ชื่อเรื่อง(ไทย)

โครงการปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งเพื่อการแปรรูปในเชิงพาณิชย์: การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์ใหม่จากต้นพืชปลอดเชื้อ

ชื่อเรื่อง(Eng)

POTATO IMPROVEMENT FOR COMMERCIAL PROCESSING

ชื่อผู้วิจัย(ไทย)

ศิริพร พงศ์ศุภสมิทธิ์ และชลิต พงศ์ศุภสมิทธิ์

ชื่อผู้วิจัย(Eng)

SIRIPORN PONGSUPASAMIT AND CHALIT PONGSUPASAMIT

หน่วยงาน

สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร

โครงการปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งเพื่อการแปรรูปในเชิงพาณิชย์: การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งชั่วที่ 1 ของสายพันธุ์ใหม่จากต้นพืชปลอดเชื้อ

บทคัดย่อ

ทำการทดลองผลิตหัวพันธุ์ชั่วที่ 1 จากต้นปักชำปลอดโรคของมันฝรั่ง 12 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Atlantic (AT), Spunta (SP), Russet Burbank (RB), AT18, AT179, AT192, AT431, KB154, KB165, KB211, SP51 และ RB80 ในโรงเรือนทดลอง โดยใช้ต้นพืชปลอดเชื้อที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นต้นแม่ ในการผลิตต้นปักชำของแต่ละสายพันธุ์ พบว่าเปอร์เซ็นต์การย้ายรอดของต้นพืชปลอดเชื้อที่ 2 สัปดาห์ มีพิสัยตั้งแต่ 33.33-80% และได้นำต้นปักชำของทั้ง 12 สายพันธุ์ ย้ายปลูกลงในกระถางเพื่อผลิตหัวพันธุ์ชั่วที่ 1 ในโรงเรือนทดลอง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จานวน 3 ซ้ำ จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของลักษณะองค์ประกอบผลผลิตของต้นปักชำของมันฝรั่งทั้ง 12 สายพันธุ์ พบว่า จำนวนหัวตอต้น น้ำหนักหัวตอต้น และ น้ำหนักเฉลี่ยต่อหัว ไม่มีความแตกต่างกันทางสถติ (P≥0.05) แต่ความสูงที่ 90 วัน มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P≤0.01) โดยสายพันธุ์ AT431 แสดงค่าเฉลี่ยน้ำหนักหัวต่อต้นสูงที่สุด และไม่แตกต่างกับอีก 11 สายพันธุ์ และสามารถผลิตหัวพันธุ์ชั่วที่ 1 ของทุกสายพันธุ์ได้ตามเป้าหมาย ยกเว้นสายพันธุ์ RB80

คำสำคัญ:  การปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่ง  หัวพันธุ์มันฝรั่ง

 

Abstract

 

G1 tubers of 12 potato clones namely Atlantic (AT), Spunta (SP), Russet Burbank (RB), AT18, AT179, AT192, AT431, KB154, KB165, KB211, SP51 and RB80 were produced from cuttings derived from mother plants under the screen house condition. The in vitro pathogen-tested plantlets of each clone were transplanted into the plastic pots to produce the mother plants for cutting generation. It was found that the survival percentages after transplanting ranged from 33-80%. Cuttings of all clones were planted in the 6 inch plastic pots in the Completely Randomized Design with 3 replications under the screen house condition. The analyses of variances for tuber number per plant, tuber weight per plant and weight per tuber were not significant (P≥0.05). While that for height at 90 days was highly significant (P≤0.01). The mean for tuber weight per plant for AT431 was the highest but not significantly different from those for the other 11 clones. Expected numbers of G1 tubers were produced for all clones except RB80.  

Keywords:  potato improvement, seed potato, mini tuber

Top