ชื่อพันธุ์
ถั่วแขกชื่อพันธุ์(Eng)
common beanชื่อสามัญ
common beanชื่อวิทยาศาสตร์
Phaseolus vulgaris L.
วงศ์
Fabaceae พืชผัก ไม้เถาล้มลุกผู้ปรับปรงพันธุ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ และทีมงานหน่วยงาน
สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตรลักษณะทางพฤกษศาสตร์
"ต้น ไม้เถาไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นบาง มีการเจริญเติบโตแบบขึ้นค้าง (indeterminate) สีเขียว
ใบ ใบประกอบแบบขนนกหนึ่งชั้น (pinnately compound leaf) ใบย่อยจำนวน 3 ใบ (trifoliolate) รูปไข่กว้าง (ovate) สีเขียวแต้มม่วง ใบย่อยส่วนปลาย กว้าง 10.5 เซนติเมตร ยาว 13.25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม (acute) แผ่นใบทั้งสองด้านมีขนเล็กน้อย (pubescent) ก้านใบสีเขียว
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยง (calyx) สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ประกอบด้วย กลีบกลาง (standard) 2 กลีบ เชื่อมติดกัน กลีบคู่ข้าง (wing) 2 กลีบ แยกจากกัน และกลีบคู่ล่าง (keel) 2 กลีบ
ผล ผลเป็นฝักแบบถั่ว (legume) รูปขอบขนาน (oblong) โค้งเล็กน้อย สีเหลือง กว้าง 0.89 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร ความหนา 0.97 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 8.17 กรัม ปลายฝักแหลม ผิวเรียบ
เมล็ด รูปร่างเมล็ดเป็นรูปไต (kidney shape) สีขาว ขั้วเมล็ด (hilum) สีครีม จานวนเมล็ด 8-9 เมล็ดต่อฝัก น้ำหนัก 100 เมล็ด เฉลี่ย 21.98 กรัม
ลักษณะอื่นๆ 1. อายุการออกดอก 30-35 วัน หลังเพาะเมล็ด 2. ผลผลิตต่อต้นประมาณ 500-600 กรัมต่อต้น
ลักษณะเด่น ฝักสดสีเหลือง"
แหล่งที่มา/ประวัติ
ถั่วแขกสีเหลือง ได้จากการผสมข้ามระหว่างถั่วแขกสายพันธุ์แม่ (CMB 002) กับสายพันธุ์พ่อ (CMB 001) ซึ่งเป็นพันธุกรรมจากแหล่งรวบรวมสายพันธุ์ถั่วแขกของสาขาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลักษณะสายพันธุ์แม่เป็นถั่วแขกเลื้อย ฝักกลม สีเขียว ให้ผลผลิตสูง ออกดอกเร็ว ส่วนสายพันธุ์พ่อเป็นถั่วแขกพันธุ์พุ่ม ฝักกลม ปลายเรียวแหลม ฝักมีสีเหลือง ผลผลิตต่ำ ทำการผสมข้ามเมื่อปี พ.ศ. 2551 ณ สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปลูกคัดเลือกจำนวน 7 รอบ ได้ถั่วแขกที่มีลักษณะคงที่ทางพันธุกรรม จากนั้น ทำการปลูกทดสอบร่วมกับสายพันธุ์อื่นๆ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2557 – 2558 ได้นาไปปลูก ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 และพระราชทานนามว่า “ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1"
พื้นที่แนะนำ
ในสภาพธรรมชาติมีการกระจายพันธุ์ในพม่า และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-1300 เมตร เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและการออกดอกได้ดี