ชื่อพันธุ์

เพชรสาคร

ชื่อพันธุ์(Eng)

Phet sa korn

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan

วงศ์

Sapindaceae
เพชรสาคร

ลักษณะประจำพันธุ์

ออกดอกง่ายและก่อนลำไยพันธุ์อื่นๆ โดยไม่ต้องพึ่งความหนาวเย็นของอากาศ จัดเป็นลำไยทวาย คือสามารถออกดอกและให้ผลผลิตได้มากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคม และรุ่นที่สองออกดอกเดือนกรกฎาคม ต้นไม่ใหญ่ ลักษณะคล้ายลำไยเครือหรือลำไยเถา ใบเล็ก ผลกลมโต เมล็ดใหญ่ ติดผลไม่มาก เนื้อเหนียว ไม่ค่อยหวาน แฉะน้ำและมีกลิ่นคาว

ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

ได้ชื่อตามแหล่งที่มาคือมาจากจังหวัดสมุทรสาคร (เจ้าของเดิมอยู่บ้านแพ้ว) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญลำไย ให้ข้อมูลเรื่องชื่อของลำไยนี้ว่า เรียกอีกอย่างว่า “นราภิรมย์”

ลักษณะใบ

ขนาดของใบย่อยโดยเฉลี่ย ความยาว 11.86 เซนติเมตร  ความกว้าง 3.95 เซนติเมตร  สีของใบแก่ด้านบน เขียวเข้ม  สีของใบแก่ด้านล่าง เขียวซีด  ลักษณะขอบใบ เรียบ  ลักษณะแผ่นใบ เรียบ  ลักษณะของปลายใบ แหลม  ลักษณะฐานใบ มน  รูปร่างของใบ รีค่อนข้างแคบ  ลักษณะของเนื้อใบ คล้ายกระดาษ  ความมันของแผ่นใบ ด้าน  สีก้านใบประกอบด้านบน เหลือง  สีก้านใบประกอบด้านล่าง เหลือง  จำนวนใบประกอบต่อช่อใบ 6-8 ใบ

จำนวนดอกย่อย

ดอกย่อยโดยเฉลี่ย 1,709 ดอกเพศผู้ 1,609 ดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 100 สัดส่วนดอกเพศผู้ต่อดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 16:1

ลักษณะผล

รูปร่าง กลมแป้น  ความสมมาตร ปานกลาง  ความสม่ำเสมอ สม่ำเสมอ  หน้าตัด ป้อมรี  ปลายผล ป้านกลม  ผิวเปลือก เรียบ  ความกว้างผล 26.01 เซนติเมตร  ความยาวผล 25.31 เซนติเมตร  น้ำหนักผล 11.82 กรัม  จำนวนผลต่อกิโลกรัม 90 ผล  ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก: เนื้อ: เมล็ด 19:66:15  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 23.87 บริกซ์

หมายเหตุ/ความสำคัญ

พันธุ์การค้า นิยมปลูกในภาคกลาง

รูปเพิ่มเติม

  • 023 n
    Phet sa korn

Share this

Update

วันจันทร์, 03 ตุลาคม 2559
Top