ชื่อพันธุ์

กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

ชื่อสามัญ

Banana

ชื่อวิทยาศาสตร์

 Musa spp.

ผู้รวบรวมพันธุ์

นายนิคม วงศ์นันตา

หน่วยงาน

ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

วงศ์  Musaceae

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ราก มีระบบรากแก้วในระยะแรกของการเจริญเติบโตต่อมาจะเป็นระบบรากฝอยลำต้นใต้ดินมีลักษณะเป็นปล้องสั้มากมีรอยแผลเกิดที่ใบเป็นเส้นรอบวงโดยรอบ มีตาอยู่ตามข้อ สามารถแตกตาออกเป็นต้นใหม่แทงโผล่ผิวดินขึ้นมา เรียกว่าหน่อ ใบ จะออกตั้งฉากกับลำต้นแล้วค่อนๆ ลู่ลงดินเนื่องจากใบมีขนาดใหญ่ ยาว เส้นใบขนานกันเกือบเป็นมุมฉากกับก้านใบ ช่อดอก กล้วยจะแทงช่อดอกเมื่ออายุ 7 – 9 เดือน หรือหลังจากปลูกด้วยหน่อ 6 – 8 เดือน ช่อดอกจะโผล่ออกมาทางยอด ประกอบด้วยช่อดอกย่อยแบบสไปค์ ( spike ) ช่อดอกย่อยออกเป็นกลุ่มๆ ละ 2 แถว แต่ละกลุ่มจะมีกาบดอกสีแดงหรือสีม่วงอมแดงรองรับอยู่ ในช่อดอกหนึ่งๆ มีทั้งดอกตัวผู้ตัวเมีย และสมบรูณ์เพศ ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแยกกันไม่ชัดเจนทำให้มองเห็นเป็นกลีบสีเหลือง หรือสีครีม หรือสีขาวอยู่ 2 ชั้น เป็นชั้นกลีบรวมซึ่งมีกลีบใหญ่ 3 กลีบและกลีบเล็ก 2 กลีบเชื่อมติดกันเป็นอันเดียว และชั้นกลีบอิสระ ผล เป็นชนิดเบอร์รี่ ( berry ) ติดผลได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมเกสร ผลกล้วยทั้งหมดบนก้านรวมเรียกว่า เครือ ( bunch ) ผลกล้วยแต่ละกลุ่มแต่ละข้อเรียก หวี ( head ) แต่ละผลเรียก ผลกล้วย ( finger ) มีสีและรสชาติแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดพันธุ์ เมล็ด กล้วยส่วนใหญ่จะไม่มีเมล็ด เมล็ดจะมีรูปร่างเกือบกลมหรือรูปเหลี่ยมเปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำแข็งมาก มีอาหารเลี้ยงต้นอ่อนอยู่ในภายใน

Share this

Update

วันพฤหัสบดี, 04 กันยายน 2557
Top