ภาวะน้ำวิกฤต

    DSCF7217_1ภาวะน้ำวิกฤต แม่โจ้คิดการให้น้ำไม้ผลอย่างประหยัด  ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,406

    DSCF7217สภาวะโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภาวะวิกฤตภัยพิบัติทางธรรมชาติหลากหลายและรุนแรง  ทำให้ผู้คนล้มตาย  บ้านเรือน  สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สูญเสียเป็นจำนวนมากมายมหาศาล  ภัยจากแผ่นดินไหว  พายุหิมะถล่ม  พายุฝนฟ้าคะนอง  น้ำท่วมในประเทศต่าง ๆ  ทวีปยุโรป  อเมริกา  ออสเตเรีย  แม้แต่เอเชียของเราก็หนีไม่พ้น  ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเลวร้ายที่กล่าวมาข้างต้น  แต่ประเทศไทยเราก็พบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค  บริโภค  ที่กล่าวกันว่าภัยแล้ง  น้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของคน  สัตว์  พืช  และระบบนิเวศน์วิทยา  น้ำมาจากธรรมชาติ  มีได้ก็หมดได้  หลาย ๆ ประเทศมีกฎเกณฑ์กติกาควบคุมการใช้น้ำของประชาชนตัวเอง  เพื่อให้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคิดและตระหนักในการควบคุม  ดูแลใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัดและมีคุณค่าสูงสุด  การใช้วัสดุคลุมดินในการปลูกพืชมีความสำคัญและมีประโยชน์  นอกจากจะเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้กับดินแล้ว  ยังป้องกันวัชพืชต่าง ๆ  ไม่ให้งอกและที่สำคัญคือสามารถป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวดินได้เป็นอย่างดี  เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลในช่วงนี้  เช่น  มะม่วง  ลำไย  ลิ้นจี่  กำลังติดผลต้องการน้ำในการเจริญเติบโตของผลอย่างมาก  แต่น้ำในห้วยหนอง  คลอง  บึง  กลับไม่มีน้ำอยู่เลย  ถึงมีก็น้อยมากจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องมีวิธีการให้น้ำอย่างประหยัด  เพื่อที่จะผ่านหรือฝ่าวิกฤติน้ำในช่วงนี้ไปให้ได้

    DSCF7234ปัจจุบันเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกไม้ผลสู่ที่ดอนและพื้นที่ไหล่เขาหรือเนินเขามากขึ้น  ในพื้นที่แบบนี้หาน้ำได้ยากกว่าในที่ลุ่ม  นอกจากนี้แรงงานยังขาดแคลนและค่าแรงแพงขึ้น  เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจำนวนมากจึงนิยมวิธีการให้น้ำชลประทานทางท่อโดยระบบสปริงเกลอร์หรือระบบน้ำหยด  นอกจากประหยัดทั้งน้ำและแรงงานแล้ว  การให้น้ำชลประทานทางท่อทำให้สามารถให้ปุ๋ยเคมีไปพร้อมกับการให้น้ำ DSCF7219

    ปัจจุบันมีสวนองุ่นในออสเตรเลียและอเมริกาใช้เทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น การให้น้ำโดยเทคนิคนี้ใช้น้ำเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของการให้น้ำเต็มพื้นที่ทรงพุ่มโดยไม่มีผลต่อปริมาณผลผลิต  และยังทำให้คุณภาพผลผลิตองุ่นดีขึ้นด้วย  มีรายงานผลจากการทดลองในออสเตรเลียว่า  เมื่อเปลี่ยนวิธีให้น้ำจากการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแถวของต้นองุ่นเป็นวิธีให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด  ทำให้ประหยัดน้ำได้ถึงครึ่งหนึ่ง  และเมื่อใช้เทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  ในระบบน้ำหยด  ก็สามารถประหยัดได้อีกครึ่งหนึ่ง  คือใช้น้ำเพียง 1 ใน 4 ของการให้น้ำแบบดั้งเดิม  โดยทำให้ผลผลิตลดลงไม่เกิน 5 % แต่ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น

    หลักการของเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น” คือการให้น้ำทีละครึ่งหนึ่งของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม  ด้วยความถี่ของการให้น้ำตามปรกติ  เช่น  3-5  วัน/ครั้ง และปล่อยให้อีกครึ่งของ

    DSCF7221พื้นที่แห้ง    เมื่อดินในครึ่งที่แห้งใกล้แห้งสนิท ก็สลับข้างให้น้ำ  ซึ่งโดยปรกติสลับข้างให้น้ำเช่นนี้ทุกระยะ 12-15 วัน   เมื่อมีรากส่วนหนึ่งอยู่ในดินแห้งพืชจึงเหมือนถูกหลอกว่ากำลังอยู่ในภาวะแห้งแล้ง  พืชจึงต้องลดการคายน้ำ  ทำให้น้ำที่พืชได้รับเพียงประมาณครึ่งหนึ่งจากพื้นที่ด้านเปียกเพียงพอให้พืชเติบโตและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับที่ได้รับน้ำตามความต้องการปรกติ  จุดอ่อนของเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  คือในระยะที่ครึ่งหนึ่งของระบบรากอยู่ในดินแห้ง  รากจะดูดกินปุ๋ยได้ยาก  เพื่อแก้จุดอ่อนนี้จึงต้องให้ปุ๋ยผ่านระบบสปริงเกอร์หรือระบบน้ำหยด  ที่เป็นวิธีให้ปุ๋ยทีละน้อยแต่ให้บ่อยและกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วบริเวณที่ได้รับน้ำ  การให้ปุ๋ยแบบนี้ทำให้ปุ๋ยแพร่กระจายสัมผัสระบบรากมากที่สุด  ปุ๋ยเคมีมาตรฐานสำหรับการให้ผ่านระบบให้น้ำมีราคาแพงกว่าปุ๋ยทางดินทั่วไป  2-3  เท่า  
    จากการทดลองในสวนเกษตรกร 2 สวน  ที่เป็นดินร่วนและดินทรายที่จังหวัดลำพูนเป็นเวลา 3 ปี  พบว่าต้นลำไยที่ได้รับน้ำตามเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  ซึ่งใช้น้ำเพียง  67 %  มีปริมาณผลผลิตของใกล้เคียงกับต้นลำไยที่ได้รับน้ำ 100 % ของการให้น้ำตามวิธีมาตรฐาน  โดยที่คุณภาพผลผลิต  ได้แก่  ขนาดผล  ความหนาเนื้อ  ความหนาเปลือก  และความหวาน  ไม่แตกต่างกัน  วิธีการให้น้ำโดยเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  นี้  นอกจากทดลองได้ผลดีกับลำไยแล้ว  นักวิจัยของเยอรมันยังได้ทดลองที่เชียงใหม่  พบว่าใช้ได้ผลดีกับมะม่วงด้วย  DSCF7231

    ใบลำไยที่ถูกตัดแต่งกิ่ง   มีธาตุอาหารไนโตรเจน  ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอยู่  9-30 %  ของความต้องการธาตุอาหารของต้นลำไย  เมื่อถูกทิ้งให้คลุมดินอยู่ใต้ทรงพุ่ม  ใบลำไยจะสลายตัวได้เร็วช้าต่างกันตามวิธีการให้น้ำ  การให้น้ำด้วย   สปริงเกลอร์ทำให้ใบเหล่านี้สลายตัวได้มากถึง  68 % ในเวลา 1 ปีต้นลำไยจะดูดธาตุอาหารได้ระหว่าง  54-94 %  ซึ่งมากกว่าการให้น้ำแบบปล่อยน้ำขังในคันดินรอบพื้นที่ทรงพุ่ม   ทั้งนี้น่าจะเนื่องจากความถี่ของการให้น้ำและการเปียกของใบเหล่านี้จากวิธีการให้น้ำที่ต่างกัน
    เมื่อประเมินความคุ้มค่าจากเทคนิค “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  ในพื้นที่ดอนในภาคเหนือทั่วไป  พบว่าการประหยัดน้ำ  33 %  นั้น  ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำได้  2.12 %  ของมูลค่าผลผลิต  แต่ถ้าเป็นสวนผลไม้ในภาคตะวันออก  ในปีที่เกิดภาวะฝนแล้งในเดือนมีนาคม - เมษายน    การให้น้ำวิธีนี้จะประหยัดน้ำได้  33 %  โดยเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  สามารถลดต้นทุนการผลิตลำไยได้ถึง  11.66 %  ของมูลค่าผลผลิต 
    จากผลการวิจัยดังกล่าว รองศาสตราจารย์สมชาย องค์ประเสริฐและคณะได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกร ไว้ดังนี้DSCF7223
    1. ในกรณีที่มีระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์อยู่แล้ว  ควรให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำโดยใช้ปุ๋ยเคมีที่ให้ทางดินธรรมดา  คือใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน  และปุ๋ย

    โพแทสเซียมคลอไรด์หรือโพแทสเซียมซัลเฟตทางระบบให้น้ำควบคู่กับการให้ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตทางดิน  แทนปุ๋ยเคมีมาตรฐานของการให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำ  ซึ่งแพงกว่า  2-3  เท่า  โดยให้ในอัตรา  1.5  เท่าของความต้องการธาตุอาหารรายปี
    2. การให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์  ช่วยให้ปุ๋ยกระจายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่โคนต้นจนถึงขอบทรงพุ่ม  มีผลให้ระบบรากพัฒนาอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่โคนต้นจนถึงขอบทรงพุ่มเช่นกัน  เมื่อมีระบบการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์  เกษตรกรจึงควรพิจารณาหาความรู้เพิ่มเติมและจัดการให้ปุ๋ยผ่านระบบให้น้ำ
    3.   ในสวนที่มีน้ำต้นทุนจำกัด  เจ้าของสวนผลไม้จำเป็นต้องบริหารจัดการการใช้น้ำที่มีในสวนในฤดูแล้งให้เพียงพอใช้ตลอดระยะ  4-5  เดือน  การประหยัดน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งด้วยเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  จะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำในช่วงปลายฤดูแล้งได้
    DSCF72324.     การปลูกต้นลำไยจากกิ่งตอนอาจจะมีข้อดีที่กิ่งพันธุ์ราคาถูก  แต่งานศึกษาระบบรากในครั้งนี้แสดงให้เห็นชัดว่าต้นลำไยจากกิ่งพันธุ์เสียบยอดมีระบบรากที่หนาแน่นกว่าและลงลึกกว่าต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนมาก  เพื่อประโยชน์ในระยะยาว  เกษตรกรจึงควรพิจารณาปลูกต้นลำไยจากกิ่งเสียบยอด
    5. ใบที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งมีคุณค่าที่เกษตรกรควรจะจัดการให้เป็นประโยชน์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง  แทนการเผาทิ้งตามความเคยชิน  การจัดการอย่างง่ายที่สุดคือการปล่อยทิ้งไว้คลุมพื้นที่ใต้ต้นลำไย

    เกษตรกรหรือท่านผู้อ่านท่านใด ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
    รองศาสตราจารย์สมชาย องค์ประเสริฐ โทรศัพท์  053-873470 ต่อ108   ในวันและเวลาราชการ

    นำเสนอข่าวโดย
    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    thainews

    scan 12-3-53

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes