ชื่อพันธุ์

พวงทอง

ชื่อพันธุ์(Eng)

Phuang thong

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan

วงศ์

Sapindaceae
พวงทอง

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นลำไยที่มีช่อดอกขนาดใหญ่ ทำให้ผลติดเป็นพวงใหญ่และดกคล้ายองุ่น ผลค่อนข้างกลมเบี้ยวเล็กน้อย ขนาดสม่ำเสมอ เวลาออกผลทำให้กิ่งโน้มลง แต่ก้านพวงแข็ง ผิวผลมีสีเหลืองทอง เนื้อหนากรอบ สีขาวครีม กลิ่นหอม รสชาติไม่หวานมาก เมล็ดขนาดปานกลางและแบน

ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

ได้ชื่อตามชื่อของภรรยาเจ้าของสวนที่ปลูกลำไยพันธุ์นี้ ที่บ้านวังสวนกล้วย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เพชรพวงทอง” หรือ “ดอพวงทอง” มีรายงานว่าลำไยพันธุ์นี้เป็นลำไยที่พัฒนามาจากลำไยอีดอ ซึ่งน่าจะเป็นอีดอก้านอ่อน ชื่ออื่นของลำไยพันธุ์นี้คือลำไย“เพชรเวียงพิงค์” จากค่าดัชนีความเหมือนของสายพันธุ์พบว่า พันธุ์พวงทองมีความใกล้ชิดกับพันธุ์สีชมพู มากกว่ากลุ่มพันธุ์ดอ และห่างจากพันธุ์เบี้ยวเขียวเชียงใหม่ อย่างชัดเจน

ลักษณะใบ

ขนาดของใบย่อยโดยเฉลี่ย ความยาว 14.07 เซนติเมตร  ความกว้าง 4.11 เซนติเมตร  สีของใบแก่ด้านบน เขียวเข้ม  สีของใบแก่ด้านล่าง เขียวซีด  ลักษณะขอบใบ เป็นคลื่น  ลักษณะแผ่นใบ เรียบ  ลักษณะของปลายใบ แหลม  ลักษณะฐานใบ ลิ่ม  รูปร่างของใบ รีค่อนข้างแคบ  ลักษณะของเนื้อใบ คล้ายกระดาษ  ความมันของแผ่นใบ ด้าน  สีก้านใบประกอบด้านบน เขียวปนเหลือง  สีก้านใบประกอบด้านล่าง เหลือง จำนวนใบประกอบต่อช่อใบ 8 ใบ

จำนวนดอกย่อย

ดอกย่อยโดยเฉลี่ย 2,143 ดอก/ช่อ  ดอกเพศผู้ 2,054 ดอก  ดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 89 ดอก สัดส่วนดอกเพศผู้ต่อดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 23:1

ลักษณะผล

รูปร่าง บิดเบี้ยว  ความสมมาตร ปานกลาง  ความสม่ำเสมอ ไม่สม่ำเสมอ  หน้าตัด ป้อมรี  ปลายผล ป้านกลม ผิวเปลือก เรียบ  ความกว้างผล 34.40 เซนติเมตร  ความยาวผล 30.91 เซนติเมตร  น้ำหนักผล 17.19 กรัม  จำนวนผลต่อกิโลกรัม 60 ผล  ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก: เนื้อ: เมล็ด 17:75:8  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 18.13 บริกซ์

หมายเหตุ/ความสำคัญ

พันธุ์การค้า กำลังเป็นที่นิยม

รูปเพิ่มเติม

  • 021 n
    021-Phuang thong

Share this

Update

วันจันทร์, 03 ตุลาคม 2559
Top