ชื่อพันธุ์
เปียแตรงชื่อสามัญ
Pietrainชื่อวิทยาศาสตร์
Sus scrofa domesticusวงศ์
Suidaeผู้รวบรวมพันธุ์
นายไพศาล โพธินามหน่วยงาน
ฝ่ายปรับปรุงและพัฒนาพันธุกรรมพืชและสัตว์ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรลักษณะประจำพันธุ์
ที่ลำตัวจะมีสีขาวจุดดำ มีใบหูขนาดกลาง ส่วนใหญ่ใบหูตั้ง หัวเรียวเล็ก ไหล่กว้าง แผ่นหลังกว้างเป็นร่อง สะโพกกลมใหญ่ มองเห็นเป็นกล้ามเนื้อเด่นชัด เจริญเติบโตเร็ว โตเต็มที่เพศผู้หนัก 250 กิโลกรัม เพศเมีย 200 กิโลกรัม และมีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก นิยมใช้เป็นพ่อพันธุ์สุดท้าย (Terminal boar) นำมาผสมกับแม่พันธุ์สองสาย เพื่อผลิตลูกสุกรขุนสามสายที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีเปอร์เซ็นต์ของเนื้อแดงสูง หรือใช้ผสมกับสุกรพันธุ์ที่มีสีดำ เช่น สุกรเหมยซาน สุกรพื้นเมือง เพื่อปรับปรุงสมรรถภาพด้านการผลิตและคุณภาพซาก ลูกที่เกิดส่วนใหญ่จะมีสีดำ
แหล่งที่มา/ประวัติ
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 รัฐบาลประเทศเบลเยี่ยมได้น้อมเกล้าฯ ถวายสุกรพันธุ์เปียแตรง จำนวน 16 ตัว (เพศผู้ 8 ตัว เพศเมีย 8 ตัว) เพื่อมอบไว้ใช้ในงานของมูลนิธิโครงการหลวง โดยกรมปศุสัตว์ได้รับผิดชอบ เป็นผู้ดูแลในช่วงที่ดำเนินการกักโรค จนกระทั่งสามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ และใช้ในการผลิตลูกสุกรได้แล้ว ทางกรมฯ จึงมอบหมายให้ศูนย์วิจัย และบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ เป็นผู้นำไปเลี้ยงเพื่อศึกษาวิจัย และปรับปรุงบำรุงพันธุ์ต่อ ก่อนที่จะนำไปส่งเสริม ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการพระราชดำริอื่นๆ ได้นำไปเลี้ยงเป็นอาชีพต่อไป โดยใช้งบประมาณจากมูลนิธิโครงการหลวง