ชื่อพันธุ์

น้ำผึ้งทวาย

ชื่อพันธุ์(Eng)

Nam phueng ta wai

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan

วงศ์

Sapindaceae
น้ำผึ้งทวาย

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นลำไยพันธุ์พื้นเมืองในกลุ่มลำไยปี  หรือที่เกษตรกรลำไยเรียกว่า ลำไย “ธรรมดา” หรือ “ธรรมดาน้ำผึ้ง” หรือ “อีดอน้ำผึ้ง” หรือ “น้ำผึ้ง” ลำต้นมีขนาดใหญ่ ผลกลมเล็ก เนื้อหนา สีออกสีเหลืองๆ คล้ายน้ำผึ้งหรือขาวปนเหลือง เปลือกบางมีสีเหลืองอ่อน รสชาติหวานและมีน้ำเยิ้ม กลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง ใบลำไยมีสีออกเหลืองยอดตอง คำว่า “ทวาย” น่าจะมีการเรียกเติมเข้ามาภายหลังเพื่อให้ขายได้

ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

ได้ชื่อตามลักษณะเนื้อผลที่มีสีออกเหลืองและมีกลิ่นเหมือนน้ำผึ้ง

ลักษณะใบ

ขนาดของใบย่อยโดยเฉลี่ย ความยาว  10.44 เซนติเมตร  ความกว้าง  4.16 เซนติเมตร  สีของใบแก่ด้านบน เขียวเข้ม  สีของใบแก่ด้านล่าง เขียวซีด  ลักษณะขอบใบ เป็นคลื่น  ลักษณะแผ่นใบ ย่น  ลักษณะของปลายใบ มน  ลักษณะฐานใบ ลิ่ม  รูปร่างของใบ หอกกลับ  ลักษณะของเนื้อใบ คล้ายแผ่นหนัง  ความมันของแผ่นใบ เป็นมัน  สีก้านใบประกอบด้านบน เหลือง  สีก้านใบประกอบด้านล่าง เหลือง  จำนวนใบประกอบต่อช่อใบ 4-7 ใบ

จำนวนดอกย่อย

ดอกย่อยโดยเฉลี่ย 781 ดอก/ช่อ  ดอกเพศผู้ 746 ดอก  ดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 35 ดอก  สัดส่วนดอกเพศผู้ต่อดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 21:1

ลักษณะผล

ปร่าง กลม  ความสมมาตร สมมาตร  ความสม่ำเสมอ สม่ำเสมอ  หน้าตัด ป้อมรี  ปลายผล ป้านกลม  ผิวเปลือก เรียบ  ความกว้างผล 23.40 เซนติเมตร  ความยาวผล 22.94 เซนติเมตร  น้ำหนักผล 6.70 กรัม  จำนวนผลต่อกิโลกรัม 158 ผล  ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก: เนื้อ: เมล็ด 20:67:13  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 22.35 บริกซ์

หมายเหตุ/ความสำคัญ

-

รูปเพิ่มเติม

  • 016 n
    016-Nam phueng ta wai

Share this

Update

วันจันทร์, 03 ตุลาคม 2559
Top