การปลิดผลและการห่อผลมะม่วง

    02-1-4การปลิดผลและการห่อผลมะม่วง  ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,392

    5 มะม่วงจัดได้ว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้นๆของประเทศไทย  เดิมปลูกเพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่  แต่ปัจจุบันการปลูกมะม่วงของเกษตรกรไทยมุ่งส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ  เช่น  ญี่ปุ่น  มาเลเซีย  สิงคโปร์  เวียดนาม  เกาหลีใต้  นิวซีแลนด์  แอฟริกา  รัสเซีย  จีน  สหภาพยุโรป  ภายใต้ระบบการผลิตตามมาตรฐานการส่งออก  พันธุ์มะม่วงที่สามารถส่งออกได้  เช่น  น้ำดอกไม้เบอร์ 4  น้ำดอกไม้สีทอง  หนังกลางวัน  มหาชนก  และแรด  ส่วนปริมาณการส่งออกของมะม่วงแต่ละพันธุ์ขึ้นอยู่กับความต้องการของประเทศนั้น ๆ  พื้นที่ปลูกมะม่วงในประเทศไทยประมาณ  2  ล้านไร่  มีบริษัทส่งออกถึง  ประมาณ  30  บริษัท  ถึงแม้จะมีพื้นที่ปลูกและปริมาณมาก  แต่มะม่วงที่มีคุณภาพดี  ตรงตามมาตรฐานมีจำนวนน้อย  ไม่เพียงพอต่อการส่งออก  เฉพาะประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียวต้องการมะม่วงถึง  1  หมื่นตัน  แต่ไทยสามารถส่งได้เพียง  1,500  ตันเท่านั้น

    อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง  จำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพตรงตามมาตรฐานที่แต่ละกลุ่มกำหนดไว้  และจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรวมกลุ่มกันผลิตมะม่วงเพื่อที่จะบริหารจัดการด้านการผลิต  การควบคุมคุณภาพและปริมาณผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยของผู้บริโภคและผู้ผลิต  เช่น  สารเคมีตกค้างและสารเคมีที่ห้ามใช้ในกระบวนการผลิต  จึงจะประสบความสำเร็จในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกอย่างมืออาชีพ  สามารถยกระดับความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของครอบครัวให้มั่นคง  สามารถแข่งขันกับการตลาดภายใต้การค้าเสรีอย่างยั่งยืน  และทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยพัฒนาเจริญก้าวหน้าต่อไปได้

    การปลิดผล9

    ให้ปลิดผลออกก่อนการห่อผล จำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อผลมีขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ (ประมาณ 20 วันหลังติดผล) โดยเลือกปลิดผลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ออก ได้แก่ ผลกระเทย ผลไม่ได้รูปทรง ผลบิดเบี้ยว และผลที่เบียดกัน อย่างไรก็ตามผลเหล่านี้สามารถขายได้ 13 บาทต่อ กก. นับเป็นผลขนาดเล็กสุดที่ปลิดออกในช่วงพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม ครั้งที่ 2 ประมาณ 30 วันหลังติดผล ได้แก่ ผลกระเทย ผลบิดเบี้ยว ผลผิดรูปทรง ผลสีเขียวคล้ำ (ผลที่สมบูรณ์จะมีสีเขียวอ่อน) ผลขนาดลูกปิงปองขึ้นไป (เรียกลูกใหญ่) ขายได้ 3 บาทต่อ กก. ครั้งที่ 3 ซอยผลให้ห่าง กรณีช่อที่มีผลอยู่ห่างกัน เหลือไว้ไม่เกิน 2 ผลต่อช่อ (ผลลาย ผิวมีรอยขีด ผลต่อช่อมากเกินไป) ผลใหญ่ขายได้ 3 บาทต่อ กก. (มะม่วงยำ)

    การปลิดผล ให้ระวังเรื่องยางเปื้อนผลที่ไม่ตัดออก ด้วยการพยายามปลิดผลในช่วงบ่าย ซึ่งจะมียางน้อยกว่าช่วงเช้า และใช้กระดาษชำระซับน้ำยางไว้ กรณีฝากท้อง ไว้ผลรอบสุดท้าย ไม่เกิน 5 ผลต่อช่อ (ปลิดผลกระเทย บิดเบี้ยว ผลที่ติดกันออก) การไว้ผลต่อช่อ จะอิงตลาดปลายทางเป็นเกณฑ์ หากส่งผลสด ต้องการผลขนาดเล็ก (280-450 กรัมต่อผล) จะไว้ผลต่อช่อมากกว่าส่งเพื่อทำมะม่วงแช่แข็ง ที่ต้องการผลขนาดใหญ่ (330 กรัมต่อผล ขึ้นไป)

    6

    การห่อผล

    วัสดุห่อผล ทั้งน้ำดอกไม้เบอร์ 4 และน้ำดอกไม้สีทอง ใช้ถุงกระดาษคาร์บอน 2 ชั้น ข้อดีคือ สีผิวผลมะม่วงจะขึ้นสีเหลืองดี แม้ห่อเมื่อผลแก่ คุณสมบัติของถุงห่อผล ควรเลือกถุงกระดาษสีน้ำตาลด้านนอก เหนียวไม่ยุ่ยเมื่อถูกน้ำ หนา มัน นุ่มไม่กระด้าง กระดาษคาร์บอนด้านในหนา ถุงมีลวดโผล่ และลวดแข็ง เมื่อพับลวดพันก้านผลแล้วไม่คลายตัวออก ลวดที่โผล่ออกมาควรจะอยู่ด้านซ้ายของถุง จะสะดวกกว่าอยู่ด้านขวา และลวดที่โผล่ออกมายาวจะดีกว่าลวดไม่โผล่หรือโผล่ออกมาสั้น แนะนำ ถุงชุนฟง (ถ้าเก็บรักษาดีใช้ได้ถึง 5 ครั้ง) ราคา 1.30 บาทต่อถุง

    ระยะการห่อในมะม่วงแต่ละพันธุ์ เริ่มห่อผลตั้งแต่ระยะขนาดไข่ไก่ คือ มีความยาวผลประมาณ 13-15 เซนติเมตร (ผลกว้าง 3 เซนติเมตร) โดยตัดแต่งช่อผลก่อนห่อ อธิบายว่าถ้าห่อผลในระยะที่เล็กกว่านี้ การร่วงของผลยังเกิดขึ้นมาก เนื่องจากพื้นที่โดยทั่วไปมีสภาพแห้งแล้งและร้อนจัด

    วิธีการห่อ ต้องพ่นสารเคมีก่อนห่อ เทคนิคการห่อผล มีให้เลือก 2 วิธี ดังนี้8

    1. จีบรูดปากถุงไว้ตรงกลาง ข้อดีคือ มัดได้แน่น กันเพลี้ยแป้งเข้าไปในถุงได้ดีกว่าแบบพับ จุดอ่อนคือ เก็บถุงไว้ใช้ต่อไม่ค่อยดี เพราะถุงจะยับมาก
    2. พับขอบถุงทั้งสองด้านมาประกบกันที่ตรงกลาง ข้อดีคือ ถุงไม่ยับ เก็บไว้ใช้ครั้งต่อไปได้ดี ห่อได้เร็ว จุดอ่อนคือ ลวดมัดไม่แน่น

    ประโยชน์ที่ได้รับ ป้องกันลมพัดผลไปกระแทกกับกิ่ง ป้องกันโรคที่อยู่ในอากาศ ป้องกันแมลงที่อยู่ด้านนอกถุง ทำให้ผิวไม่ลาย เป็นสีเหลืองสม่ำเสมอ

    7

    การเก็บเกี่ยว

    หลังห่อผลพ่นสารเคมี 2 ครั้ง จากนั้นใช้การนับวันเป็นดัชนีการเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วันหลังดึงดอก เมื่อถึงกำหนดให้สุ่มเปิดดูเป็นระยะ ดูสีผิวผลเรียบเนียนมีนวล  (ขึ้นสี) อกเต็ม แก้มอูม สะดือเรียบ ปลายผลพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองมีสีเหลืองเข้มขึ้น แล้วสุ่มไปจมลอยในน้ำ ต้นละ 1 ผล ประมาณ 5 ต้น เมื่อผลจมดิ่ง ตะแคง นิ่ง ไม่กระดก เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ (ความแก่ของผล 80-90% สำหรับผลแช่แข็ง) ประมาณ 130-140 วันหลังดึงดอก และสามารถเก็บต่อเนื่องไปได้ถึง 15 วัน หากมีฝนตก สามารถยืดเวลาการเก็บออกไปได้อีก เนื่องจากอากาศเย็น หากอากาศร้อนจัดผลจะแก่เร็วขึ้น ระยะการเก็บเกี่ยวจะสั้นลง

    วิธีการเก็บ เตรียมอุปกรณ์ เช่น ตะกร้า บันได กรรไกร รถบรรทุก (ควรควบคุมความสูงของต้นให้ไม่เกิน 2.5 เมตร) เด็ดที่โคนช่อผล เนื่องจากเด็ดง่าย ยางไม่ไหลเปื้อนผล ถือง่าย แล้ววางลงตะกร้าทั้งถุงห่อ ขนไปโรงคัดบรรจุแล้วถอดถุง ตัดขั้วผลให้เหลือยาว 3-5 ซม. (เป็นระยะที่ยางไม่ไหล) พร้อมคัดแยกเกรดรอบที่ 1 (เรียกว่า “แยกหยาบ”) ได้ผลที่จำหน่ายได้กับผลตกเกรด (เน้นที่ขนาดผลตามที่บริษัทส่งออกกำหนด) รอบที่ 2 คัดแยกเกรดที่จะส่งชมรมฯ หากมีผลที่มีรอยเปื้อนเช็ดให้สะอาด จัดใส่ตะกร้าที่บุกระดาษหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ด้าน รองแต่ละชั้น บรรจุ 3 ชั้น3

    สารเคมีที่ห้ามใช้

    1.  Cypermethrin                                 ไซเปอร์เมทริน

    2.  Abamectin                                       อะบาเม็คติน

    3.  Dinotefuran                                    ไดโนทีฟูแรน

    4.  Carbosulfan                                    คาร์โบซัลแฟน

    5.  Chlorpyrifos                                   คลอไพรีฟอส

    6.  Propiconazole                 โพรพิโคนาโซล

    4

    สารเคมีที่ทางประเทศญี่ปุ่นกำลังเฝ้าระวัง

    1.  Tetraconazole                 เตตระโคนนาโซล

    2.  Pirimiphos-methyl                         พิริมิฟอสเมทธิล

    3.  Piracolestrobin                               ไพราโคลสโตรบิน

    4.  Lamda-Cyhalothrin                       แลมป์ด้าไซฮโลทริน

    5.  Thiamethoxam                               ไธอะมีโทแซม

     

     

    ขนาดของผลมะม่วงเพื่อส่งออกประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

    2S           225 – 249              กรัม

    S             250 – 279              กรัม

    M            280 – 329              กรัม

    L             330 – 379              กรัม

    2L           380 – 449              กรัม

    3L              450    กรัมขึ้นไป

     

    ที่มา 
    : ธวัชชัย รัตน์ชเลศ  ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    :
    ชมรมผู้ปลูกมะม่วง อำเภอเนินมะปราง     จังหวัดพิษณุโลก

     

    สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์  และนางจิรนันท์  เสนานาญ                        ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร    สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9

    นำเสนอข่าวโดย
    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    thainews

     

    scan 26-2-53

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes