ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์  และ นางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร อาจารย์ วินัย วิริยะอลงกรณ์  สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    ขั้นตอนในการดูแลรักษามะนาวช่วงออกดอกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตมีดังนี้

    1.  เดือน  พฤศจิกายน ธันวาคม ส่วนใหญ่มะนาวจะเริ่มติดผลขนาดเล็กถึงใหญ่  ควรมีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอีกครั้ง  และให้ปุ๋ยเคมีสูตร  25-7-7   ระยะเดือนนี้เป้ฯช่วงฤดูหนาว  กลางวันจะร้อน  กลางคืนอากาศเย็น  สภาพแวดล้อมเช่นนี้จะทำให้เพลี้ยหอย  ไรแดง  เพลี้ยไฟ  ระบาดได้ง่าย  ควรหาทางป้องกันด้วย  เมื่อมีเพลี้ยหอยทำลาย  โรคราดำจะตามมาทำให้ผิวผลไม่สวย  ส่วนไรแดงจะทำให้ใบหงิกงอโดยเฉพาะปลายยอด  เพลี้ยไฟ  จะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิวผลขนาดเล็ก  ทำให้เมื่อผลมะนาวโตขึ้นผิวจะมีลักษณะเป็นร้อย  หรือเรียกว่า  ขี้กลาก  ทำให้เสียราคาได้  นอกจากนี้อาจพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ  เช่น  เล็ก  แมงกานีส  สังกะสี  โบรอน  ปัจจุบันมีจำหน่ายในรูปน้ำเป็นปุ๋ยเดียวและอย่าให้มะนาวขาดน้ำในช่วงนี้

    2.  เดือน มกราคม มะนาวจะเริ่มขยายผลใหญ่ขึ้นควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอ  เช่น  16-16-16  เพื่อบำรุงผลและต้นไม่ให้โทรม  ช่วงนี้อากาศหนาว  โดยเฉพาะภาคเหนือ  จะต้องให้น้ำมากขึ้นกว่าปกติ  เพื่อให้ผลมะนาวมีการเจริญเติบโตที่ปกติ  และผลมีคุณภาพดี  มีน้ำมาก แ ละมีกลิ่นหอม  อาจมีบางผลที่เริ่มแก่บ้างก็สามารถเก็บจำหน่ายได้  การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง  ยังจำเป็นต้องฉีดในช่วงนี้เพราะถ้าไม่ป้องกันจะทำให้ผิวผลเสียหายได้  โดยเฉพาะโรคราดำ  โรคแคงเกอร์  เพลี้ยไฟ  ไรแดง

    3.  เดือน  กุมภาพันธุ์ เมษายน มะนาวเริ่มเก็บเกี่ยวได้บ้าง  จึงควรทยอยและเลือกเก็บมะนาวที่เริ่มแก่  โดยเฉพาะช่อผลที่แน่นเกินไป  ระยะนี้ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีหรือถ้าจำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมีต้องเก็บผลหลังจากฉีดสารเคมีแล้วอย่างน้อย  15  วันหรือการใช้สารสมุนไพรฉีดพ่น  เช่น  น้ำส้มควันไม้  ก็ได้

    4.  เดือน  พฤษภาคม มิถุนายน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่หมดแล้วอาจยังมีผลผลิตส่วนหนึ่งเหลืออยู่บนต้นบ้าง  ถ้าไม่มากเกินไปก็สามารถเลี้ยงไว้บนต้นได้  หลังจากนั้นควรให้ปุ๋ยสูตร  16-16-16  เพื่อบำรุงต้น  และถ้ามีต้นที่กำลังออกดอกใหม่  ควรทำลายดอกทิ้ง  ซึ่งมีปลายวิธีในที่นี้จะแนะนำให้ใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งเป็นวีที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่งที่พอจะทำได้คือการใช้ปุ๋ยยูเรียฉีดพ่นที่ช่อดอกให้ดอกร่วง  โดยใช้อัตรา  1  กิโลกรัมผสมน้ำ  20  ลิตร  (5%)  ฉีดพ่นเฉพาะ  ช่อดอก  ก็สามารถทำได้เช่นกัน  อย่างไรก็ตามถ้าใช้มากเกินไป  อาจทำให้เสียหายต่อตาและกิ่ง  หรือใบได้  จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

    การดูแลรักษามะม่วง

    ในช่วงนี้อากาศหนาวเย็นมากขึ้น ไม้ผลที่ต้องการอุณหภูมิต่ำในการชักนำการออกดอก เริ่มตั้งแต่มะม่วงเป็นต้นไปทยอยออกดอก แล้วซึ่งการดูแลรักษามะม่วงช่วงออกดอกจะมีโรคและแมลงที่สำคัญอยู่ไม่กี่ตัว เช่น เพลี้ยจักจั่น หนอนกินดอกมะม่วง จะเริ่มระบาด วิธีการป้งอกันกำจัดโดยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เซพวิน 85 หรือ คลอไพรีฟอส เป็นต้น ส่วนโรคที่สำคัญ คือโรคราน้ำค้าง ใช้ สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คอบเปอร์ออกซี่คลอไรด์ ถ้าไม่ต้องการใช้สารเคมีฉีดพ่นให้ใช้สมุนไพรหรือสารไล่แมลงอื่นๆ เช่น น้ำส้มควันไม้

    มะม่วงติดผลเท่าผลมะนาว ให้หมั่นดูแลแมลงพวกเพลี้ยไฟ เพราะจะมีผลต่อสีผิวมะม่วงทำให้เป็นขี้กลาก ขายไม่ได้ราคา หลังจากนั้นใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผล หรือถ้าเป็นน้ำดอกไม้สีทองให้ใช้ถุงกระดาษคาร์บอนห่อผิวมะม่วงจะสวยงามก่อนห่อควรฉีดพ่นสารป้อกันกำจัดเชื้อราด้วย

    การให้ปุ๋ย ควรใช้ปุ๋ยทีมีตัวหน้าสูง เช่น 25-7-7 หรือ สูตรอื่นๆ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักก็ได้

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร นางสาวสุภาวดี  บุญธรรม   ศูนย์ปฎิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง  อ.แม่ริม

    จ.เชียงใหม่

     

    การทำปุ๋ยหมักด้วยเศษวัสดุด้วยพด.1

    การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่ง พด.-1 และวิธีการต่อเชื้อ

    โครงการปรับปรุงดินด้วยอินทรียววัตถุ ได้ดำเนินการผลิตสารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ย่อยเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมักได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น และให้ใด้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีและ ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สารเร่งที่ทางกรมพัฒนา ที่ดินผลิตนี้ คือ พด.-1 สารเร่งชนิดนี้ประกอบ ด้วย เชื้อจุลินทรีย์รวมกันหลายสายพันธุ์ อยู่ในสภาพแห้งซึ่งสะดวกแก่การนำไปใช้และ การเก็บรักษา มีคุณสมบัติ โดยสังเขปดัง ต่อไปนี้

    สารเร่งพด.-1 ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ เป็น เชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์เป็นเชื้อจุลินทรีย์ ประเภทรา บักเตรี และ แอคติโมมัยซีส ซึ่งสามารถย่อยสลายเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมัก ใช้ได้อย่าง รวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ช่วยประหยัดเวลาในการทำ ปุ๋ยหมัก และสามารถนำปุ๋ยหมักไปให้ทันกับความต้องการ และได้ปุ๋ยหมัก ที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เพราะเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เป็นพวก ที่ทำการย่อยเศษพืชได้ดีในสภาพที่กองปุ๋ยมีความร้อนสูง สภาพดังกล่าว จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชหรือเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ได้ กรมพัฒนาที่ดินได้นำสาร เร่งนี้มาทดลองเพื่อย่อยเศษพืช ปรากฏว่าสามารถย่อยฟางข้าวใหม่ให้เป็น ปุ๋ยหมักใช้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 30-45 วัน และกากอ้อยซึ่งสลายตัวยาก เป็นปุ๋ยหมักใช้ได้ไม่เกิน 60 วัน และได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์และมีคุณภาพดี

    ส่วนผสมในการกองปุ๋ยหมัก

     

    เศษพืชแห้งหรือวัสดุอื่น ๆ

    1,000

    กก.หรือ 1 ตัน
    (ประมาณ 8-10 ลบ.ม.)

    มูลสัตว์

    200

    กก.

    ยูเรีย

    2

    กก.

    สารเร่ง พด.-1

    150

    กรัม (1 ถุง)

    วิธีการกองปุ๋ยหมัก
    นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักแบ่งเป็น 4 ส่วน (ในกรณีที่กอง 4 ชั้น) โดยเมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จ ควรมีขนาดของกองกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้

    1. นำวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ส่วนแรกมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม
    2. นำมูลสัตว์โรยบนชั้นของวัสดุให้ทั่ว สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นนี้ จะใช้มูลสัตว์ชั้นละประมาณ 50 กก. รดน้ำให้ชุ่ม
    3. นำปุ๋ยยูเรียโรยลงบนชั้นของมูลสัตว์ สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นจะ.โรยยูเรียชั้นละประมาณ 0.5 กก. รดน้ำอีกเล็กน้อย
    4. นำสารเร่ง พด.-1 จำนวน 150 กรัม (1 ถุง) มาละลายน้ำ 20 สิตร แล้วคนให้สารเร่งละลายให้ทั่วกัน ประมาณ 15 นาที แล้วแบ่งไว้ 5 ลิตร นำไปรดให้ทั่วชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต่อไป
    5. นำวัสดุกองทับลงบนชั้นแรกของกองปุ๋ยหมัก แล้วปฏิบัติแบบเดียว กับการกองปุ๋ยหมักชั้นแรก ดำเนินการจนกระทั่งครบ 4 ชั้น โดยชั้นบนสุด ควรโรยทับด้วยมูลสัตว์ หรือดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ทั่วผิวหน้าของกองปุ๋ยหมัก
    สำหรับการใช้ฟางข้าวทำปุ๋ยหมัก จะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน และสามารถนำปุ๋ยที่ได้ไปต่อเชื้อสำหรับกองปุ๋ยหมักกองใหม่ได้เป็นอย่างดี หรือนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดินตามความต้องการต่อไป

    "การทำปุ๋ยหมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ"
    การทำปุ๋ยหมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ หมายถึง การทำปุ๋ยหมักโดยใช้ ปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารตัวเร่งสำหรับการ กองปุ๋ยหมักครั้งใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเร่งประเภทจุลินทรีย์ทุกครั้งที่ทำปุ๋ยหมัก
    การนำเอาปุ๋ยหมักจากกองเดิมมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักครั้งใหม่นี้ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง กล่าวคือ เกษตรกรลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถนำปุ๋ยหมักที่ทำได้มาใช้เป็น ต้นเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อทำปุ๋ยหมักครั้งต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะ

    จุลินทรีย์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักกองเดิมยังคงมีชีวิตอยู่และยังมีความสามารถที่จะย่อยสลายเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักใน คราวถัดไปได้อีก การทำปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อ นับได้ว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดต้นทุนในการผลิตปุ๋ยหมักได้เป็น อย่างดี แต่เกษตรกรจะต้องมีการดูแลและเก็บรักษาปุ๋ยหมักที่จะนำไปต่อเชื้อนี้ ให้อยู่ในสภาพที่ดี คือจะต้องไม่ทิ้งตากแดดตากลม และควรให้มีความชื้น อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักด้วย

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร อาจารย์ปรีชา รัตนัง  สาขาพืชผัก  ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

     

    การทำน้ำผักเพื่อสุขภาพ
    ผักคะน้าสามารถนำมาเป็นน้ำผักดื่มได้อร่อยชื่นใจไม่แพ้ผลไม้ และผักคะน้า เป็นผักที่หาซื้อได้ตลอดปี และเป็นผักที่คุ้นเคย มักมีติดตู้เย็นอยู่เสมอ ลองมานำเป็นน้ำดื่มกันดู

    ส่วนผสม
    •ใบคะน้า40 กรัม (2 ใบขนาดกลาง)
    •น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว ประมาณ 30 ซีซี)
    (ใช้สารให้ความหวาน หรือน้ำตาลเทียมแทนได้)
    • น้ำมะนาว 10 กรัม (2 ช้อนชา ประมาณ 10 ซีซี)
    • น้ำเปล่าสะอาด 200 กรัม (14 ช้อนคาว หรือประมาณ 1 แก้ว)
    • เกลือเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5 ช้อนชา)
    วิธีทำ
    นำใบคะน้าล้างให้สะอาด จากนั้นหั่นใส่เครื่องปั่นเติมน้ำสุกครึ่งแก้ว (100 ซีซี) ปั่นจนลดเอียด กรองเอาแต่น้ำ แล้วเติมน้ำที่เหลือ น้ำมะนาว น้ำเชื่อม และเกลือ ชิมรสตามชอบ เสริฟเย็นๆ ด้วยการเติมน้ำแข็งทุบ หรือใช้น้ำเย็นจัดในการทำน้ำคะน้า
    เรื่องน่ารู้
    ธรรมชาติใบของคะน้าจะมีนวน คือเป็นลักษณะคล้ายแป้ง เคลือบอยู่ที่ใบ เกษตรกรจะใช้สารลดแรงตึงผิว เพื่อทำให้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยทางใบ หรือฮอร์โมนเร่งการเติบโต สามารถติดกับใบได้ เพื่อผลในการป้องกันแมลง และทำให้เติบโตดี ดังนั้น คะน้ามักขม หรือเหม็นจากสารเคมีเหล่านี้ ติดอยู่ ล้างออกยาก ควรใช้ถ้ามีน้ำยาลำหรับล้างผักแบบที่สกัดจากธรรมชาติ (ไม่มีประจุจากสารเคมี) จะดีมาก จะลดความขมหรือเหม็นจากสารเคมีได้ดี คะน้าที่ไม่มีสารเคมีติดจะไม่มีรสขม และไม่มีกลิ่นเหม็นของสารเคมี จะทำน้ำคะน้าได้อร่อย เพราะเราใช้คะน้าสดทำน้ำคะน้า
    ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
    คุณค่าทางอาหาร ให้วิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตา คะน้าเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารช่วยยับยั้งมะเร็ง และยังมีแคลเซี่ยม ฟอสฟรัส ช่วยบำรุงกระดูก และยังมีวิตามินซี ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ชลอความแก่ ป้องกันมะเร็ง และทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายทำงาน คุณค่าทางยา ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดระดับอุณหภูมิในร่างกาย และแก้การกระหายน้ำ

    งานวิจัยเรื่อง การให้น้ำชลประทานระบบสปริงเกลอร์สำหรับสวนลำไยที่ดอน

    โดย รองศาสตราจารย์สมชาย  องค์ประเสริฐ  นายวินัย วิริยะอลงกรณ์  ดร. เสกสันต์  อุสสหตานนท์และ ผศ. สุพจน์  เอี้ยงกุญชร

    ผลการศึกษา

    ปัจจุบันเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกไม้ผลสู่ที่ดอนและพื้นที่ไหล่เขาหรือเนินเขามากขึ้น  ในพื้นที่แบบนี้หาน้ำได้ยากกว่าในที่ลุ่ม  นอกจากนี้แรงงานยังขาดแคลนแรงงานและค่าแรงแพงขึ้น  เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจำนวนมากจึงนิยมวิธีการให้น้ำชลประทานทางท่อโดยระบบสปริงเกลอร์หรือระบบน้ำหยด  นอกจากประหยัดทั้งน้ำและแรงงานแล้ว  การให้น้ำชลประทานทางท่อทำให้สามารถให้ปุ๋ยเคมีไปพร้อมกับการให้น้ำ

    ปัจจุบันมีสวนองุ่นในออสเตรเลียและอเมริกาใช้เทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  การให้น้ำโดยเทคนิคนี้ใช้น้ำเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของการให้น้ำเต็มพื้นที่ทรงพุ่มโดยไม่มีผลต่อปริมาณผลผลิต  และยังทำให้คุณภาพผลผลิตองุ่นดีขึ้นด้วย  มีรายงานผลจากการทดลองในออสเตรเลียว่า  เมื่อเปลี่ยนวิธีให้น้ำจากการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแถวของต้นองุ่นเป็นวิธีให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด  ทำให้ประหยัดน้ำได้ถึงครึ่งหนึ่ง  และเมื่อใช้เทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  ในระบบน้ำหยด  ก็สามารถประหยัดได้อีกครึ่งหนึ่ง  คือใช้น้ำเพียง 1 ใน 4 ของการให้น้ำแบบดั้งเดิม  โดยทำให้ผลผลิตลดลงไม่เกิน 5 % แต่ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น

    หลักการของเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้นคือการให้น้ำทีละครึ่งหนึ่งของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม ด้วยความถี่ของการให้น้ำตามปรกติ  เช่น  3-5  วัน/ครั้ง  และปล่อยให้อีกครึ่งของพื้นที่แห้ง   เมื่อดินในครึ่งที่แห้งใกล้แห้งสนิท ก็สลับข้างให้น้ำ  ซึ่งโดยปรกติสลับข้างให้น้ำเช่นนี้ทุกระยะ 12-15 วัน  เมื่อมีรากส่วนหนึ่งอยู่ในดินแห้งพืชจึงเหมือนถูกหลอกว่ากำลังอยู่ในภาวะแห้งแล้ง  พืชจึงต้องลดการคายน้ำ  ทำให้น้ำที่พืชได้รับเพียงประมาณครึ่งหนึ่งจากพื้นที่ด้านเปียกเพียงพอให้พืชเติบโตและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับที่ได้รับน้ำตามความต้องการปรกติ  จุดอ่อนของเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น คือในระยะที่ครึ่งหนึ่งของระบบรากอยู่ในดินแห้ง  รากจะดูดกินปุ๋ยได้ยาก  เพื่อแก้จุดอ่อนนี้จึงต้องให้ปุ๋ยผ่านระบบสปริงเกลอร์หรือระบบน้ำหยด  ที่เป็นวิธีให้ปุ๋ยทีละน้อยแต่ให้บ่อยและกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วบริเวณที่ได้รับน้ำ  การให้ปุ๋ยแบบนี้ทำให้ปุ๋ยแพร่กระจายสัมผัสระบบรากมากที่สุด  ปุ๋ยเคมีมาตรฐานสำหรับการให้ผ่านระบบให้น้ำมีราคาแพงกว่าปุ๋ยทางดินทั่วไป  2-3  เท่า

    นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการแพร่กระจายของราก  การหมุนเวียนใช้ใบจากการตัดแต่งกิ่งเป็นปุ๋ย  และผลตอบแทนในเรื่องการประหยัดต้นทุนจากการประหยัดน้ำโดยเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”

    ผลการวิจัยทั้งหมดสรุปได้ดังต่อไปนี้

    จากการทดลองในสวนเกษตรกร 2 สวน  ที่เป็นดินร่วนและดินทรายที่จังหวัดลำพูนเป็นเวลา 3 ปี  พบว่าต้นลำไยที่ได้รับน้ำตามเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  ซึ่งใช้น้ำเพียง  67 %  มีปริมาณผลผลิตของใกล้เคียงกับต้นลำไยที่ได้รับน้ำ 100 % ของการให้น้ำตามวิธีมาตรฐาน  โดยที่คุณภาพผลผลิต  ได้แก่  ขนาดผล  ความหนาเนื้อ  ความหนาเปลือก  และความหวาน  ไม่แตกต่างกัน.  วิธีการให้น้ำโดยเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  นี้  นอกจากทดลองได้ผลดีกับลำไยแล้ว  นักวิจัยของเยอรมันยังได้ทดลองที่เชียงใหม่  พบว่าใช้ได้ผลดีกับมะม่วงด้วย

     

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

     

    วิทยากร นางสาวสุภาวดี บุญธรรม  ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง  อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่

     

    การทำปุ๋ยหมักโดยใช้พด 1

    ช่วงนี้อากาศแห้งแล้ง หมอกควันที่เกิดจากการเผาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน รถยนต์  การเผาไหม้ของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดมลภาวะเพิ่มขึ้น   ถ้าเราต้องการลดมลภาวะก็มีวิธีแก้ไขอยู่หลายวิธี  เช่น นำเศษวัสดุ ใบไหม้มาทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุมีวิธ๊การดังนี้ คือ

    1. นำเศษวัสดุเช่น ใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้า  1  ตัน

    2.    ปู๋ยคอก มูลสัตว์ต่างๆ

    1. เชื้อพด1 1 ซอง  โดยเอาเชื้อละลายน้ำทิ้งไว้ประมาณ  15 นาทีเพื่อให้เชื้อมีชีวิต
    2. นำเศษพืชมากองรวมกัน 1 ชั้น  ชั้นที่ 2 ปุ๋ยคอก เรียงสลับกันไปเช่นนี้เรื่อย แต่ไม่ควรกองเกิน  1.5 เมตร และต้องรดน้ำให้ชุ่มทุกชั้น
    3. รดเชื้อพด 1 ที่ละลายน้ำไว้แล้วให้ทั่วทุกชั้น
    4. หมั่นกลับกองและรดน้ำเพื่อลดความร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อ
    5. ประมาณ  2 เดือนปุ๋ยคอกจะสลายไปสามารถนำไปใช้ได้

     

     

    งานวิจัย  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1

    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพงษ์  สว่างปัญญางกูร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

     

    วิธการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์

    การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1  โดยมีวัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น  วิธีการ คือ

    1. มูลสัตว์  1 ส่วน โดยปริมาตร มาคลุกผสมรดน้ำให้ชุ่มและมูลสัตว์คลุกให้เข้ากัน แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า  1.50 เมตร  ส่วนความยาวของกองจะยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ ที่มีการคลุกเคล้าเศษพืชและมูลสัตว์ให้ทั่วถึงนั้นก็เพื่อให้         จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอน(อยู่ในเศษพืช)และธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ทำให้การย่อยสลายเซลล์รวดเร็วขึ้น

    2. กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร จะทำให้สามารถกักเก็บความร้อนที่เกิดปฎิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ไว้ได้ในกองปุ๋ยความร้อนนี้จะเหมาะสำหรับจุลินทรีย์ชนิดที่ชอบความร้อนสูง ที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าสู่กองปุ๋ยอากาศที่ไหลเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้จะช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยของจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ทำให้ไม่มีกลิ่นหรือน้ำเสีย และต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา โดยรดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า  และใช้ไม่แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างรูประมาณ 40 เซนติเมตร โดยทำห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำแล้วปิดรูเพื่อไม่ให้ความร้อนสูญเสียไป หลังจากครบ 60 วันแล้ว ปุ๋ยจะเหลือสูงเพียง  1 เมตร หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉยๆ หรือเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัวเมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำไปใช้ได้

    หน้าที่ 1 จาก 3

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes