การทำปุ๋ยหมักด้วยพด.1 (18-03-53)

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

     

    วิทยากร นางสาวสุภาวดี บุญธรรม  ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง  อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่

     

    การทำปุ๋ยหมักโดยใช้พด 1

    ช่วงนี้อากาศแห้งแล้ง หมอกควันที่เกิดจากการเผาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน รถยนต์  การเผาไหม้ของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดมลภาวะเพิ่มขึ้น   ถ้าเราต้องการลดมลภาวะก็มีวิธีแก้ไขอยู่หลายวิธี  เช่น นำเศษวัสดุ ใบไหม้มาทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุมีวิธ๊การดังนี้ คือ

    1. นำเศษวัสดุเช่น ใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้า  1  ตัน

    2.    ปู๋ยคอก มูลสัตว์ต่างๆ

    1. เชื้อพด1 1 ซอง  โดยเอาเชื้อละลายน้ำทิ้งไว้ประมาณ  15 นาทีเพื่อให้เชื้อมีชีวิต
    2. นำเศษพืชมากองรวมกัน 1 ชั้น  ชั้นที่ 2 ปุ๋ยคอก เรียงสลับกันไปเช่นนี้เรื่อย แต่ไม่ควรกองเกิน  1.5 เมตร และต้องรดน้ำให้ชุ่มทุกชั้น
    3. รดเชื้อพด 1 ที่ละลายน้ำไว้แล้วให้ทั่วทุกชั้น
    4. หมั่นกลับกองและรดน้ำเพื่อลดความร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อ
    5. ประมาณ  2 เดือนปุ๋ยคอกจะสลายไปสามารถนำไปใช้ได้

     

     

    งานวิจัย  การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1

    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพงษ์  สว่างปัญญางกูร  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

     

    วิธการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์

    การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1  โดยมีวัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น  วิธีการ คือ

    1. มูลสัตว์  1 ส่วน โดยปริมาตร มาคลุกผสมรดน้ำให้ชุ่มและมูลสัตว์คลุกให้เข้ากัน แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า  1.50 เมตร  ส่วนความยาวของกองจะยาวเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ ที่มีการคลุกเคล้าเศษพืชและมูลสัตว์ให้ทั่วถึงนั้นก็เพื่อให้         จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอน(อยู่ในเศษพืช)และธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ทำให้การย่อยสลายเซลล์รวดเร็วขึ้น

    2. กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร จะทำให้สามารถกักเก็บความร้อนที่เกิดปฎิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ไว้ได้ในกองปุ๋ยความร้อนนี้จะเหมาะสำหรับจุลินทรีย์ชนิดที่ชอบความร้อนสูง ที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าสู่กองปุ๋ยอากาศที่ไหลเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้จะช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยของจุลินทรีย์แบบใช้อากาศ ทำให้ไม่มีกลิ่นหรือน้ำเสีย และต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา โดยรดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า  และใช้ไม่แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างรูประมาณ 40 เซนติเมตร โดยทำห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำแล้วปิดรูเพื่อไม่ให้ความร้อนสูญเสียไป หลังจากครบ 60 วันแล้ว ปุ๋ยจะเหลือสูงเพียง  1 เมตร หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉยๆ หรือเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัวเมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำไปใช้ได้

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes