ชื่อพันธุ์

แห้ว

ชื่อพันธุ์(Eng)

Haeo

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan

วงศ์

Sapindaceae
แห้ว

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นลำไยกลุ่มลำไยปีหรือลำไยพันธุ์หนัก ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง กิ่งเปราะหักง่าย แต่ทนแล้งได้ดี ยอดอ่อนออกเป็นสีแดง ผลเป็นพวงใหญ่ โตสม่ำเสมอ เปลือกหนามีสีน้ำตาลปนเขียว ผิวขรุขระไม่สวย (ผิวผลสากมือ) เนื้อกรอบแห้ง เป็นลำไยที่รสชาติอร่อย เหมาะสำหรับรับประทานสด หากนำไปอบแห้งเปลือกจะกลายเป็นสีดำ  จึงไม่ได้รับความนิยมในการปลูกเพื่อการส่งออก

ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

พันธุ์แห้ว แยกเป็นสองกลุ่มตามชนิดสีของยอดอ่อนคือ แห้วยอดเขียว และแห้วยอดแดง (พาวิน, 2543) โดยแห้วยอดเขียวออกดอกติดผลยาก อาจให้ผลเว้นปี ช่อดอกสั้นและขนาดผลในช่อมักไม่สม่ำเสมอกัน แต่ไม่มีข้อมูลแห้วยอดเขียวในการศึกษาลักษณะความใกล้ชิดของสายพันธุ์

ลักษณะใบ

ขนาดของใบย่อยโดยเฉลี่ย ความยาว 10.59 เซนติเมตร  ความกว้าง3.73 เซนติเมตร  สีของใบแก่ด้านบน เขียวเข้ม  สีของใบแก่ด้านล่าง เขียวซีด  ลักษณะขอบใบ เป็นคลื่น  ลักษณะแผ่นใบ เรียบ  ลักษณะของปลายใบ แหลม  ลักษณะฐานใบ ลิ่ม  รูปร่างของใบ รีค่อนข้างแคบ  ลักษณะของเนื้อใบ คล้ายกระดาษ  ความมันของแผ่นใบ ด้าน  สีก้านใบประกอบด้านบน เขียวปนน้ำตาล  สีก้านใบประกอบด้านล่าง เขียวปนน้ำตาล  จำนวนใบประกอบต่อช่อใบ 6-10 ใบ

จำนวนดอกย่อย

ดอกย่อยโดยเฉลี่ย 1,433 ดอก/ช่อ  ดอกเพศผู้ 1,352 ดอก  ดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 81 ดอก สัดส่วนดอกเพศผู้ต่อดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 17:1

ลักษณะผล

รูปร่าง บิดเบี้ยว  ความสมมาตร ไม่สมมาตร ความสม่ำเสมอ ไม่สม่ำเสมอ  หน้าตัด ป้อมรี  ปลายผล ป้านกลม  ผิวเปลือก เรียบ  ความกว้างผล 30.40 เซนติเมตร  ความยาวผล 29.81 เซนติเมตร  น้ำหนักผล 12.70 กรัม  จำนวนผลต่อกิโลกรัม 81 ผล  ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก: เนื้อ: เมล็ด 20:66:14  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 20.94 บริกซ์

หมายเหตุ/ความสำคัญ

พันธุ์การค้า พื้นที่ปลูก 1.46%

รูปเพิ่มเติม

  • 025 n
    Haeo

Share this

Update

วันจันทร์, 03 ตุลาคม 2559
Top