เบญจมาศกระถาง

    12-7_1การปลูกเบญจมาศเพื่อผลิตเป็นไม้กระถาง บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่  10 ธันวาคม 2552 ปีที่ 40 ฉบับที่ 14,332 คอลัมม์ ทรัพย์ในดินสินในน้ำ..

    thainews

    12-8นายธนวัฒน์  รอดขาว  นักวิชาการเกษตร  ฝ่ายพัฒนาเกษตรที่สูง  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้   ได้มีการศึกษาทดลองจนประสบผลสำเร็จในการผลิตเบญจมาศกระถางและ ได้ดำเนินการจัดทำฐานเรียนรู้ การผลิตเบญจมาศเชิงพาณิชย์ทั้งการผลิตเป็นไม้ตัดดอก และไม้ดอกกระถาง เพื่อให้เกษตรกรได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้เพิ่มทักษะในการผลิตดอกเบญจมาศและให้การสนับสนุนต้นพันธุ์ดีให้เกษตรกรนำไปปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรมีกำไรจากการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น เป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสามารถเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ของเกษตรกรต่อไป

    เบญจมาศ  เป็นไม้ดอกที่ได้รับความนิยมทั้งในรูปของการผลิตเป็นไม้ตัดดอกและไม้กระถาง  ซึ่งปัจจุบันธุรกิจเกี่ยวกับไม้ดอกกระถางในเมืองไทยได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก     นอกจากไม้ดอกกระถางที่มีการปลูกจำหน่ายกันเองในประเทศแล้ว  ยังมีผู้นำไม้ดอกกระถางชนิดต่างๆ จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจและหลงใหลในความสวยงามของมันอย่างมากมาย หลากหลายชนิด  ซึ่งคิดเป็นมูลค่าในปีหนึ่งๆ  เป็นเงินจำนวนไม่น้อยทีเดียว แสดงให้เห็นว่าไม้ดอกกระถางเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น  ซึ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาผลิตเป็นไม้กระถางมีดังนี้

    กระถางหรือภาชนะปลูก

    กระถางที่ใช้ปลูกเบญจมาศ  กระถางควรมีขนาด  5.5 – 6  นิ้ว  เป็นกระถางพลาสติก  รูปทรงเป็นกระถางก้นลึก  มีน้ำหนักเบา  สามารถเคลื่อนย้ายหรือขนส่งได้ปริมาณมาก  เพื่อลดต้นทุนการผลิต

    วัสดุปลูก

    วัสดุปลูกซึ่งเป็นที่อยู่ของรากพืช  ทำหน้าที่ค้ำยันให้ต้นพืชตั้งตรงอยู่ได้  การระบายน้ำและการหมุนเวียนของอากาศ   หน้าที่ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น  นั้นคือ รากพืชที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นต้องการออกซิเจน เพื่อการหายใจ  และขณะเดียวกันก็ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา  รากพืชต้องการน้ำเพื่อใช้ในขบวนการต่างๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช และทดแทนส่วนที่สูญเสียไปจากการคายน้ำ   ด้วยเหตุนี้วัสดุปลูกจึงจะต้องอุ้มน้ำได้อย่างเพียงพอ  แต่ปริมาณน้ำที่มีอยู่จะต้องไม่ไปจำกัดปริมาณอากาศภายในวัสดุปลูกด้วย   ควรอยู่ในระดับที่พอเหมาะต่อกัน

    คุณสมบัติของวัสดุปลูก 12-10

    1.    น้ำหนักเบา

    2.    สามารถกักเก็บความชื้นและมีการระบายน้ำได้ดี

    3.    มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชครบถ้วน

    4.    มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ที่  pH 6.5 – 7.0

    5.    หาง่าย  ราคาถูก  สะอาด  ปราศจากโรคแมลง

    12-11วัสดุปลูกสำหรับเบญจมาศกระถาง

    ขุยมะพร้าว                      2                              ส่วน

    ทรายละเอียด                   1                              ส่วน

    ส่วนผสม  1  คิวบิคเมตร เติมปุ๋ย

    ปุ๋ยสูตร  0- 46 - 0          1                              กิโลกรัม

    โดโลไมท์                        1                              กิโลกรัม

    การปลูกและดูแลรักษา

    นำวัสดุปลูกที่ผสมไว้ ใส่กระถางประมาณ  1/4 ของกระถางแล้วรองด้วยปุ๋ยละลายช้า 17-17-17  ประมาณ 5 กรัม เติมดินให้เต็มกระถางนำไปวางเรียงไว้ให้กระถางชิดกันในโรงเรือนพลาสติก  และนำต้นกล้ามาปลูก จำนวนกระถางละ 5 ต้น ปลูกรอบกระถาง  โดยปลูกให้ต้นเอนออกทางปากกระถางเล็กน้อย  ไม่ควรปลูกลึกเกินไป  ควรคัดเลือกกิ่งชำที่มีขนาดเท่ากัน  ปลูกในกระถางเดียวกัน  เพื่อว่าจะเจริญเติบโตไปพร้อมๆ กัน รดน้ำให้ชุ่มและควรรักษาความชื้นของวัสดุปลูกให้พอเหมาะไม่แฉะหรือแห้งจนเกินไป  หลังจากปลูกเสร็จแล้วควรให้แสงสว่าง  จากหลอดไฟฟ้าเป็นเวลา 2  สัปดาห์  เพื่อให้ต้นเบญจมาศสะสมอาหาร  สร้างความแข็งแรง  ก่อนที่จะสร้างตาดอกที่มีคุณภาพ  สวยงาม

    การเด็ดยอด

    จำเป็นมากสำหรับการปลูกเบญจมาศกระถาง  ควรเด็ดหลังจากปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เหลือใบไว้กับต้นประมาณ 4 ใบ เพื่อให้เกิดการแตกของกิ่งแขนง  ให้มีทรงพุ่มแน่นขึ้นและมีดอกดกสวยงาม

    12-12การจัดวางกระถาง

    หลังจากปลูกลงกระถางแล้ว จัดวางให้กระถางชิดติดกัน  จากนั้นประมาณ  2  สัปดาห์  ทำการปิดไฟงดให้แสงสว่าง  โดยย้ายไปเรียงในโรงเรือนพลาสติกอีกโรงหนึ่ง  ควรเรียงให้มีระยะห่างระหว่างกระถางเป็น 30 × 30 ซม. เพื่อให้ต้นได้รับแสงเต็มที่ แตกกิ่งได้ดี มีทรงพุ่มสวยงาม

    การให้ปุ๋ย

    การให้ปุ๋ยเป็นการเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต  ทำให้ต้นแข็งแรง  แตกกิ่งก้านสาขา  ออกดอกสวยงาม  การให้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องให้ถูกตามอายุของการเจริญเติบโตและมีปริมาณธาตุอาหารตรงกับความต้องการของพืช  ปุ๋ยที่ใช้กับเบญจมาศจะอยู่ในรูปของปุ๋ยน้ำ  โดยมีปริมาณธาตุอาหารดังนี้

    ปุ๋ยสูตร

    ปริมาณ (กรัม)

    1. 12 – 60 – 0
    2. 13 – 0 – 46
    3. 15 – 0 – 0
    4. แมกนีเซียมซัลเฟต
    5. ธาตุอาหารเสริมยูนิเลท

    25
    150
    120
    45
    2.5

    การละลายปุ๋ยให้แยกปุ๋ยสูตร 15 – 0 – 0 ละลายในถังน้ำ 10 ลิตร 1 ถัง  ส่วนปุ๋ยที่เหลือให้ละลายรวมกันในถังเดียวกัน ปริมาณน้ำ 10 ลิตร อีก 1 ถัง  เวลานำไปใช้ให้นำปุ๋ยที่ละลายแล้วทั้ง 2 ถัง ไปผสมกับน้ำอีก 200 ลิตร รดเบญจมาศกระถาง  สัปดาห์ละ 2  ครั้ง จะช่วยให้เบญจมาศมีการเจริญเติบโตดี ต้นแข็งแรง  มีดอกที่มีคุณภาพสวยงาม

    การใช้สารชะลอการเจริญเติบโต12-13

    เพื่อให้ต้นเบญจมาศมีทรงพุ่มที่กะทัดรัดสวยงาม  แตกกิ่งก้านสาขามาก  ไม่สูงจนเกินไป จำเป็นต้องใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต  การใช้สารควบคุมความสูงของเบญจมาศ  สำหรับปลูกเป็นไม้กระถางนั้นสามารถใช้สารดามิโนไซด์ (daminozide)  ความเข้มข้น 1,250 – 5,000 มิลลิกรัม/ลิตร  พ่นทั่วต้นให้โชก จะช่วยลดความยาวปล้องได้  การใช้สารควรทำภายหลังการเด็ดยอดแล้วและปล่อยให้กิ่งแขนงเจริญออกมายาวประมาณ 1.5 – 2  เซนติเมตร  สำหรับพันธุ์ที่มีต้นสูงมากอาจต้องให้สาร 2 – 3 ครั้ง โดยทิ้งช่วงห่างกัน 2 – 3 สัปดาห์สารพาโคลบิวทาโซล (paclobutrazol) เป็นสารชะลอการเจริญเติบโตที่สามารถใช้ควบคุมความสูงของต้นเบญจมาศได้  โดยฉีดพ่น 2 ครั้ง  ครั้งแรกหลังจากเด็ดยอดกิ่งแขนงมีความยาว 2 นิ้ว พ่นสารพาโคลบิวทาโซล  ความเข้มข้น 50 ppm. หลังจากนั้น 7 วัน  พ่นสารครั้งที่ 2  ความเข้มข้น 100 ppm.  ทำให้ได้ทรงพุ่มสวยงามกะทัดรัด ข้อคำนึงถึงการใช้สารขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสายพันธุ์เป็นหลัก

    อายุการจำหน่าย

    ต้นเบญจมาศถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดี  สามารถจำหน่ายได้เมื่อมีอายุได้ประมาณ 70 วัน 
    ข้อดีของเบญจมาศ คือ สามารถกำหนดการบานของดอกได้  โดยควบคุมการปิดไฟ  ดอกเบญจมาศสามารถบานพร้อมใช้งานได้ หลังจากปิดไฟ ประมาณ 50 – 55 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และฤดูกาลปลูกเป็นสำคัญ ท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจต้องการซื้อต้นเบญจมาศในกระถาง หรือต้องการเข้าเยี่ยมชมฐานเรียนรู้การผลิตเบญจมาศเชิงพานิชย์ติดต่อ นายธนวัฒน์  รอดขาว ฝ่ายพัฒนาเกษตรที่สูง  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  0-5387-5108  ในวันและเวลาราชการ
    12-17_1รายงานโดย

    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร 
    สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes