เรื่องปัญหาการเลี้ยงปลาของเกษตรกร

    ปัญหาการเลี้ยงปลาของเกษตร  คือ  ปัญหาด้านการตลาด เกษตรส่วนใหญ่ไม่คำนึงถึงความต้องการของตลาด เมื่อเลี้ยงไปแล้วไม่มีตลาดรองรับ  หรือสินค้าล้นตลาด อาจเกิดจากมีสินค้ามากเกินไป และปัญหาทางด้านองค์ความรู้ในการเลี้ยง เมื่อเลี้ยงไปแล้วประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากปลาไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ

    ดังนั้นการแก้ปัญหา คือ ต้องมีองค์ความรู้ที่ดี และก่อนเลี้ยงควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปลาชนิดนั้นๆและต้องศึกษาความต้องการของตลาด

    เรื่องตลาดกุ้งฝอย

    ปัจจุบันกุ้งฝอยมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นมากเพราะมีรสชาติที่ดีและสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง แต่ทางด้านผู้ผลิตหรือผู้เลี้ยงยังมีจำนวนที่น้อยหรือแทบไม่มี กุ้งฝอยส่วนใหญ่จะได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สะอาดและมีออกซิเจนสูง กุ้งฝอยอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำตื้นมีที่มีน้ำไหล กุ้งฝอยส่วนใหญ่มาจากจังหวัดพะเยา เชียงราย ปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งยังมีปัญหา ต้องมีการทำการค้นคว้าทดลองโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งแต่ละช่วงการเจริญเติบโต

    ดำเนินรายการโดย นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ

    วิทยากรรับเชิญ โดย ผศ. ดร. บัญชา  ทองมี คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    เรื่องการเลี้ยงปลาหมอไทย

    ปลาหมอไทยเป็นปลาพื้นเมืองที่ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติดีเป็นที่ต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอกันมากขึ้นซึ่งราคาดีกว่าปลาชนิดอื่น

    การปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อย การปล่อยปลาหมอไทยลงเลี้ยงทำได้ 2 วิธีคือ

    การปล่อยปลานิ้ว  ปล่อยปลาขนาด 2-3เซนติเมตร ในอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตรควรปล่อยลูกปลาในช่วงเช้าหรือเย็นระดับน้ำในบ่อไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตร ก่อนปล่อยปลาออกจากถุงควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันปลาช๊อกตาย เนื่องจากการเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างกะทันหัน โดยการแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 20 นาทีแล้วเปิดถุงกวักน้ำในบ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุง แล้วค่อยๆปล่อยลูกปลาออกจากถุงหลังจากปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน จึงเพิ่มน้ำในบ่อ 1-1.5 เมตร

    การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ ในอัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต่อ 1 ปริมาณน้ำหนัก  พ่อแม่ปลา 8-10 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือประมาณ 40-75 คู่ ต่อไร่ เมื่อปลาวางไข่หมดแล้ว จึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหาร พวกรำละเอียดผสมปลาป่น อัตรา 1ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารเม็ดชนิดพิเศษ หรือปลาสดสับละเอียดและเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกใหญ่ เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด

    ดำเนินรายการโดย นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ

    วิทยากรรับเชิญโดย ผศ. ดร. จงกล พรมยะ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    เรื่อง สภาวะอากาศแปรปรวน

     

    สภาวะอากาศที่แปรปรวนส่งผลต่อสุขภาพสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์คือพืชเมื่อเจออากาศที่หนาวเย็นอย่างรวดเร็วและมีฝนตกลงมา2-3ครั้งทำให้เกิดปัญหาทางด้านการออกดอกคือ อาจจะไม่มีการออกดอกและมีใบอ่อนแตกมาแทนหรือเกิดการออกดอกที่ไม่สมบูรณ์ มีการออกดอกติดผลที่ไม่มีคุณภาพ เช่นลิ้นจี่ เมื่อเจออากาศ 3 วันหนาว 4 วันอุ่นทำให้ปรับสภาพไม่ทันทำให้ไม่เกิดการออกดอก ดังนั้นอุณหภูมิเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการออกดอก โดยเฉพาะลิ้นจี่ต้องมีอากาศที่หนาวเย็นติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ จึงสามารถออกดอกติดผลไดดีที่สุด

    มะม่วงเมื่อได้รับสภาวะอากาศที่แปรปรวน ก็จะออกดอกช้ากว่าปกติหรือออกดอกไม่พร้อมกันซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้มะม่วงจะมีหลายรุ่นการห่อต้องมีการทำเครื่องหมายว่าห่อเมื่อใด และสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อใด

    สัตว์เลี้ยงที่เจอสภาวะอากาศที่หนาวเย็นและแปรปรวนอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพของสัตว์ควรหาวิธีป้องกันความหนาวเย็นให้แก่สัตว์เลี้ยงของท่าน โดยป้องกันลมโกรกอาจใช้ซาแลนด์ปิดล้อม

    ดำเนินรายการโดย นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ

    วัน อาทิตย์ ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ. 2554โดย อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์  นักวิชาการชำนาญการ ๘งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมแลถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    เรื่อง ราคาผลผลิตทางการเกษตร

     

    สภาพอากาศที่แปรปรวนเกิดภัยธรรมชาติซึ่งส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรก่อให้เกิดความเสียหาย เกิดการขาดแคลนผลผลิต ซึ่งความต้องการของตลาดมีมากกว่าจำนวนผลผลิต จึงทำให้ผลผลิตทางการเกษตรราคาสูง เช่นน้ำมันปาล์ม เป็นวัตถุดิบที่มีความต้องการสูงมากในปัจจุบันมีการนำน้ำมันปาล์มไปใช้อยู่ 2 ส่วน คือ  ส่วนหนึ่งใช้ทำไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนโดยนำน้ำมันปาล์มไปเป็นส่วนผสมของน้ำมันดีเซลที่เรียกกันว่า B3และB5  ส่วนที่ 2 ใช้ประกอบอาหาร

    แนวทางแก้ปัญหาทางด้านพลังงาน คือต้องช่วยกันประหยัดพลังงานโดยใช้เท่าที่จำเป็น ทางด้านการนำไปใช้ประกอบอาหาร ควรใช้น้ำพืชชนิดอื่นทดแทนเช่น น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันจากสัตว์

    เรื่อง การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

    การเลี้ยงไก่พื้นเมือง ส่วนใหญ่จะเลี้ยงโดยการปล่อยตามธรรมชาติทำให้การเจริญเติบโตช้า เนื่องจากการที่ปล่อยให้ไก่ใช้พื้นที่ในการทำกิจกรรมในบริเวณที่กว้างมากเท่าไรไก่ก็ใช้พลังงานมากเท่านั้นทำให้สิ้นเปลืองอาหาร แต่เมื่อต้องการเลี้ยงในเชิงพานิช ต้องมีวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องเพื่อให้คุ้มค่าในการลงทุน การเลี้ยงไก่เพื่อการค้าต้องจำกัดพื้นที่เพื่อลดการใช้พลังงานในการทำกิจกรรมของไก่ซึ่งมีผลทำให้ไก่โตเร็วประหยัดอาหาร

    ดำเนินรายการโดย นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ

    วิทยากรรับเชิญ โดย อาจารย์ปรีชา รัตนัง   สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน  คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    ดำเนินรายการโดย นายพิชัย สมบูรณ์วงศ์และนางจิรนันท์ เสนานาญ

    วัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน มกราคม พ.ศ. 2554โดย อาจารย์วินัย วิริยะอลงกรณ์  สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน  คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    การดูแลมะนาวช่วงติดผล 

    ขั้นตอนการบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลเมื่อต้องการบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลนอกฤดู ควรงดการให้น้ำ และใช้พลาสติกคลุมท่อซีเมนต์เพื่อไม่ให้น้ำฝนลงไปในท่อได้ ในเดือนสิงหาคม หรือเดือนกันยายน ประมาณ 10-15 วัน และคอยสังเกตจนใบมะนาวเริ่มเหี่ยวหรือใบร่วง ควรงดให้น้ำเมื่อใบมะนาวแก่จัดเท่านั้น เมื่อสังเกตเห็นว่ามะนาวขาดน้ำ ใบร่วงแล้ว ดำเนินการ ให้น้ำและปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา    1 ช้อนแกงต่อต้น ประมาณ 15-30 วัน มะนาวจะออกดอก ช่วงนี้ต้องให้น้ำอย่างพอเพียง เพราะเป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ประมาณ 1-2 ช้อนแกงต่อต้นเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ต้องดูปริมาณผลผลิตด้วยว่า มีจำนวนมากน้อยเพียงใด โดยการให้ปุ๋ยรอบทรงพุ่ม ซึ่งเป็นการบำรุงต้นและผลมะนาว จนกว่าจะเก็บเกี่ยว ผลผลิต

     

     

    หน้าที่ 4 จาก 4

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes