ผลสำรวจเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก FTA

    02-1-1ผลสำรวจเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก FTA แต่เห็นว่าการค้าขายกับต่างประเทศมีความจำเป็น  ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,871

    ศูนย์วิจัยวิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร โดยแม่โจ้โพลล์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “FTA ในความเข้าใจของเกษตรกร”   โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรทั่วประเทศ    จำนวน ๙๑๑  คน ระหว่างวันที่   ๑๒ – ๒๔  ธันวาคม  ๒๕๕๒

    "เกษตรกรไทย  77.6 %  ไม่รู้จัก FTA  แต่ 85.4 %  บอกการค้าขายกับต่างประเทศมีความจำเป็น  และ 75.0 % ยังต้องการให้บุตรหลานสืบทอดอาชีพทางการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยและจะได้นำความรู้มาช่วยในการพัฒนาการเกษตรให้ดีขึ้น"

    02-1อาชีพเกษตรกรรม ถือเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีการส่งออกสินค้าเกษตรนั้นช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศปีละมหาศาล โดยที่ผ่านมาการเกษตรของประเทศไทยได้มีการพัฒนามาตลอด ทั้งด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนใช้มาตรการเสริมต่างๆของรัฐ เช่น การประกันรายได้ให้กับเกษตรกรเพื่อให้อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่คู่กับคนไทยและสร้างรายได้ให้กับประเทศต่อไป ดังนั้นศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรโดยแม่โจ้โพลล์  จึงสำรวจความคิดเห็นเกษตรกรทั่วประเทศ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพในประเด็นการติดตามข่าวสารทางการเกษตรและปัญหาของเกษตรกรที่ประสบในปัจจุบัน จำนวน 911 คน ประกอบอาชีพด้านปลูกพืช 66.7 % ประมง 7.6 % และปศุสัตว์ 25.7 %ใน วันที่12-23ธ.ค.52 สรุปผลได้ดังนี้

    1. ท่านได้ติดตามข่าวสารทางการเกษตรหรือไม่

    ก. ติดตาม 78.9 % จากสื่อ โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์ วารสารทางการเกษตร วิทยุและจากส่วนราชการต่างๆ

    ข.ไม่ได้ติดตาม 21.1 %

    2.  จากการติดตามข่าวสารท่านได้นำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือไม่

    ก.นำมาใช้  80.3 % เพราะทำให้ทราบวิธีการผลิต เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนข่าวสารด้านนโยบายของภาครัฐ   เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการผลิตและนำไปเผยแพร่ให้สมาชิกเกษตรกรด้วยกัน

    ข.ไม่ได้นำมาใช้ 19.7 % เพราะ มีวิธีการยุ่งยาก ขาดอุปกรณ์และต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง นอกจากนี้ก็เป็นเพียงการติดตามข่าวด้านตลาดหรือราคาเท่านั้น02-2

    3. ท่านรู้จัก FTA หรือไม่

    ก. รู้จัก 22.4 %

    ข. ไม่รู้จัก 77.6 %

    4. ท่านคิดว่าจำเป็นที่จะต้องมีการค้าขายกับต่างประเทศหรือไม่

    ก. จำเป็น 85.4 %  เพราะผลผลิตภายในประเทศมีมาก ต้องมีการส่งออกสินค้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศและยังเป็นการนำเข้าสินค้าที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตเองได้

    ข.ไม่จำเป็น 13.9 % เพราะการผลผลิตบางชนิดก็เพียงพอในการใช้ภายในประเทศและบางชนิดก็มีการผลิตได้ในปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการส่งออก

    ค.ไม่มีความเห็น 0.7 %

    02-3 5.  จากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน คิดว่าอนาคตการเกษตรไทยจะเป็นอย่างไร

    ก. ดีขึ้น 39.2 % เพราะมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้พัฒนาด้านการผลิตมากขึ้น ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐที่ทำให้แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น

    ข. เหมือนเดิม 31.8 %

    ค. แย่ลง 29.0 %  เพราะ ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ประกอบกับผลจากปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง ส่งผลทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรไม่แน่นอนเกษตรกรมีรายได้น้อย เป็นหนี้สินและปัญหาสภาพภัยธรรมชาติต่างๆ

    6. ท่านคิดว่าปัจจุบันเกษตรกรไทยประสบปัญหาทางการเกษตรอะไรมากที่สุด

    ก. ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ถูกกดราคาจากลุ่มพ่อค้าคนกลางทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เกษตรกรมีรายได้น้อย 51.3 %

    ข. ปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืชรบกวน การใช้สารเคมีทำให้ดินเสื่อมสภาพและปัญหาภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้งทำให้ผลผลิตตกต่ำ 26.9 %

    ค. ปัญหาการตลาด 11.9 %

    ง. ปัญหาการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง 3.2 %

    จ. ไม่มีความเห็น 6.7 %02-5

    7. ท่านคิดว่าควรมีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร

    ก. รัฐบาลควรมีนโยบายและมาตรการต่างๆออกสนับสนุนเกษตรกรอย่างจริงจัง ทั้งด้าน ปัจจัยการผลิต การประกันราคา 38.2 %

    ข. ควรให้ความรู้ด้านการตลาดให้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งช่วยเหลือด้านการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ 16.8 %

    ค. ช่วยด้านการลดต้นทุนในการผลิตและส่งเสริมให้หันมาใช้วิธีการผลิตทางธรรมชาติ 16.0 %

    ง. อื่นๆ 13.7 %

    จ.ไม่มีความเห็น 15.3 %

    8. ท่านต้องการให้บุตร หลานของท่าน เรียนต่อสาขาวิชาด้านการเกษตรหรือไม่

    ก. ต้องการ 75.0 % เพราะ ได้นำความรู้มาช่วยในการพัฒนาการเกษตรให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสืบทอดกิจการของ ครอบครัวและช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศ

    ข. ไม่ต้องการ 21.2 % เป็นอาชีพที่มีความลำบากและการผลิตต้องพึ่งพาธรรมชาติ ได้รับผลตอบแทนน้อย

    ค. ไม่มีความเห็น 3.8 %

    ปัจจุบันสินค้าทางด้านการเกษตรของประเทศ  จำเป็นจะต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ  ไม่ว่าจะเอเชียด้วยกันเอง  ตลาดยุโรป  อเมริกา  หรือแม้กระทั่งตะวันออกกลาง  ตลาดต่าง ๆ  เหล่านี้ต้องการสินค้าทางด้านการเกษตร  เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน  สินค้าทางด้านการเกษตรของประเทศไทยเมื่อนำไปวางจำหน่ายยังต่างประเทศราคาจะแพงกว่าการจำหน่ายในประเทศมาก  และแน่นอนคุณภาพของสินค้าจะต้องได้คุณภาพตามมาตรฐานของแต่ละประเทศกำหนด  เมื่อประเทศไทยได้ทำข้อตกลงว่าด้วยการค้าเสรีแล้ว  เกษตรกรไทยหรือผู้ประกอบการ  ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์กติกาต่าง ๆ  ของแต่ละประเทศ  ต้องรู้จักการรวมกลุ่มของผู้ผลิตเพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าที่พอเพียง  ต้องควบคุมคุณภาพของสินค้า  ต้องคำนึงและตระหนักถึงสารเคมีตกค้างในสินค้า  ต้องลดต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าให้สามารถแข่งขันกับแหล่งผลิตเพื่อนบ้าน  ต้องเพิ่มปริมาณผลผลิตให้คุ้มทุน  ต้องพึงพาองค์กรท้องถิ่น  แหล่งทุนสนับสนุน  และต้องประสานหน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

    สิ่งต่าง ๆ  ที่กล่าวมาในข้างต้น  เกษตรกรไทยจึงจะสามารถประกอบอาชีพทางการเกษตรได้อย่างยั่งยืน  และบูรณาการ  สามารถทำให้ครอบครัวมีฐานนะดีขึ้น  เศรษฐกิจท้องถิ่นเจริญ  และนำพาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาและเจริญรุ่งเรืองต่อไป

    ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร                     คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-375615-6 ,  053-875661  ในวันและเวลาราชการ

    นำเสนอข่าวโดย
    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    thainews

     

    new-5-2-53

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes