ชื่อพันธุ์

ใบดำ

ชื่อพันธุ์(Eng)

Bai dum

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan

วงศ์

Sapindaceae
ใบดำ

ลักษณะประจำพันธุ์

ออกดอกติดผลดี เจริญเติบโตดีมาก ทนแล้งและทนน้ำได้ดี แต่ผลตอนโตเต็มที่จะมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ อาจจะเพราะติดผลดก เมื่อแก่จัดมักมีเชื้อราติดที่เปลือก ใบหนาสีเขียวเข้มออกดำซึ่งเข้มกว่าลำไยในกลุ่มอีดอ แต่ผลไม่โตเท่าอีดอ ผลทรงรี ไม่กลม ผิวของเปลือกผลขรุขระไม่เกลี้ยง สีออกเขียวคล้ำ ตรงหัวผลมีสีดำ เนื้อค่อนข้างเหนียวและมีกลิ่น รสไม่ค่อยหวาน แฉะน้ำ เก็บข้ามคืนไม่ได้

ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กะโหลกใบดำ” “อีดำ” หรือ “อีดอดำ” หรือ “อีดำดอนแก้ว” เนื่องจากเริ่มปลูกที่บ้านน้ำโจ้ ต. ดอนแก้ว อ. สารภี จ. เชียงใหม่ ได้ชื่อตามลักษณะใบที่มีสีเขียวคล้ำและเข้มกว่าพันธุ์อื่นๆ ผลการทดสอบค่าดัชนีความเหมือนของสายพันธุ์ลำไยพบว่า พันธุ์ใบดำเป็นลำไยพันธุ์เดียวที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน จนไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับลำไยพันธุ์อื่นๆ ได้ แม้แต่กับลำไยกลุ่มดอต่างๆ

ลักษณะใบ

ขนาดของใบย่อยโดยเฉลี่ย ความยาว 10.43 เซนติเมตร  ความกว้าง 4.31 เซนติเมตร  สีของใบแก่ด้านบน เขียวเข้ม  สีของใบแก่ด้านล่าง เขียวซีด  ลักษณะขอบใบ เป็นคลื่น  ลักษณะแผ่นใบ เรียบ  ลักษณะของปลายใบ แหลม  ลักษณะฐานใบ ลิ่ม  รูปร่างของใบ รีค่อนข้างแคบ  ลักษณะของเนื้อใบ คล้ายกระดาษ  ความมันของแผ่นใบ เป็นมัน  สีก้านใบประกอบด้านบน เหลือง  สีก้านใบประกอบด้านล่าง เหลือง  จำนวนใบประกอบต่อช่อใบ 7-9 ใบ

จำนวนดอกย่อย

-

ลักษณะผล

รูปร่าง กลมแป้น ความสมมาตร ปานกลาง  ความสม่ำเสมอ ไม่สม่ำเสมอ  หน้าตัด ป้อมรี  ปลายผล ป้านกลม  ผิวเปลือก เรียบ  ความกว้างผล 28.16 เซนติเมตร  ความยาวผล 28.33 เซนติเมตร  น้ำหนักผล 9.48 กรัม  จำนวนผลต่อกิโลกรัม 106 ผล  ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก: เนื้อ: เมล็ด 16:70:14  ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 19.60 บริกซ์

หมายเหตุ/ความสำคัญ

-

รูปเพิ่มเติม

  • 019 n
    019-Bai dum

Share this

Update

วันจันทร์, 03 ตุลาคม 2559
Top