แม่โจ้โพลล์สำรวจเกษตรกรผู้ปลูกส้ม

    som01-1แม่โจ้โพลล์สำรวจเกษตรกรผู้ปลูกส้ม

    ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
    โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย
    การป้องกันกำจัด
    ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
    เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
    เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
    เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
    การป้องกันกำจัด
    1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
    2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
    เพลี้ยแป้ง
    เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลาย
    ช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอก
    และช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้ง
    ถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียว
    หวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
     
    การป้องกันกำจัด
    ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น
     
     
    ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์   นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ     ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9  ในวันและเวลาราชการ
    "เกษตรกรร้อยละ 70.2 บอกผลผลิตส้มลดลงส่งผลให้ราคาส้มแพงและประสพปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช วอนรัฐช่วยเหลือ"
     
    som2“ส้ม” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งทางภาคเหนือ    ซึ่งมีการปลูกกันมากในพื้นที่ อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ และอำเภอแม่อาย ของจังหวัดเชียงใหม่  โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ สายน้ำผึ้งและสีทอง  ซึ่งผลผลิตส้มจะออกสู่ตลาด ในช่วงเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี                                                                                        โดยใน 2 – 3 ปีที่ผ่านมาจพบว่าผลผลิตส้มนั้น    ออกสู่ตลาดลดน้อยลงและมีราคาเพิ่มสูงขึ้น  ดังนั้นศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร  โดยแม่โจ้โพลล์    จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกส้มในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีพื้นปลูกส้ม  ตั้งแต่ 25 ไร่ขึ้นไป  ต่อความคิดเห็นเรื่อง “ส้ม”  แนวโน้มราคาพืชเศรษฐกิจเมืองเหนือ  ระหว่างวันที่  15 – 25 ธันวาคม  2554   จำนวน  84 ราย   สรุปผลได้ดังนี้ 

    จากการสอบถามปริมาณผลผลิตส้มของเกษตรกรเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาพบว่า ร้อยละ 70.2  บอกว่าปริมาณส้มลดลง  ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชทำให้ต้นส้มเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลงรวมทั้งจำนวนพื้นที่การปลูกส้มลดลงเพราะเกษตรกรหันไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน  เมื่อสอบถามเกี่ยวกับปัญหาในการผลิตส้มนั้นพบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ปัญหาด้านโรคแมลง ศัตรูพืช โดยโรคที่พบส่วนใหญ่ คือ โรคกรีนนิ่ง โดยโรคนี้จะทำให้ผลส้มมีขนาดเล็ก เมล็ดลีบ และร่วงก่อนกำหนด  โรคต่อมาคือ โรครากเน่าโคนเน่า โรคนี้จะทำให้ใบเหลืองซีดร่วงหล่น กิ่งเริ่มแห้งและต้นตายในที่สุด ซึ่งจากการสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกส้มยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาโรคดังกล่าวได้   อันดับที่ 2 ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง เนื่องมาจากเป็นพืชที่จะต้องดูแลและบำรุงเป็นอย่างดี   อับดับที่ 3 สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้การผสมเกสรของต้นส้มติดดอกน้อย   อันดับที่ 4 ปัญหาด้านการขาดความรู้ของเกษตรกรเรื่องเทคนิคการผลิตที่ถูกต้อง และอันดับที่ 5 ปัญหาการนำเข้าส้มจากต่างประเทศ

    เมื่อสอบถามถึงราคาส้มในปีนี้พบว่า ร้อยละ 66.7 เชื่อว่าส้มจะมีราคาสูงขึ้น โดยจากการสอบถามราคาที่เกษตรกรขายส่งจากสวนพบว่า มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 37 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงเมื่อส้มออกสู่ตลาดก็จะมีการปรับราคาขึ้นอีกประมาณ 7-10  บาท  โดยผู้บริโภคจะต้องซื้อส้มในราคากิโลกรัมละ            44-47 บาททีเดียว  จากการสอบถามเกษตรผู้ปลูกส้มพบว่า สาเหตุที่ทำให้ราคาส้มเพิ่มสูงขึ้นนั้น  นอกจากผลผลิตจะลดน้อยลงแล้วยังพบว่าพื้นที่ปลูกส้มนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด  เพราะการปลูกส้มนั้นจะต้องมีการดูแลให้เป็นอย่างดี  มีต้นทุนในการดูแลสูงอีกทั้งยังเจอกับปัญหาโรคแมลงที่ทำให้ต้นส้มและผลผลิตเสียหายซึ่งยังไม่มีวิธีแก้ไขได้อย่างชัดเจน   เกษตรกรรายย่อยนั้นจึงหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน  ในส่วนการเพิ่มผลผลิตส้มนั้น พบว่าเกษตรกรนิยมทำส้มนอกฤดูเป็นหลัก  เนื่องจากขายได้ราคาที่แพงกว่าในฤดู  
    ด้านการสอบถามการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือและส่งเสริม  ร้อยละ 48.5 เห็นว่า  ต้องการให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาด้านโรคแมลง ศัตรูพืชให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกส้ม  รองลงมาร้อยละ 24.2 som01ต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องราคาปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ร้อยละ 18.2 ให้ช่วยเหลือเรื่องการตลาดและราคาส้มและร้อยละ 9.1  ต้องการความรู้และเทคนิคด้านการผลิตส้มให้ได้คุณภาพผลิตที่ดีตรงตามความต้องการของตลาด
    ดังนั้น  จากการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกส้มที่มีพื้นที่ตั้งแต่  25 ไร่ขึ้นไปนั้น  ได้สะท้อนความคิดต่อประเด็นปัญหาที่ประสพมากที่สุดก็คือ  ด้านโรคแมลง  ศัตรูพืช  ทำให้ต้องใช้สารเคมีส่งผลให้ต้นทุนสูง  แล้วยังส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยต้องเลิกปลูกส้มไป  เพราะเผชิญกับปัญหาเรื่องต้นทุนประกอบกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ผลผลิตเสียหาย  ซึ่งเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยแต่ผู้บริโภคยังมีความต้องการมากย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคต้องซื้อส้มมาบริโภคในราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วยและจากปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่มีหน่วยงานใดที่เข้ามาศึกษาและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรได้อย่างแท้จริง
    เครือข่ายประชาสัมพันธ์คณะเศรษฐศาสตร์ นายจีระศักดิ์  วงษาปัน
     
     

    รายงานโดย

    อาจารย์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  และสมศักดิ์ ศิริ นักวิชาการเกษตร งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

     

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes