[notice class="notice"]การผลิตลำไยในฤดูและนอกฤดู[/notice]
ลำไยเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน เนื่องจากลำไยสามารถชักนำการออกดอกได้ง่าย มีสารเคมีหลายชนิดที่สามารถกระตุ้นให้ลำไยออกดอกได้ ลำไยเป็นไม้ผลที่ไม่จำเป็นต้องห่อผล เพียงแต่ต้องมีการตัดช่อผลบ้างเมื่อลำไยติดผลต่อช่อมาก ลำไยนอกจากจำหน่ายในรูปผลสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นลำไยกระป๋อง ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกและเฉพาะเนื้อสีทอง ในปี 2558 ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรกรผู้ปลูกลำไยและผู้ประกอบการจะต้องผลิตลำไยให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ เกษตรกรจะต้องผลิตลำไยให้ได้คุณภาพ คือผลโตสม่ำเสมอ สีสวย ต้นทุนการผลิตต่ำ และไม่มีสารเคมีตกค้าง เพราะฉะนั้นจำเป็นจะต้องใช้ทั้งองค์ความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิต จึงจะสามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรีต่อไป
การปฏิบัติดูแลรักษาลำไยในรอบปีทั้งในฤดูและนอกฤดูที่ผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นมา ก็เพื่อที่จะนำเอาเนื้อหาทั้งหนังสือการผลิตลำไย ประสบการณ์ และผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตลำไย นำมาสรุปให้ได้เนื้อหาสาระกระชับและง่ายต่อการนำไปเป็นแนวทางการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านได้อ่านแล้วจะเข้าใจและนำไปปฏิบัติลำไยให้ได้คุณภาพ และประสบความสำเร็จในการผลิตลำไย จนสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว พัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไป
การปฏิบัติดูแลลำไยในฤดู
สิงหาคม
ตัดแต่งกิ่ง เอากิ่งไปทำฟืน เผาถ่าน เอาใบคลุมในทรงพุ่ม (ให้เสร็จไม่เกิน 30 วัน)
กันยายน
แตกใบอ่อนครั้งที่ 1 เอาปุ๋ยคอกหว่านบนใบใต้ทรงพุ่ม ตามด้วยปุ๋ยเคมีตามตาราง 5.1 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยแต่ละครั้งของการแตกใบอ่อน(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ)หรือสูตรปุ๋ยตัวหน้าสูงเช่น 46 - 0 - 0 หรือ 25 –7–7 (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง)ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ตุลาคม
แตกใบอ่อนครั้งที่ 2 ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46 - 0 - 0 หรือ 25 –7–7 (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง) ให้น้ำตาม ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
พฤศจิกายน
แตกใบอ่อนครั้งที่ 3 ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46 - 0 - 0 หรือ 25 –7–7 (อัตราตามปริมาณปุ๋ยด้านหลัง) ให้น้ำตาม ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ แมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
ธันวาคม
ชักนำการออกดอก กระตุ้นการออกดอกโดยใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออกดอกของลำไย การแตกใบอ่อน 3 ครั้งดีกว่าการแตกใบอ่อน 2 ครั้ง อายุของใบ ฤดูหนาวอายุใบ 45 วัน ใบต้องแก่เต็มที่ สีเขียวเข้ม ฤดูฝนตั้งแต่อายุใบ 25 วันใบโตเต็มที่ มีสีเขียวอ่อน วิธีการให้สาร ทำความสะอาดภายใต้ทรงพุ่ม ให้ทางดินโดยผสมน้ำราดจากปลายทรงพุ่มเข้ามา 1 เมตร รอบทรงพุ่ม(ให้สารในตอนเช้า) ) หลังจากให้สาร 7 - 10 วัน ให้ฉีดพ่นทางใบ สาร 3 ขีด ผสมกับปุ๋ยสูตร 0 – 52 – 34 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร (ให้ฉีดพ่นตอนเย็น) แสง วันที่ให้สารควรมีแสงแดดจัด ความบริสุทธิ์ของสาร 99.7เปอร์เซ็นต์(วิเคราะสารที่แม่โจ้ 100 บาท) อัตราการให้สาร(ตามตารางแนบท้าย)
มกราคม
ออกดอก ดูแลน้ำให้สม่ำเสมอ ไม่ต้องมาก ดูแลโรคและแมลง ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากแทงช่อดอก (ดอกยังไม่บาน)
กุมภาพันธ์ ติดผล ขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟให้ปุ๋ยเคมีตามการคาดคะเนปริมาณผลผลิต ตามตารางที่5.2 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ) หรือให้ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงเช่น 46 – 0 – 0 หรือ 25 – 7 – 7 แบ่งใส่เดือนละครั้ง (2 ครั้ง)ให้น้ำตามทุกครั้งและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา คาร์เบนดาซิม
มีนาคม
สร้างเมล็ดและเปลือก ตัดช่อผล โดยตัดปลายช่อผลเหลือไว้ไม่เกิน 60 ผลต่อช่อ ระยะขนาดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอเช่น 15 – 15 – 15 หรือ 16 – 16 – 16 แบ่งใส่เดือนละครั้ง แล้วให้น้ำตามทุกครั้งและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง ให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา
เมษายน
เมล็ดเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ระยะสร้างเนื้อ ให้ปุ๋ยเคมีตามการคาดคะเนปริมาณผลผลิต ตามตารางที่5.2 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ) หรือให้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูง เช่น 13 - 13 – 21 หรือ 8 – 24 – 24 ให้น้ำตามและให้น้ำสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง
พฤษภาคม มิถุนายน
สร้างเนื้อและขยายผลเร็วให้ปุ๋ยเคมีตามการคาดคะเนปริมาณผลผลิต ตามตารางที่5.2 แสดงปริมาณปุ๋ยที่ควรให้แก่ลำไยในระยะติดผลถึงเก็บเกี่ยว(ในคู่มือการผลิตลำไยคุณภาพ) หรือให้ปุ๋ยสูตรตัวท้ายสูงเช่น 13 – 13 – 21 หรือ 8 – 24 – 24 ให้น้ำสม่ำเสมอ ดูแลโรคและแมลง เช่น เพลี้ยหอยหลังเต่า มวลลำไย ผีเสื้อมวนหวาน โรคผลลาย ผลแตก ผลร่วงให้ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วน ต่อน้ำ 150 ส่วน(น้ำส้มควันไม้ 150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือ ฉีดพ่นสารเคมีคลอไพรีฟอส50% + ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารเคมีป้องกันเชื้อรา ทีบูโคนาโซล 25%EW
กรกฎาคม
เก็บเกี่ยวผลผลิต
- ก่อนหน้า
- ต่อไป >>