ชื่อพันธุ์

สีชมพู

ชื่อพันธุ์(Eng)

Si chom poo

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan

วงศ์

Sapindaceae
สีชมพู

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นลำไยพื้นเมืองดั้งเดิม การเจริญเติบโตดี แต่ไม่ทนแล้ง กิ่งเปราะหักง่าย ใบสีออกตองอ่อน (สีไม่เข้มเหมือนอีดอ) ออกดอกติดผลง่ายปานกลาง แต่ติดผลไม่สม่ำเสมอ ผลมีขนาดโตปานกลาง เปลือกหนาสีน้ำตาลมีกระตลอดผล เนื้อล่อน เนื้อหากแก่จัดจะมีแต้มสีชมพูชัดเจน รสชาติกรอบหวาน และมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับรับประทานสด

ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

เรียกอีกอย่างว่า “ชมพู” ได้ชื่อตามสีของเนื้อลำไย เนื่องจากเนื้อลำไยเวลาแก่จัดจะมีสีชมพู ซึ่งภาษาคำเมืองเรียก “อีออน” นอกจากนี้ยังเป็นลำไยที่มาจาก ต. ชมพู อ. สารภี จ. เชียงใหม่ มีความใกล้ชิดกับลำไยพันธุ์พวงทอง เนื่องจากค่าดัชนีความเหมือนเท่ากับ 0.87 และถูกจัดไว้ให้อยู่ในกลุ่มย่อยเดียวกันของกลุ่มดอต่างๆ

ลักษณะใบ

ขนาดของใบย่อยโดยเฉลี่ย ความยาว 16.90 เซนติเมตร  ความกว้าง 4.36 เซนติเมตร  สีของใบแก่ด้านบน เขียว  สีของใบแก่ด้านล่าง เขียวซีด  ลักษณะขอบใบ เรียบ  ลักษณะแผ่นใบ เรียบ  ลักษณะของปลายใบ เรียวแหลม  ลักษณะฐานใบ ลิ่ม  รูปร่างของใบ รี ลั กษณะของเนื้อใบ คล้ายกระดาษ  ความมันของแผ่นใบ เป็นมัน  สีก้านใบประกอบด้านบน เขียวปนเทา  สีก้านใบประกอบด้านล่าง เขียวปนเทา  จำนวนใบประกอบต่อช่อใบ 6-8 ใบ

จำนวนดอกย่อย

ดอกย่อยเฉลี่ย 1,669 ดอก/ช่อ  ดอกเพศผู้  1,630 ดอก  ดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 39 ดอก  สัดส่วนดอกเพศผู้ต่อดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 42:1

ลักษณะผล

รูปร่าง บิดเบี้ยว  ความสมมาตร ไม่สมมาตร  ความสม่ำเสมอ ไม่สม่ำเสมอ  หน้าตัด ป้อมรี  ปลายผล ป้านกลม  ผิวเปลือก เรียบ  ความกว้างผล 31.62 เซนติเมตร  ความยาวผล 30.57 เซนติเมตร  น้ำหนักผล 15.30 กรัม  จำนวนผลต่อกิโลกรัม 74 ผล  ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก: เนื้อ: เมล็ด 19:70:11  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 18.49 บริกซ์

หมายเหตุ/ความสำคัญ

พันธุ์การค้า พื้นที่ปลูก 1.94%

รูปเพิ่มเติม

  • 024 n
    Sri chom poo

Share this

Update

วันจันทร์, 03 ตุลาคม 2559
Top