โรคหูดับ หูหนวก หูบอด(25 ก.ย.54)

    [div class="notice" class2="typo-icon"]วันที่ออกอากาศ : 25 กันยายน 2554
    ผู้ดำเนินรายการ : อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นางจิรนันท์ เสนานาญ และนายสมศักดิ์ ศิริ
    วิทยากรรับเชิญ : นสพ.ไพโรจน์  พงศ์กิดาการ คณะสัตว์ศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ [/div]

     

    เรื่องโรคหูดับ หูบอด หรือหูหนวก
    เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกชื่อว่า สเตรปโตคอดคัส ซูอีส อยู่ในสารสเตรปโตคอดคัส โดยปรกติทั่วไปแล้วหมูทุกตัวจะมีเชื้อนี้อยู่ในต่อมทอนซิลอยู่แล้ว แต่จะไม่ได้ก่อให้เกิดโรคนี้ เว้นเสียแต่ว่าเมื่อใดหมูที่เลี้ยงเอาไว้มีร่างกายอ่อนแอ ป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่ไปกดภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูเกิดอาการเครียด เนื่องจากคอกที่อยู่แออัด คอกแคบๆ อากาศร้อนอบอ้าว หนาว น้ำท่วม อาหารไม่พอทำให้แย่งกันกินอาหาร เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและติดเข้าไปในกระแสเลือดทำให้หมูป่วยและตายไปในที่สุด
    การแพร่ระบาดสู่คน เชื้อสเตรปโตคอดคัส ซูอีส เข้าสู่ร่างกายของคนได้ 2 ทางคือ ผ่านทางบาดแผล เยื้อบุตา หรือจับสัมผัสหมูที่เป็นโรคโดยตรง เช่น เกษตรกรที่เลี้ยงหมู คนงาน คนชำแหละเนื้อหมู สัตว์บาล คนงานที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ และจากการที่กินเนื้อหมูดิบไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ทำลาบหมูดิบ หลู่หมู หมูจุ่มที่ไม่สุก หมูกระทะที่ไม่สุก หมูปิ้งย่างที่ยังไม่สุกดี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะแสดงอาหารคือ ไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เชื้อจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขข้ออักเสบ ม่านตาเกิดการอักเสบ และเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง ทำให้เชื้อลุกลามและเกิดหนองบริเวณปลายประสาททรงตัว และประสาทรับรู้เสียง ทำให้หูฟาด เพี้ยน หูตึง หูดับ และหูหนวกในที่สุด  และจะเกิดอาการทรงตัวในขณะเดินไม่ได้ เวียนหัว เดินเซ รวมทั้งอาการกระตุก ถ้าหากผู้ป่วยไปโรงพยาบาลช้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้โลหิตเป็นพิษและตายในที่สุด
    เรื่องโรคหูดับ หูบอด หรือหูหนวก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกชื่อว่า สเตรปโตคอดคัส ซูอีส อยู่ในสารสเตรปโตคอดคัส โดยปรกติทั่วไปแล้วหมูทุกตัวจะมีเชื้อนี้อยู่ในต่อมทอนซิลอยู่แล้ว แต่จะไม่ได้ก่อให้เกิดโรคนี้ เว้นเสียแต่ว่าเมื่อใดหมูที่เลี้ยงเอาไว้มีร่างกายอ่อนแอ ป่วยด้วยโรคต่างๆ ที่ไปกดภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูเกิดอาการเครียด เนื่องจากคอกที่อยู่แออัด คอกแคบๆ อากาศร้อนอบอ้าว หนาว น้ำท่วม อาหารไม่พอทำให้แย่งกันกินอาหาร เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและติดเข้าไปในกระแสเลือดทำให้หมูป่วยและตายไปในที่สุด               การแพร่ระบาดสู่คน เชื้อสเตรปโตคอดคัส ซูอีส เข้าสู่ร่างกายของคนได้ 2 ทางคือ ผ่านทางบาดแผล เยื้อบุตา หรือจับสัมผัสหมูที่เป็นโรคโดยตรง เช่น เกษตรกรที่เลี้ยงหมู คนงาน คนชำแหละเนื้อหมู สัตว์บาล คนงานที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ และจากการที่กินเนื้อหมูดิบไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ทำลาบหมูดิบ หลู่หมู หมูจุ่มที่ไม่สุก หมูกระทะที่ไม่สุก หมูปิ้งย่างที่ยังไม่สุกดี เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะแสดงอาหารคือ ไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน เชื้อจะลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขข้ออักเสบ ม่านตาเกิดการอักเสบ และเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง ทำให้เชื้อลุกลามและเกิดหนองบริเวณปลายประสาททรงตัว และประสาทรับรู้เสียง ทำให้หูฟาด เพี้ยน หูตึง หูดับ และหูหนวกในที่สุด  และจะเกิดอาการทรงตัวในขณะเดินไม่ได้ เวียนหัว เดินเซ รวมทั้งอาการกระตุก ถ้าหากผู้ป่วยไปโรงพยาบาลช้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้โลหิตเป็นพิษและตายในที่สุด

     

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes