การปฏิบัติดูแลลำไยหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

    l01-1ลำไยในฤดูผลิตผลออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี  ปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของเกษตรกรที่มีผลผลิตลำไยในสวนและคุณภาพดี...

    abc ลำไยในฤดูผลิตผลออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี  ปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของเกษตรกรที่มีผลผลิตลำไยในสวนและคุณภาพดี  ราคาลำไยรูดผลขายหรือคัดขนาดบรรจุตะกร้าราคาดีมาก  เป็นธรรมดาของสินค้าโดยทั่วไป  สินค้ามีน้อยความต้องการมีมาก  ราคาก็แพง  แต่ผลผลิตทางด้านการเกษตรจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการปฎิบัติ  ดูแล  เอาใจใส  อย่างถูกต้องและเหมาะสม  ถึงจะได้ผลผลิตดี  มีคุณภาพ  หลังจากเกษตรกรชาวสวนลำไยเก็บผลผลิตขายได้เงินแล้ว  ก็ควรที่จะแบ่งให้ต้นลำไยบ้าง  และควรจะเริ่มต้นในการบริหารจัดการส่วนลำไยของท่านได้แล้ว  ถ้าหากท่านเริ่มต้นเร็วและถูกต้องเหมาะสม  ลำไยของท่านก็จะให้ผลผลิตกับท่านอย่างเป็นกอบเป็นกำสิ่งแรกที่ต้องทำคือ  การตัดแต่งกิ่ง

    ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง

    1.  เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเร่งการแตกใบอ่อนมีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว และใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ในการสร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป

    2.  ควบคุมความสูงของทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มเตี้ยทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตและสะดวกต่อการดูแลรักษา เช่น การพ่นปุ๋ยทางใบหรือสารป้องกันการกำจัดศัตรูพืช ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องไม้ค้ำยันกิ่งทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

    3.  ลดการระบาดของโรคและแมลง ต้นลำไยที่มีทรงพุ่มทึบมักเป็นแหล่งอาศัยของแมลงนอกจากนี้ทรงพุ่มทึบจะมีความชื้นสูงและก่อให้เกิดโรค เช่น โรคราดำ โรคจุดสาหร่ายสนิมและ        ไลเคนส์ เป็นต้น การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดสามารถส่องทะลุเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง

    4. ต้นลำไยตอบสนองต่อสารคลอเรต ต้นลำไยที่มีอายุมากเมื่อให้สารโพแทสเซียม      คลอเรตมักจะออกดอกน้อยหรือออกดอกไม่สม่ำเสมอ การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยให้ต้นลำไยตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดีทำให้ออกดอกมากขึ้นและใช้ปริมาณสารคลอเรตลดลง

    5.  ผลผลิตมีคุณภาพดี ต้นลำไยที่มีทรงพุ่มทึบถ้าหากออกดอกติดผลดกส่งผลให้ลำไยมีผลขนาดเล็ก ผลผลิตคุณภาพต่ำ การตัดแต่งกิ่งออกบางส่วนจะช่วยลดพื้นที่ออกดอกติดผลลงบ้างทำให้ขนาดผลใหญ่ขึ้นและคุณภาพผลผลิตโดยรวมดีขึ้น

    อุปกรณ์การตัดแต่งกิ่ง

    l01
    1.กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
    ใช้สำหรับตัดกิ่งที่มีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 0.5 นิ้ว

    2.เลื่อยโค้ง ใช้ตัดกิ่งที่มีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งตั้งแต่ 0.5 – 4.0 นิ้ว

     

     

     

    รูปทรงของการตัดแต่งกิ่งลำไย

    จากการศึกษาทดลอง การศึกษาดูงานและจากประสบการณ์ในการทำสวนลำไยมีข้อแนะนำให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่ง 3 รูปทรง คือ

    1. ทรงเปิดกลางพุ่ม เกษตรกรมักเรียกว่าทรงเปิดกะโหลกเป็นรูปทรงที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติกันในหลายพื้นที่ โดยจะตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออก 2–5 กิ่ง เพื่อลดความสูงของต้น และให้แสงแดดส่องเข้าในทรงพุ่ม จากนั้นตัดกิ่งที่อยู่ด้านในทรงพุ่มที่ไม่ได้รับแสง และตัดกิ่งที่มีขนาดใหญ่ทางด้านข้างของทรงพุ่มออกบ้างเพื่อให้แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่ม ตัดกิ่งที่ถูกโรคและแมลงทำลาย ตัดกิ่งที่ไขว้กัน กิ่งซ้อนทับและกิ่งที่ชี้ลง

    l02 l03
    ภาพที่ 1.1   ก่อนตัดแต่งกิ่ง

    ภาพที่ 1.2   ตัดกิ่งกลางทรงพุ่มออก 2 – 5  กิ่ง


    2.
    ทรงสี่เหลี่ยม

    การตัดแต่งรูปทรงสี่เหลี่ยมเหมาะสำหรับต้นลำไยที่มีอายุน้อยและปลูกในระยะชิดซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

    1.)  กำหนดความสูงของทรงพุ่มไม่ให้เกิน 4  เมตร โดยทั่วไปอยู่ในช่วง 2 – 3  เมตร โดยนำไม้ไผ่ทำเครื่องหมายตามความสูงที่ต้องการแล้วนำไปทาบที่ต้นลำไยหากกิ่งลำไยมีความสูงเกินเครื่องหมายก็ตัดออกให้หมด

    2.)  ตัดปลายกิ่งด้านข้างทรงพุ่มทั้งสี่ด้าน ส่วนจะตัดลึกเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะปลูกและทรงพุ่มเดิมของลำไย ถ้าหากทรงพุ่มชนกันหรือใกล้จะชนกันก็ตัดลึก แต่โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ตัดลึกจากปลายกิ่งประมาณ 30 – 50  เซนติเมตร (ภาพที่ 2.1 – 2.4 ) รูปทรงที่ได้จะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า     ภายหลังตัดแต่งกิ่งได้ประมาณ 2 สัปดาห์ต้นลำไยจะเริ่มแตกใบ ถ้าหากต้องการให้ต้นลำไยสมบูรณ์เต็มที่ควรให้มีการแตกใบ 3 ครั้ง โดยใช้เวลาประมาณ 6 เดือนนับตั้งแต่ตัดแต่งกิ่งก็สามารถชักนำการออกดอกได้

    l04 l05

    ภาพที่ 2.1  ตัดปลายกิ่งด้านบนและด้านข้าง

    รูปทรงที่ได้คือทรงสี่เหลี่ยม

    ภาพที่ 2.2  กิ่งที่ถูกตัดเริ่มแตกใบหลังตัดแต่งกิ่ง

    ประมาณ 2 สัปดาห์
    l06 l07
    ภาพที่ 2.3  ต้นลำไยหลังตัดแต่งทรงสี่เหลี่ยม
    ได้ 4 เดือน
    ภาพที่ 2.4  การติดผลของต้นลำไยทรงสี่เหลี่ยม

    3.  ทรงฝาชีหงาย

    การตัดแต่งกิ่งทรงนี้ได้รับแนวคิดจากการศึกษาดูงานสวนลิ้นจี่ของคุณมนัส  เกียรติวัฒน์ เกษตรกรผู้ประสบผลสำเร็จในการควบคุมทรงพุ่มลิ้นจี่อายุ 27 ปี ให้มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร โดยทำต่อเนื่องกันทุกปี วิธีการคือตัดกิ่งที่อยู่กลางทรงพุ่มออกให้หมดเหลือเฉพาะกิ่งที่เจริญในแนวนอน จากนั้นจะเกิดใหม่กิ่งขึ้นตามกิ่งหลักที่เจริญในแนวนอนเรียกกิ่งที่เกิดขึ้นว่ากิ่งกระโดง จากการศึกษาตัดแต่งกิ่งลำไยโดยคุมทรงต้นให้สูง     2 – 3 เมตร พบว่าเกิดกิ่งกระโดงได้มากกว่า 300 กิ่งต่อต้น ซึ่งกิ่งกระโดงดังกล่าวสามารถออกดอกได้ภายใน     4 – 6 เดือนหลังตัดแต่ง ช่อผลลำไยที่เกิดจากกิ่งกระโดงเมื่อผลใกล้แก่จะโน้มลงหลบเข้าในทรงพุ่มทำให้ผลลำไยมีขนาดใหญ่และมีสีเหลืองทอง (ภาพที่ 3.1 – 3.7) ทำให้จำหน่ายได้ในราคาสูง นอกจากนี้ยังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 20 – 50% ภายหลังตัดแต่งกิ่งต้นยังแตกใบได้เร็ว ส่งผลให้ต้นลำไยพื้นตัวได้เร็วขึ้น  ขอท่านผู้อ่านได้ติดตามการตัดแต่งกิ่ง   ตอนที่2

    l08 l09
    ภาพที่  3.1  ตัดแต่งกิ่งกลางพุ่มออกให้หมด

    ภาพที่ 3.2  เกิดกิ่งกระโดงในทรงพุ่มหลังตัดแต่งกิ่ง

    l010 l011

    ภาพที่ 3.3  ต้นลำไยทรงฝาชีหงายที่ตัดแต่งกิ่ง
    ได้ 4 เดือน

    ภาพที่ 3.4  ช่อผลลำไยที่เกิดจากกิ่งกระโดง

    l012 l013

    ภาพที่ 3.5  การติดผลของต้นลำไยอายุ 15 ปี
    ทรงฝาชีหงายสูง 2 เมตร

    ภาพที่ 3.6  หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตตัดกิ่งกระโดง
    ให้เหลือตอยาว 2 – 5 นิ้ว

    l014
    ภาพที่ 3.7  กิ่งกระโดงเดิมเริ่มแตกใบหลังตัด
    ภายใน 2 สัปดาห์

    ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้-สกว.
    ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ 
    และนายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์
    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้   จ. เชียงใหม่  50290 โทร. 053-873390  ,  053-873939                      ในวันและเวลาราชการ

    รายงานโดย

    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes