ชื่อพันธุ์
แวนด้าฟ้ามุ่ยชื่อสามัญ
แวนด้าฟ้ามุ่ยชื่อวิทยาศาสตร์
Vanda coerulea Griff
ผู้รวบรวมพันธุ์
นายธนวัฒน์ รอดขาวหน่วยงาน
ฝ่ายปรับปรุงและพัฒนาพันธุกรรมพืชและสัตว์ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรวงศ์ Orchidaceae
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
กล้วยไม้อิงอาศัย ต้นขนาดกลาง ขึ้นตรง ลำต้นกลมแข็ง ยาว 8 - 20 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 8 - 10 ซม. สูง 30 - 50 ซม.ใบ แบนค่อนข้างกว้างกว่าแวนด้าชนิดอื่น รูปรางน้ำ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 17 - 25 ซม. ออกเรียงสลับซ้อนกันค่อนข้างแน่น มีกาบใบหุ้มลำต้น ปลายใบป้านและหยักตื้น ๆ 2 - 3 หยัก มีใบเกือบตลอดต้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกยาว 25 - 40 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 7 - 8 ซม. ดอกในช่อโปร่ง มีดอก 5 ถึง 15 ดอก ดอกสีฟ้าอ่อนถึงอมม่วง มีลายเส้นร่างแห สีครามเข้ม กลีบปากสีม่วง แกมน้ำเงิน
แหล่งที่มา/ประวัติ
ฟ้ามุ่ยมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในป่าตอนใต้ของประเทศจีน อินเดียตะวันออก พม่า และไทย ในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในป่ภาคเหนือ แต่มีพบบ้างในป่าภาคกลาง