การให้น้ำไม้ผลในฤดูแล้ง (11-04-53)

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

    วิทยากร อาจารย์วินัย วิริยะอลงกรณ์  สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    การให้น้ำในฤดูแล้ง

    ในช่วงที่อากาศแห้งแล้งพืชจะมีการปรับตัวแล้วแต่ชนิดของพืชเพื่อที่จะอยู่รอด ซึ่งถ้าเป็นพืชที่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้งจะมีการผลัดใบเหลือแต่กิ่งก้านเพื่อลดการคายน้ำ  ในยางพาราก็เช่นเดียวกัน  เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งยางพาราจะมีการปรับตัวโดยใบระเริ่มร่วงและร่วงจนหมดทั้งต้นแสดงให้รู้ว่าเข้าสู่หน้าแล้งแล้ว  เกษตรการจำเป็นต้องงดกรีดยางเนื่องจากจะได้น้ำยางน้อย ในช่วงนี้ควรมีการให้น้ำบ้างเพื่อเลี้ยงต้นให้รอดผ่านช่วงฤดูแล้งไปได้ ส่วนไม้ผลชนิดอื่นๆ เช่นลำไย ลิ้นจี่ เป็นช่วงที่ลำไยลิ้นจี่กำลังติดผลต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของผล  แต่ถ้าช่วงนี้น้ำมีน้อยการให้น้ำเพื่อหล่อเลี้ยงให้ต้นอยู่ได้โดยไม่กระทบกับผลผลิต โดยการให้น้ำไม่จำเป็นต้องให้ทุกวัน  โดยให้น้ำอาจเป็นทุกๆ 5-7 วันแล้วแต่สภาพของดินแต่วิธีง่ายที่จะสังเกตว่าพืชได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่โดยเมื่อให้น้ำไปแล้วลองขุดดูว่าบริเวณนั้นน้ำซึมผ่านลงไปถึง 30 เซนติเมตรหรือไม่ และในการให้น้ำครั้งต่อไป ถ้าดินเริ่มแห้งดินไม่ชุ่มลึกถึง 30 เซนติเมตรก็เริ่มให้น้ำครั้งใหม่ การให้น้ำวิธีนี้สามารถลดการให้น้ำลงและจะไม่กระทบต่อปริมาณผลผลิต

    งานวิจัย เรื่อง  ผลของการขาดน้ำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของต้นลำไย

    โดย อาจารย์วินัย วิริยอลงกรณ์ และรองศาสตราจารย์สมชาย  องค์ประเสริฐ

    ที่มาการวิจัย

    เพื่อศึกษาผลกระทบทางสรีรวิทยาของลำไยซึ่งมีการให้น้ำน้อยจนทำให้เกิดอาการขาดน้ำ โดยมีการวัดปริมาณน้ำในดินช่วงเวลาต่างๆ ในรอบวัน

    ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลา 11.00 -13.00 เป็นช่วงที่ลำไยเกิดอาการขาดน้ำและเกิดความเครียดมากที่สุด โดยต้นลำไยจะแสดงอาการใบตก ใบสลดลู่ลง

    การนำไปใช้ประโยชน์ เกษตรกรควรมีการให้น้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ วิธีการง่ายๆ คือต้องให้น้ำซึมผ่านในเขตรากพืชอยู่ประมาณ 30 เซนติเมตร ถ้าให้มากเกินไปน้ำก็จะซึมผ่านเลยเขตรากพืช  ถ้าน้อยเกินไปก็จะไม่เพียงพอทำให้พืชเกิดอาการเครียดและถ้าพืชขาดน้ำมากๆก็จะเหี่ยวตายในที่สุด

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes