[div class="notice" class2="typo-icon"]วันที่ออกอากาศ : 25 กันยายน 2554
    ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นางจิรนันท์ เสนานาญ และนายสมศักดิ์ ศิริ
    วิทยากรรับเชิญ : นสพ.ไพโรจน์  พงศ์กิดาการ คณะสัตว์ศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [/div]

     

    เรื่องโรคหูดับ หูบอด หรือหูหนวก
    เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกชื่อว่า สเตรปโตคอดคัส ซูอีส อยู่ในสารสเตรปโตคอดคัส โดยปรกติทั่วไปแล้วหมูทุกตัวจะมีเชื้อนี้อยู่ในต่อมทอนซิลอยู่แล้ว แต่จะไม่ได้ก่อให้เกิดโรคนี้ เว้นเสียแต่ว่าเมื่อใดหมูที่เลี้ยงเอาไว้มีร่างกายอ่อนแอ ป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่ไปกดภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูเกิดอาการเครียด เนื่องจากคอกที่อยู่แออัด คอกแคบๆ อากาศร้อนอบอ้าว หนาว น้ำท่วม อาหารไม่พอทำให้แย่งกันกินอาหาร เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและติดเข้าไปในกระแสเลือดทำให้หมูป่วยและตายไปในที่สุด
    การแพร่ระบาดสู่คน เชื้อสเตรปโตคอดคัส ซูอีส เข้าสู่ร่างกายของคนได้ 2 ทางคือ ผ่านทางบาดแผล เยื้อบุตา หรือจับสัมผัสหมูที่เป็นโรคโดยตรง เช่น เกษตรกรที่เลี้ยงหมู คนงาน คนชำแหละเนื้อหมู สัตว์บาล คนงานที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ และจากการที่กินเนื้อหมูดิบไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ทำลาบหมูดิบ หลู่หมู หมูจุ่มที่ไม่สุก หมูกระทะที่ไม่สุก หมูปิ้งย่างที่ยังไม่สุกดี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะแสดงอาหารคือ ไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เชื้อจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขข้ออักเสบ ม่านตาเกิดการอักเสบ และเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง ทำให้เชื้อลุกลามและเกิดหนองบริเวณปลายประสาททรงตัว และประสาทรับรู้เสียง ทำให้หูฟาด เพี้ยน หูตึง หูดับ และหูหนวกในที่สุด  และจะเกิดอาการทรงตัวในขณะเดินไม่ได้ เวียนหัว เดินเซ รวมทั้งอาการกระตุก ถ้าหากผู้ป่วยไปโรงพยาบาลช้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้โลหิตเป็นพิษและตายในที่สุด
    เรื่องโรคหูดับ หูบอด หรือหูหนวก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกชื่อว่า สเตรปโตคอดคัส ซูอีส อยู่ในสารสเตรปโตคอดคัส โดยปรกติทั่วไปแล้วหมูทุกตัวจะมีเชื้อนี้อยู่ในต่อมทอนซิลอยู่แล้ว แต่จะไม่ได้ก่อให้เกิดโรคนี้ เว้นเสียแต่ว่าเมื่อใดหมูที่เลี้ยงเอาไว้มีร่างกายอ่อนแอ ป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่ไปกดภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูเกิดอาการเครียด เนื่องจากคอกที่อยู่แออัด คอกแคบๆ อากาศร้อนอบอ้าว หนาว น้ำท่วม อาหารไม่พอทำให้แย่งกันกินอาหาร เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและติดเข้าไปในกระแสเลือดทำให้หมูป่วยและตายไปในที่สุด               การแพร่ระบาดสู่คน เชื้อสเตรปโตคอดคัส ซูอีส เข้าสู่ร่างกายของคนได้ 2 ทางคือ ผ่านทางบาดแผล เยื้อบุตา หรือจับสัมผัสหมูที่เป็นโรคโดยตรง เช่น เกษตรกรที่เลี้ยงหมู คนงาน คนชำแหละเนื้อหมู สัตว์บาล คนงานที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ และจากการที่กินเนื้อหมูดิบไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ทำลาบหมูดิบ หลู่หมู หมูจุ่มที่ไม่สุก หมูกระทะที่ไม่สุก หมูปิ้งย่างที่ยังไม่สุกดี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะแสดงอาหารคือ ไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เชื้อจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขข้ออักเสบ ม่านตาเกิดการอักเสบ และเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง ทำให้เชื้อลุกลามและเกิดหนองบริเวณปลายประสาททรงตัว และประสาทรับรู้เสียง ทำให้หูฟาด เพี้ยน หูตึง หูดับ และหูหนวกในที่สุด  และจะเกิดอาการทรงตัวในขณะเดินไม่ได้ เวียนหัว เดินเซ รวมทั้งอาการกระตุก ถ้าหากผู้ป่วยไปโรงพยาบาลช้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้โลหิตเป็นพิษและตายในที่สุด

     

    [div class="notice" class2="typo-icon"]วันที่ออกอากาศ : 18 กันยายน 2554
    ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นางจิรนันท์ เสนานาญ และนายสมศักดิ์ ศิริ
    วิทยากรรับเชิญ : ผศ. ดร. บัญชา ทองมี คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้[/div]

     

    ประชาสัมพันธ์  คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ วันที่ ๑ – ๓ ธันวาคม ๒๕๕๔  จัดการประชุมวิชาการ และฐานเรียนรู้ ต่างๆ
    ๑.ฐานเรียนรู้สาหร่ายสปายรูรีน่า
    ๒.ฐานเรียนการเลี้ยงกุ้งฝอย
    ๓.ฐานเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลแปรงเพศ
    ๔.ฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
    ประชาสัมพันธ์  คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ วันที่ ๑ – ๓ ธันวาคม ๒๕๕๔
    จัดการประชุมวิชาการ และฐานเรียนรู้ ต่างๆ 
    ๑.ฐานเรียนรู้สาหร่ายสปายรูรีน่า 
    ๒.ฐานเรียนการเลี้ยงกุ้งฝอย 
    ๓.ฐานเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ 
    ๔.ฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

     

    [div class="notice" class2="typo-icon"]วันที่ออกอากาศ : 7 สิงหาคม 2554
    ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นางจิรนันท์ เสนานาญ และนายสมศักดิ์ ศิริ
    วิทยากรรับเชิญ : อ.ปรีชา รัตนัง สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร[/div]

     

    ประชาสัมพันธ์ สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรรมการเกษตรเตรียมจัดงานวันเกษตรแม่โจ้ วันที่ ๑ – ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ กิจกรรมในงานของสาขาพืชผัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ ๑  ส่วนของแปลงสาธิตโดยมีบริษัทต่าง ๆ ในส่วนของภาคการเกษตร ๑๕ บริษัท ร่วมจัดแสดง มีการจัดแสดงปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และเมล็ดพันธุ์ผัก ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต และในด้านความต้านทานต่อโรค ส่วนที่ ๒   ๑.การประกวดพืชผลทางการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วม โดยกำหนดพืชที่ประกวดต่าง ๆ ต้องมีลักษณะรูปร่าง สัดส่วน เนื้อ ตามลักษณะเด่นที่กำหนด พืชที่กำหนดในการประกวด คือ
    ๑.๑ พืชในกลุ่มมะละจีน
    ๑.๒ แตงร้าน ๑.๓ ฟักทอง (กลุ่มคางคก) ๑.๔ ฟักเขียว ๑.๕ พริกหนุ่มเขียว ๑.๖ พริกหนุ่มขาว ๑.๗ เห็ดหอม ๒. ประกวดผักที่ที่มีรูปร่างแปลกๆ หรือมีรูปร่างผิดรูป ๓. ประกวดการปลูกผักสวนครัวที่ปลูกในภาชนะ โดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์ หม้อ ไม้ไผ่ ตู้เย็นที่ใช้แล้ว
    กำหนดผู้เข้าร่วมการแข่งขันมีอยู่ 3 ระดับ ระดับประถม  ระดับมัธยม  ระดับประชาชนทั่วไป
    ประชาสัมพันธ์ สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรรมการเกษตรเตรียมจัดงานวันเกษตรแม่โจ้ วันที่ ๑ – ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ กิจกรรมในงานของสาขาพืชผัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
    ส่วนที่ ๑  ส่วนของแปลงสาธิตโดยมีบริษัทต่าง ๆ ในส่วนของภาคการเกษตร ๑๕ บริษัท ร่วมจัดแสดง มีการจัดแสดงปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และเมล็ดพันธุ์ผัก ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต และในด้านความต้านทานต่อโรค
    ส่วนที่ ๒  ๑.การประกวดพืชผลทางการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วม โดยกำหนดพืชที่ประกวดต่าง ๆ ต้องมีลักษณะรูปร่าง สัดส่วน เนื้อ ตามลักษณะเด่นที่กำหนด พืชที่กำหนดในการประกวด คือ ๑.๑ พืชในกลุ่มมะละจีน๑.๒ แตงร้าน ๑.๓ ฟักทอง (กลุ่มคางคก) ๑.๔ ฟักเขียว ๑.๕ พริกหนุ่มเขียว ๑.๖ พริกหนุ่มขาว ๑.๗ เห็ดหอม ๒. ประกวดผักที่ที่มีรูปร่างแปลกๆ หรือมีรูปร่างผิดรูป ๓. ประกวดการปลูกผักสวนครัวที่ปลูกในภาชนะ โดยเน้นวัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์ หม้อ ไม้ไผ่ ตู้เย็นที่ใช้แล้ว กำหนดผู้เข้าร่วมการแข่งขันมีอยู่ 3 ระดับ ระดับประถม  ระดับมัธยม  ระดับประชาชนทั่วไป

     

    [div class="notice" class2="typo-icon"]วันที่ออกอากาศ : 11 กันยายน 2554
    ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นางจิรนันท์ เสนานาญ และนายสมศักดิ์ ศิริ
    วิทยากรรับเชิญ : อาจารย์ วินัย  วิริยะอลงกรณ์ สาขาไม้ผล  ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร[/div]

    ปัจจุบันนับว่ามีทางเลือกมากมายสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทางด้านพืชผัก พืชสวน พืชไร่ และการปศุสัตว์ แต่ละทางเลือกต่างๆนี้จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และวัฒนธรรมการดำลงชีวิต ของแต่ละชุมชน และภูมิภาค เช่น ภาคเหนือมีการปลูกไม้ผลเมืองหนาว ลิ้นจี่ ลำไย  ภาคใต้ มีการปลูกไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ คือยางพารา ความแตกต่างของพืชที่ปลูก ภาคเหนือและภาคใต้นี้ ย่อมสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ ของแต่ละพื้นที่ คือภาคเหนือ มีความหนาวเย็นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ ลิ้นจี่ และลำไยออกดอก ส่วนของภาคใต้ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน จึงทำให้มีฝนตกตลอดปี และเป็นที่เหมาะสมสำหรับปลูกยางพารา วัฒนธรรมการดำลงชีวิตของการปลูกพืชสองชนิดนี้ย่อมแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่ต้องอาศัยช่วงเวลา เช่นการกรีดยางจะต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ได้น้ำยางที่ได้ปริมาณ และคุณภาพ คือในช่วงเวลากลางคืน คือ ในเวลา 01.00-04.00 น. เกษตรกรชาวสวนยางพารา  จะต้องตื่นกลางดึกเพื่อมากรีดยาง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวสวนยางพาราที่ทำเป็นประจำ ถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมในการดำลงชีวิตของชาวใต้  แต่ในปัจจุบันยางพารานับเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมเลือกที่จะปลูกกันมากในทุกภาคของประเทศไทย เพราะยางพารามีราคาที่ดี ดูแลง่าย และปลูกได้ทุกพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนพืชปลูก โดยเฉพาะไม้ผล มีการนำยางพารามาปลูกแทนจำนวนมาก เกษตรกรชาวสวนผลไม้ส่วนใหญ่เห็นว่าราคาผลผลิตของไม้ผลนั้นไม่แน่นอน ลงทุนสูง เสี่ยงต่อการขาดทุน ทำให้พื้นที่ปลูกไม้ผลลดลงและคาดว่าผลผลิตของไม้ผลจะออกสู่ตลาดลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อสินค้าหรือผลผลิตทางการเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งมีมากเกินความต้องการของผู้บริโภค สินค้านั้นจะมีราคาถูกลงตามไปด้วย ดั้งนั้นก่อนที่เปลี่ยนพืชที่ปลูกอยู่แล้ว ต้องมีการศึกษาหาความรู้ และไปศึกษาดูงานจากผู้ที่ประสบผลสำเร็จ และนำมาปรับปรุง และนำไปใช้ให้ก่อประโยชน์สูงสุด

    [div class="notice" class2="typo-icon"]วันที่ออกอากาศ : 14 สิงหาคม 2554
    ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นางจิรนันท์ เสนานาญ และนายสมศักดิ์ ศิริ
    วิทยากรรับเชิญ :  อ.วินัย วิริยะอลงณ์กรณ์ สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน  คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้[/div]

             ลำไยในฤดูผลิตผลออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี  เกษตรกรจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการปฏิบัติ  ดูแล  เอาใจใส  อย่างถูกต้องและเหมาะสม  ถึงจะได้ผลผลิตดี  มีคุณภาพ  หลังจากเกษตรกรชาวสวนลำไยเก็บผลผลิตขายได้เงินแล้ว  ก็ควรที่จะแบ่งให้ต้นลำไยบ้าง  และควรจะเริ่มต้นในการบริหารจัดการส่วนลำไยของท่านได้แล้ว  ถ้าหากท่านเริ่มต้นเร็วและถูกต้องเหมาะสม  ลำไยของท่านก็จะให้ผลผลิตกับท่านอย่างเป็นกอบเป็นกำสิ่งแรกที่ต้องทำคือ  การตัดแต่งกิ่ง   การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเร่งการแตกใบอ่อนมีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว และใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ในการสร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป  และยังช่วยในการควบคุมความสูง ง่ายต่อการดูแลรักษา ลดการระบาดของโรคแมลง การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยให้ต้นลำไยตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดีทำให้ออกดอกมากขึ้น  และใช้ปริมาณสารคลอเรตลดลง

    หน้าที่ 1 จาก 4

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes