรัส  โดยจะพบเชื้ออยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค  สัตว์หรือคนจะติดโรคได้จากการที่เชื้อในน้ำลายติดเข้าไปทางบาดแผล  ไม่ว่าจะเป็น  แผลจากการถูกกัด  แผลจากการถูกข่วน  แผลถลอกตามผิวหนัง  ดังนั้น คนเราหรือสัตว์เลี้ยงของเรา  จะป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้หลังจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัดหรือข่วน  ไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศร้อนแล้วทำให้เกิดการคลุ้มคลั่ง  อย่างที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าใจกัน  ( การคลุ้มคลั่งที่เกิดจากสภาพอากาศร้อน น่าจะเป็นในคนเรามากกว่า )  นอกจากนี้  โรคพิษสุนัขบ้ายังสามารถพบได้ตลอดทั้งปี  ทุกฤดูกาล  ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะฤดูร้อนเท่านั้น

    หลังจากเชื้อเข้าสู่บาดแผลแล้ว  เชื้อจะเดินทางไปตามเส้นประสาทและเข้าไปอาศัยเติบโตอยู่ในสมองของคนหรือสัตว์ที่ถูกกัด  จึงทำให้เกิดกลุ่มอาการทางประสาท  ซึ่งในสุนัขและแมวสามารถพบอาการได้สองรูปแบบ  คือ  แบบแสดงอาการดุร้าย และ แบบแสดงอาการซึม              โดยพวกที่แสดงอาการแบบดุร้ายจะพบได้มากกว่า  อาการจะเริ่มจาก  อารมณ์  พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงจะเปลี่ยนไปจากเดิม  เจ้าของสัตว์ที่เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจะสังเกตได้  เช่น  ไม่มาคลุกคลีกับเจ้าของ  หงุดหงิด  อาจมีไข้ขึ้นปานกลาง  หลังจากนี้อีกสองสามวัน  อาการทางประสาทจะเด่นชัดมากขึ้น  ได้แก่  มีอาการกระวนกระวาย  ดุร้ายขึ้น  วิ่งไปโดยไร้จุดหมาย  กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า  ซึ่งเป็นลักษณะของความบ้าคลั่ง  หลังแข็งตึง  ขากรรไกรปากแข็ง  เสียงเห่าหอนจะผิดปกติไป  ลิ้นห้อย  น้ำลายไหล  เลียน้ำไม่ได้  เนื่องจากเกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อลิ้น  ต่อมาขาจะอ่อนเปลี้ยลง  ซึ่งเข้าสู่ระยะสุดท้าย  สัตว์จะชักและตายลงในที่สุด

    ส่วนพวกที่แสดงอาการแบบซึม  จะสังเกตได้ยากกว่า  เนื่องจากสัตว์เลี้ยงจะหลบซ่อนตัวตามซอกมุมมืด  ไม่ออกมากินอาหารและน้ำ  ขากรรไกรปากแข็ง  ลิ้นห้อย  น้ำลายไหลยืดตลอดเวลา  สัตว์จะซึมอยู่เช่นนี้จนตายลง  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นพวกที่แสดงอาการแบบดุร้าย หรือ พวกที่แสดงอาการซึม  สัตว์จะตายหลังจากที่แสดงอาการ  7-10  วัน

    สำหรับอาการในคน  จะมีไข้สูง  เจ็บคอ  หงุดหงิด  ปวดเมื่อยตัว  ชาตามแขนขา   คอแข็งพูดไม่ชัด  กลืนน้ำลายไม่ได้  สำลักน้ำออกทางจมูก  ตัวสั่น  มือสั่น  กระวนกระวาย  คลุ้มคลั่ง  ตัวแข็ง  หลังแอ่น  น้ำลายยืด  เท้าเกร็ง  เมื่อถูกลมจะผวากลัว  หลังจากนี้จะเกิดอัมพาตและตาย

    การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าขึ้นอยู่กับ  ความรัก  ความเอาใจใส่  และความรับผิดชอบของเจ้าของสัตว์เลี้ยงโดยตรง  ไม่ว่าจะเป็นการพาสัตว์เลี้ยงของเราไปรับการทำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากนายสัตวแพทย์  เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง  โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ชิดกับคนเราอย่างหมาแมว  รวมถึง  การดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพแข็งแรงตามคำแนะนำของนายสัตวแพทย์  นอกจากนี้  การเลี้ยงสัตว์ควรมีกรง  สถานที่เลี้ยง  หรืออาณาบริเวณที่แน่นอน  ไม่ใช่เลี้ยงปล่อยแบบไม่มีการควบคุม  ซึ่งสัตว์ที่เราเลี้ยงมีโอกาสที่จะไปติดเชื้อจากสัตว์ที่เป็นโรคได้  นอกจากนี้  เราไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือสัมผัสแตะต้องสัตว์จรจัดโดยเด็ดขาด

    ในกรณีที่ถูกสัตว์กัดหรือข่วน  ถ้าเป็นสัตว์ที่มีเจ้าของ  หรือ  รู้หัวนอนปลายเท้า  ว่าบ้านอยู่ที่ใด  ควรกักสัตว์นั้นไว้ดูอาการอย่างน้อย  10  วัน  ถ้าสัตว์ตัวนั้นตายภายใน  7-10  วัน  เราต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที  แต่หากเป็นสัตว์จรจัด  ไม่มีเจ้าของที่แน่ชัด  ก็ไม่ควรจะรออะไรทั้งสิ้น  ทำได้เพียง  “รีบไปพบแพทย์โดยด่วน”

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    เรื่อง  สมุนไพรที่ใช้รักษาโรค เช่น จักรนารายณ์

    1. ชนิดใบกลม (แปะตำปึง)ใบสีเขียวอ่อน ใบหนาเพราะมีขนหนานุ่มแบบกำมะหยี่ทั้งด้าน
    บนและล่าง เส้นใบด้านบนลึกเช่นเดียวกับเส้นกลางใบแต่ด้านหลังใบกลับนูน กิ่งก้านออกเขียว
    ปนแดง เปราะหักง่าย (รูปของแบบใบกลมครับ)pas

    2. ชนิดใบยาว (จินฉี่เหมาเยี่ย) ใบค่อนข้างยาวกว่าแหลมกว่าและผิวใบค่อนข้างเรียบ
    เพราะขนน้อยกว่าแบบใบกลม จับเทียบดูจะรู้สึกได้ชัด (รูปของแบบใบยาวครับ)

    สรรพคุณ : สรรพคุณของทั้งสองมีเหมือนกัน มีรสเย็น ใช้ใบเป็นยา รสชาติคล้ายใบชมพู่
    สาแหรก โรคที่(มีผู้รับรองว่า)สมุนไพรชนิดนี้รักษาหายแล้วได้แก่ เบาหวาน ความดันสูง
    ภูมิแพ้ หอบหืด มะเร็ง งูสวัด เกาต์ ริดสีดวงทวารหนัก ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผลอักเสบ
    พุพอง-ฝีหนอง ปวดประจำเดือน ปวดเส้น ปวดหลัง ไขมันในเลือด ไทรอยด์ ตาอักเสบ
    ตาเป็นต้อ โรคตาต่างๆ ปวดเหงือก ปวดฟัน โรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โลหิตจาง
    ฟอกเลือด ล้างสารพิษในร่างกาย ขับลม กินได้ นอนหลับ คนปกติทั่วไปกินแล้วสุขภาพ
    แข็งแรง เรียกว่าเป็นสมุนไพรครอบจักรวาลเลยทีเดียว

    การขยายพันธุ์ : หลังจากเด็ดใบมากินหมดแล้ว ให้ตัดกิ่งออกเป็นท่อนๆยาว 10-15 ซ.ม
    นำมาปักชำ ไว้ในที่รำไรและหมั่นรดน้ำเสมอๆ ประมาณ 7-10 วัน ก็จะแตกยอด-ออกราก
    เป็นต้นใหม่ เมื่อโตเต็มที่จะออกดอกสีเหลือง แต่ไม่ติดเมล็ด (ของพ่อด้วงเคยติดเมล็ดนะแต่เพาะไม่ขึ้น) ต้องปักชำกิ่งเท่านั้น พืชชนิดนี้ไม่ชอบร่มมากนัก ชอบดินร่วน ชอบแดดพอควร
    ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำก้นกระถาง รากจะเน่า

    วิธีใช้ : เป็นพืชสมุนไพรครอบจักรวาลที่ไม่มีพิษภัย ใช้ใบสดๆ ล้างให้สะอาด ซับน้ำให้แห้ง นำมาเคี้ยวกินสดๆหรือใช้ประกอบอาหารกิน เช่นแกงจืดหรือผัดน้ำมัน หรือเป็นเครื่องเคียงกับ
    ขนมจีน ส้มตำ สลัดผัก ฯลฯได้ หรือจะนำใบมาล้าง ผึ่งแห้ง นำมาบดหรือตำ คั้นเอาแต่น้ำนำไป
    นึ่งให้สุก ปล่อยให้เย็น ใส่ขวด ใส่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นาน แต่ที่ได้ผลดีที่สุด คือกินใบสด ก่อนเข้า
    นอน 3-5 ใบ

    วิธีใช้เฉพาะโรค :โรคเบาหวาน - กินใบสดๆ 2-5 ใบ ช่วงตี 5 -ถึง 7 โมงเช้าก่อนอาหาร เพราะลำไส้เริ่มทำงานจะได้ผลเร็ว และกินอีกครั้งหลังอาหารเย็น 2-3 ชั่วโมงหรือกินก่อนนอน กินเช่นนี้นาน 7 วันหยุดดูอาการ 2-3 วัน จึงกินต่อเพื่อน้ำตาลในเลือดจะได้ไม่ลดเร็วเกินไป (ขอเสริมตรงนี้นิดนึงว่า
    ปริมาณการกินของแต่ละคนอาจไม่เท่ากันขึ้นกับขนาดของใบและน้ำหนักตัว จึงขอให้คนป่วย
    เบาหวานทดลองกินจำนวนใบน้อยๆ ก่อนแล้วคอยดูอาการ เพราะเคยมีคนบอกว่าบางคนกิน
    แล้วน้ำตาลลดแบบฮวบฮาบ ซึ่งไม่รู้ว่ากินเยอะไปหรืออย่างไรและบางคนบอกว่าใบยาวลดน้ำตาล
    ได้มากกว่าแบบใบกลมด้วย และพืชชนิดนี้ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับเป็นทางการ จึงควรใช้ด้วยการ
    ระมัดระวังไว้ก่อนล่ะดี)

    สิ่งที่ควรระวัง- อาหารแสลง เช่น กุ้ง เนื้อ ปลาหมึก ปู ปลาทู ปลาร้า หูฉลาม กะปิ ข้าวเหนียวหน่อไม้ แตงกวา หัวผักกาด เผือก สาเก ของดอง แอลกอฮอล์ ชา-กาแฟ ควรงด แต่หากจำเป็นต้องกิน ขอให้กินแปะตำปึง ก่อนหรือหลัง 2 ชั่วโมง

    หน้าที่ 3 จาก 3

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes