โคขุนคุณภาพสูงมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    02-1-2โคขุนคุณภาพสูง  สร้างรายได้แก่เกษตรผู้เลี้ยง  ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,378

    02-6ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจโดยรวมของโลกตกต่ำ  รวมทั้งของประเทศไทยด้วยนั้น  การตลาดโคเนื้อมีชีวิตของประเทศไทยเราก็ตกต่ำมาโดยตลอด  ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคไม่สามารถยึดถือเป็นอาชีพต่อไปได้  เพราะราคาโคมีชีวิตตกต่ำมากไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน  ประกอบกับการเลี้ยงโคแล้วไม่มีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน จึงมักถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาอยู่เป็นประจำ จนทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องเลิกอาชีพการเลี้ยงโคไปในที่สุด  โดยการขายแม่พันธุ์โคที่มีอยู่ออกสู่ตลาดทั้งที่ราคาถูกและขาดทุน  ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีใจรักในอาชีพนี้และมีศักยภาพที่จะเลี้ยงต่อไปได้ ทำให้สถานการณ์ในอาชีพการเลี้ยงโค          ไม่แน่นอนตลอดมา ซึ่งจะมีราคาขึ้นลงเป็นช่วง ๆ 3-5 ปีต่อรอบ  เมื่อราคาโคมีชีวิตตกต่ำก็จะถูกขายส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย พม่า และจีน ไปเป็นจำนวนมาก เพราะเกษตรกรเขาขายโคออกจากฟาร์มในราคาต่ำ  พอปริมาณโคมีชีวิตในประเทศเหลือน้อยประกอบกับการใช้บริโภคภายในประเทศจำนวนหนึ่ง ราคาซื้อขายโคมีชีวิตก็จะกลับฟื้นตัวมาอีกเป็น 2-3 เท่าตัว เกษตรกร  ส่วนใหญ่มองเห็นดังนั้นก็รีบหาแหล่งทุนมาลงทุนซื้อโคกลับมาเลี้ยงในราคาที่แพง ทำให้ลงทุนสูงมากเกินความเป็นจริงอีกครั้ง อีกไม่นานพอราคาตกต่ำก็กลับเทขายโคออกจากฟาร์มอีก เป็นสภาพเช่นนี้มาโดยตลอด ทำให้ไม่มีความยั่งยืนในอาชีพการเลี้ยงโคและประสบภาวการณ์ขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่า

    นายบุญธรรม  บุญเลา  ฝ่ายพัฒนาเกษตรที่สูง  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้ความเห็นว่า  ใน02-7เขตภาคเหนือตอนบนซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว การผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพสูง สำหรับป้อนตลาดผู้บริโภคชั้นสูง หรือตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต ยังไม่มีองค์กรใดนำร่องในการผลิตเนื้อโคขุนที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับเนื้อโคขุนนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ และฝรั่งเศส แต่ในขณะเดียวกันในเชิงวิชาการนั้น กรมปศุสัตว์ ได้นำเข้าพันธุ์โคเนื้อที่มีประสิทธิภาพมาศึกษาวิจัย เพื่อหาสายพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทยเราอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น โคพันธุ์เฮียร์ฟอร์ต ชาโรเล่ส์ แบรงกัส เดร้าห์มาสเตอร์ ซิมเมนทอล ชาหิวาล อเมริกันบราห์มัน และแองกัส จากการศึกษาวิจัยของกรมปศุสัตว์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีข้อสรุปไปในทิศทางเดียวกันว่า โคพันธุ์เนื้อที่นำข้ามาสามารถผสมข้ามกับสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น โคพันธุ์ไทยใหญ่ โคลูกผสมบราห์มันพื้นเมือง และโคพันธุ์อมริกันบราห์มัน เพื่อผลิตเป็นลูกผสมแล้วสามารถเลี้ยงและปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศในประเทศไทยได้ดีที่สุด คือ พันธุ์ชาโรเล่ส์ จนกำเนิดโคลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ เช่น โคพันธุ์ชาเบย์ และโคพันธุ์ตาก โดยกรมปศุสัตว์และโคพันธุ์กำแพงแสนโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งโคลูกผสมทั้งสามสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถนำมาเลี้ยงขุนตามระบบที่ถูกหลักวิชาการแล้วทำให้คุณภาพเนื้อใกล้เคียงกับเนื้อที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงมาก (ประมาณกิโลกรัมละ  800-1,500  บาท)

    02-8 ถ้าหากเกษตรกรได้เข้ารับการฝึกอบรมตามกระบวนการผลิตโคขุนทุกขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว และมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลูกโคขุน (กลุ่มต้นน้ำ) กลุ่มขุนโครุ่น (กลุ่มกลางน้ำ) และกลุ่มโคขุนระยะสุดท้าย (กลุ่มปลายน้ำ) แล้วส่งโรงแปรรูปเนื้อที่มีแหล่งตลาดรับซื้อแน่นอน เกษตรกร       ผู้เลี้ยงโคขุนทุกกลุ่มจะมีรายได้ที่ดี ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง การซื้อขายโคขุนทุกระยะในระบบสหกรณ์จะถูกกำหนดราคาซื้อโดยสหกรณ์เป็นราคาต่อกิโลกรัม ไม่ใช่ตีราคาเหมาทั้งตัว ซึ่งจะได้รับความเป็นธรรมกันทุกฝ่ายและเกษตรกรทุกกลุ่มสามารถยึดถือเป็นอาชีพได้ เพราะมีความมั่นคง  ดังนั้น    การรวมกลุ่มเกษตรกรที่สนใจในอาชีพการเลี้ยงโคขุนในเขตภาคเหนือตอนบนโดยการประสานงาน เพื่อจัดตั้งเป็นสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร โดยคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีการประสานงานความร่วมมือกับสหกรณ์ กรป.กลาง โพนยางดำ และสหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน) ซึ่ง ทั้ง 2 สหกรณ์มีประสบการณ์ด้านการขุนโค และการตลาดเนื้อโคขุนคุณภาพมามากกว่า 20 ปี  ดังนั้น เกษตรกรที่เลี้ยงแม่โคลูกผสมพื้นเมืองบราห์มัน ประมาณ 50 : 50 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ก็ใช้น้ำเชื้อพ่อโคเนื้อพันธุ์ชาโรเล่ส์ เลือดร้อยผสมเข้าไปจะได้ลูกโค 3 สายเลือด ที่มีเลือดโคพื้นเมือง 25% โคอเมริกันบราห์มัน 25% และโคพันธุ์ชาโรเล่ส์ 50% โดยนำเพศผู้มาขุนตามระบบแล้วสามารถปรับตัวและมีการเจริญเติบโตดีให้เนื้อที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค จนยึดถือเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ของเกษตรกรได้

    เกษตรกรท่านใดที่สนใจเลี้ยงโตต้องการคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  นายบุญธรรม  บุญเลา  นักวิชาการเกษตรชำนาญการ 8 ระดับ 8 ฝ่ายพัฒนาเกษตรที่สูง  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้                  โทร.053-875108, 08-1961-7975

    นำเสนอข่าวโดย
    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    thainews

     

    new-12-2-53

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes