ชื่อเรื่อง(ไทย)

การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ข้าวมาตรฐานโดยวิธีการก่อกลายพันธุ์ด้วยลำอนุภาคในสภาพแปลงทดลอง

ชื่อเรื่อง(Eng)

MUTATION BREEDING AND SELECTION FOR PHENOTYPIC MUTANTS IN STANDARD RICE VARIETIES BY ION BEAM IN THE FIELD CONDITION

ชื่อผู้วิจัย(ไทย)

ประวิตร พุทธานนท์ ประทีป พิณตานนท์ สรินทร์ ดีสีปาน และเสกสรร สงจันทึก

ชื่อผู้วิจัย(Eng)

PRAWIT PUDDHANON

หน่วยงาน

สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร

การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ข้าวมาตรฐานโดยวิธีการก่อกลายพันธุ์ด้วยลำอนุภาคในสภาพแปลงทดลอง

บทคัดย่อ

การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ข้าวมาตรฐานโดยวิธีการก่อกลายพันธุ์ด้วยลําอนุภาคในสภาพแปลงทดลอง ในปี  2553-2554 ได้ทําการประเมินและคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวกลายพันธุ์  RD6 M6plants และ SPT1 M7plants ตลอดจนเปรียบเทียบผลผลิตแบบมาตรฐาน  จากผลการประเมินสายพันธุ์ข้าวกลายพันธุ์ ได้คัดเลือกข้าวสายพันธุ์กลาย RD6M6 plants เป็น RD6M7 seeds จํานวน 9 สายพันธุ์ 15 รวง เป็นข้าวสายพันธุ์กลายข้าวเหนียว RD6M7 glutinous seeds 13 รวง และข้าวสายพันธุ์กลายข้าวเจ้า RD6M7 paddy seeds 2 รวง และข้าวสายพันธุ์กลาย  SPT1M7 plants เป็น SPT1M8 seeds จํานวน 21 สายพันธุ์ 51 รวง เป็นข้าวสายพันธุ์กลายข้าวเหนียว SPT1M8 glutinous seeds 49 รวง และข้าวสายพันธุ์กลายข้าวเจ้า SPT1M8 paddy seeds 2 รวง การเปรียบเทียบพันธุ์แบบมาตรฐานชุดที่ 1 พบว่าข้าวสายพันธุ์กลาย SPT1M7 จํานวน 1 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยที่ความชื้น 14% สูงกว่าข้าวสายพันธุ์ปรกติ SPT1(N) (898.0 กก./ไร่) คือ ข้าวสายพันธุ์กลาย SPT1(I)M7-1-2-2-1-1-1 เท่ากับ 901 กก./ไร่ การเปรียบเทียบพันธุ์แบบมาตรฐานชุดที่ 2 พบว่าข้าวสายพันธุ์กลาย S RD6M6 จํานวน 4 สายพันธุ์ ให้ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยที่ความชื้น 14% ใกล้เคียงกับสายพันธุ์มาตรฐาน RD6(N) (738 กก./ไร่) คือ สายพันธุ์กลาย RD6(I)M6-173-1-1-1-1 เท่ากับ 786.7 กก./ไร่ ข้าวสายพันธุ์กลาย RD6(I)M6-151-11-2-1-1 เท่ากับ 772 กก./ไร่ ข้าวสายพันธุ์กลาย RD6(I)M6-149-1-1-1-1 เท่ากับ 770 กก./ไร่ และข้าวสายพันธุ์กลาย RD6(I)M6-171-5-1-1-1-1 เท่ากับ 753.5 กก./ไร่ ตามลําดับ สายพันธุ์กลายชั่วที่ 6-7 (M6-M7) ทั้งหมดที่ได้จากการก่อกลายพันธุ์ด้วยลําอนุภาคจะได้นําไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวด้วยวิธีมาตรฐานร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อค้นหายีนข้าวเจ้าที่กลายพันธุ์จากข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 และ กข.6 ต่อไป

Abstract

The Mutation Breeding and Selection for Phenotypic Mutants in Standard Rice Varieties by Ion Beam in the Field Condition was continued on 2010-2012. The evaluation and line selection of rice mutants RD6M6 plants, SPT1M7 plants as well as Standard Yield Trials were carried out. As a result, the rice mutant lines were selected from RD6M6 plant to RD6M7 seeds of 9 lines, 15 panicles which were rice mutant glutinous 13 panicles, paddy 2 panicles. More over, selected from SPTM7 plants to SPT1M8 seeds of 21 lines, 51 panicles which were rice mutant glutinous 49 panicles, paddy 2 panicles. The SPT1 mutant lines were evaluated standard on trial with their normal variety in yield trial set 1. The results indicated that one line of SPT1M7 gave mean paddy rice at 14% moisture higher than SPT1(N) (898 kg/rai) which were SPT1(I)M7-1-2-2-1-1-1 (901 kg/rai) higher than the SPT1(N). The RD6 mutant lines were evaluated on standard test with their normal variety in yield trial set 2. The results indicated that 4 lines of RD6M6 gave mean paddy rice at 14% moisture comparable to RD6(N) (738 kg/rai), which were RD6(I)M6-173-1-1-1-1 (786.7 kg/rai),  RD6(I)M6-151-11-2-1-1(772 kg/rai), RD6(I)M6-149-1-1-1-1 (770 kg/rai) and RD6(I)M6-171-5-1-1-1-1 (753.5 kg/rai), respectively. All the mutant lines development form ion-beam bombardment will be further used in Rice conventional breeding program assisted with biotechnology to identify the paddy rice mutation form Sanpathong 1 and RD6 glutinous rice varieties.

Top