ชื่อเรื่อง(ไทย)

การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดไทยโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล

ชื่อเรื่อง(Eng)

MOLECULAR BREEDING OF THAI VEGETABLE SOYBEAN

ชื่อผู้วิจัย(ไทย)

พรพันธ์ ภู่พรอมพันธุ์ และพิจิตรา วงศ์ชูเวช

ชื่อผู้วิจัย(Eng)

PORNPAN POOPROMPAN AND PHICHITRA WONGCHUWECH

หน่วยงาน

สาขาวิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร

การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดไทยโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะและจําแนกเครื่องหมายโมเลกุลแบบเอสเอสอารที่เชื่อมโยงกับลักษณะเชิงปริมาณที่ควบคุมลักษณะทางคุณภาพและ ลักษณะทางการเกษตรบางประการในประชากรสายพันธุ์แท้ที่ใช้ทําแผนที่โครโมโซม (mapping population) จากคู่ผสมระหว่างถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์ AGS292 กับถั่วเหลืองพันธุ์นครสวรรค์ 1 (นว.1) ปลูกทดสอบประชากรถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์แท้ 136 สายพันธุ์ รวมกับพันธุ์พ่อแม่ในสองฤดู วางแผนการทดลองสุ่มในบลอคสมบูรณ์ (randomized complete block design, RCBD) จํานวน 2 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า อัตราพันธุกรรมแคบขององค์ประกอบของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ในเมล็ดสด อายุออกดอก และอายุเก็บเกี่ยวในระยะ R6.5 เมื่อวิเคราะห์รวมสองฤดู มีค่า 43.3, 39.4 และ 25.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ การวิเคราะห์เครื่องหมายโมเลกุลแบบเอสเอสอาร์ เพื่อสํารวจความแตกต่างของพ่อแม่ จํานวน 332 เครื่องหมาย บน 20 กลุ่มลิงเกจ พบว่ามี 49 เครื่องหมาย ที่แสดงความแตกต่าง (polymorphisms) อย่างชัดเจนและสามารถนําไปวิเคราะห์ความเชื่อมโยงกับกลุ่มของยีนที่ควบคุมลักษณะเชิงปริมาณของลักษณะทางคุณภาพ และลักษณะทางการเกษตรในประชากรสายพันธุ์แท้ การวิเคราะห์สมการถดถอยพบกลุ่มของยีนอย่างน้อย 7 ตําแหน่ง ที่ควบคุมองค์ประกอบของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ในเมล็ดสด 7 ตําแหน่ง ที่ควบคุมอายุออกดอก และ 3 ตําแหน่งที่ควบคุมอายุเก็บเกี่ยวในระยะ R6.5 กลุ่มของยีนที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกองค์ประกอบ ของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ในเมล็ดสดมากที่สุด อยูใกล้กับเครื่องหมายโมเลกุลแบบเอสเอสอาร์ ที่ Satt141 บนกลุ่มลิงเกจ D1b+W อายุออกดอกและอายุเก็บเกี่ยวในระยะ R6.5 ที่ Satt229 บนกลุ่มลิงเกจ L จากการคนพบกลุ่มของยีนที่ควบคุมลักษณะเชิงปริมาณเหลานี้ นักปรับปรุงพันธุ์สามารถนําเครื่องหมายโมเลกุลช่วยคัดเลือกเพื่อปรับปรุงคุณภาพและลักษณะทางการเกษตรของถั่วเหลืองฝักสดต่อไป

Abstract

(TSS) content of green seed, days to flowering (DTF) and days to harvest (DTH) were 43.3, 39.4 and 25.5%, respectively. A total of 332 SSR markers on 20 molecular linkage groups (MLGs) were analyzed to identify polymorphism between parents. Results showed that 49 SSR markers exhibited polymorphism and can be used to perform QTL analysis for quality and some agricultural traits in RIL population. Multiple-locus regression analysis of significant marker loci revealed that at least 7 QTL were involved in controlling TSS, 7 QTL controlling DTF and 3 QTL controlling DTH. The QTL near an SSR marker (Satt141) in MLG D1b+W had the greatest effect on TSS, Satt229 in MLG L for DTF and DTH. The QTL found in this study can facilitate vegetable soybean breeders in using marker-assisted selection to improve quality and some agricultural traits of vegetable soybean.

Top