ชื่อพันธุ์

เบี้ยวเขียวเชียงใหม่

ชื่อพันธุ์(Eng)

Biew kiew Chiangmai

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan

วงศ์

Sapindaceae
เบี้ยวเขียวเชียงใหม่

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นลำไยพันธุ์หนักออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์อื่นๆ มักติดผลเว้นปี แต่ให้ผลดก เป็นพวงใหญ่ ผลเมื่อยังเล็กมีสีเขียวเข้ม เปลือกหนาสีเขียวปนน้ำตาล ผิวเรียบสวย เนื้อหนาสีออกเหลือง แต่ไม่กรอบเท่าเบี้ยวเขียวป่าเส้า หรือเบี้ยวเขียวก้านแข็ง ทนแล้งได้ดี แต่มักอ่อนแอต่อโรคพุ่มไม้กวาด

ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

“อีเบี้ยวเขียว” หรือ “อีเบี้ยว” หรือเบี้ยวเขียวก้านอ่อน ได้ชื่อพันธุ์ตามลักษณะผลที่มีสีเขียวและมีลักษณะเบี้ยวอย่างชัดเจน และตามพื้นที่ที่มีการปลูกพันธุ์เริ่มต้น มีที่มาจากเวียงหรือในเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่สมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ปัจจุบันรุ่นลูกต้นหนึ่งของลำไยต้นนี้ ได้ย้ายมาปลูกไว้ที่ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา และที่สาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ ตั้งแต่ปี 2555

ลักษณะใบ

ขนาดของใบย่อยโดยเฉลี่ย ความยาว 13.76 เซนติเมตร  ความกว้าง 4.17 เซนติเมตร  สีของใบแก่ด้านบน เขียวเข้ม  สีของใบแก่ด้านล่าง เขียวซีด  ลักษณะขอบใบ เรียบ  ลักษณะแผ่นใบ เรียบ  ลักษณะของปลายใบ มน ลักษณะฐานใบ ลิ่ม  รูปร่างของใบ รีค่อนข้างแคบ  ลักษณะของเนื้อใบ คล้ายกระดาษ  ความมันของแผ่นใบ ด้าน  สีก้านใบประกอบด้านบน เหลือง  สีก้านใบประกอบด้านล่าง เหลือง  จำนวนใบประกอบต่อช่อใบ 7-8 ใบ

จำนวนดอกย่อย

ดอกย่อยโดยเฉลี่ย 1,476 ดอก/ช่อ  ดอกเพศผู้ 1,419 ดอก  ดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 57 ดอก  สัดส่วนดอกเพศผู้ต่อดอกเพศเมียหรือดอกกระเทย 25:1

ลักษณะผล

รูปร่าง กลมแป้น  ความสมมาตร ปานกลาง  ความสม่ำเสมอ ไม่สม่ำเสมอ  หน้าตัด ป้อมรี ปลายผล ป้านกลม ผิวเปลือก เรียบ  ความกว้างผล 27.77 เซนติเมตร  ความยาวผล 26.37เซนติเมตร  น้ำหนักผล 7.98 กรัม  จำนวนผลต่อกิโลกรัม 90 ผล  ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก: เนื้อ: เมล็ด 15:70:15  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 22.88 บริกซ์

หมายเหตุ/ความสำคัญ

พันธุ์การค้า พื้นที่ปลูก 1.31%

รูปเพิ่มเติม

  • 018 n
    018-Biew kiew Chiangmai

Share this

Update

วันจันทร์, 03 ตุลาคม 2559
Top