คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายน้ำจืด (25-03-53)

    ผู้ดำเนินรายการ นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

     

    วิทยากร ผศ.ดร.จงกล พรมยะ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่

     

    คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายน้ำจืด

    ปัจจุบันสาหร่ายสไปรูลินาได้รับความสนใจมากในแง่ของการใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมหรือผสมในอาหารสำเร็จรูปเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  เช่น  ปลานิลแดง  ปลาแฟนซีคร๊าฟ         ปลากะพงขาว  กุ้งกุลาดำ  กุ้งก้ามกราม  เป็นต้น  เนื่องจากมีความโดดเด่นในเรื่องของโปรตีนที่มีอยู่ปริมาณสูงถึง  50-70%  ของน้ำหนังเซลล์แห้ง  สารอาหารที่มีอยู่มากมายในสาหร่าย มีสารคลอโรฟิวส์ในปริมาณสูง และสารอื่นๆได้แก่สารสีน้ำเงินไพโดไซยานิน  กรดไขมันแกมม่าไลโนนิค  แคโรทีนอยด์  โปรตีน  กรดอะมิโน  และสารอาหารโมเลกุลเดียวอื่น ๆ  อีกมากมาย   และกรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัวนอกจากจะใช้ประโยชน์ในสัตว์น้ำแล้ว  ยังมีการนำมาสาหร่ายสไปรูลินามาใช้เป็นอาหารเสริมในคน  ซึ่งทางวงการแพทย์ก็มีการรับรองว่าเป็นสารอาหารธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ  มีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่ายกาย  เสริมภูมิต้านทาน  ขับสารพิษที่ตกค้างออกจากร่างกาย  ต่อต้านอนุมูลอิสระ  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง  ช่วยในการย่อยและเจริญอาหาร  บรรเทาโรคหอบหืด  โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากภูมิแพ้ของร่างกาย  เป็นต้น

     

    งานวิจัย การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเป็นอาหารเสริมของคน

    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. จงกล  พรมยะ  คณบดีคณะเทคโนโลยีการประมง และทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    ปัจจุบันสาหร่ายสไปรูลินาได้รับความสนใจมากในแง่ของการใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมหรือผสมในอาหารสำเร็จรูปเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นอกจากจะใช้ประโยชน์ในสัตว์น้ำแล้ว  ยังมีการนำมาสาหร่ายสไปรูลินามาใช้เป็นอาหารเสริมในคน

    ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่ามีขั้นตอนดังนี้

    1. การเตรียมหัวเชื้อสาหร่ายในตู้กระจก ใช้อาหารเพาะเลี้ยงสูตรอาหาร Zarrouk’s medium ปรับปรุง (จงกล, 2552) ให้เครื่องปั๊มอากาศ  ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำและป้องกันไม่ให้สาหร่ายตกตะกอน  ความเข้มแสงประมาณ  5,000–10,000  ลักซ์ วัดการเจริญโดยวัดค่า  optical density (OD)  ที่ความยาวคลื่นแสง  560 nm (นาโนเมตร)  เมื่อค่า OD = 1 หรือสาหร่ายที่มีสีเขียวน้ำเงินเข้ม ใช้เป็นหัวเชื้อสาหร่ายต่อไป

    2. เตรียมน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสาหร่าย ระดับน้ำสูง 13-15 เซนติเมตร เป็นบ่อเพาะเลี้ยงกลางแจ้ง แบบ raceway pond เติมสารอาหารในบ่อเพาะเลี้ยง สูตรอาหารเหมือนข้อ ก

    3. เติมเชื้อสาหร่ายตั้งต้นในข้อ ก. ให้ค่า OD เริ่มต้นตั้งแต่  0.30 ขึ้นไป  ตรวจวัดการเจริญทุกวัน  ช่วง 10.00–11.00 น. โดยการวัดค่า OD  ถ้า OD ประมาณ  0.8–1 เก็บผลผลิต 80% โดยการดูดน้ำจากบ่อเลี้ยง แล้วกรองด้วยผ้าไนลอน ขนาดตา  120 ไมครอน นำไปล้างน้ำสะอาด แล้วกรองอีกครั้ง รอให้หมาดน้ำ นำไปตากแดด หรืออบในเครือง Tray dryer  จะมีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ สาหร่ายที่ผ่านการอบนำไปผ่านเครื่องบด (ภาพที่ 6) ให้เป็นผงก็สามารถใช้ประโยชน์ได้  ไม่ว่าจะเป็นการอัดแคปซูลไว้รับประทาน  หรือทานเป็นผง

     

    เกษตรกรที่สนใจต้องการมาศึกษาอบรมและทดลองเลี้ยง สามารถเข้ามาได้ที่คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes