[notice class="notice"]การทำมะม่วงแฟนซี[/notice]
โดยอาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
มะม่วงเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมปลูกและบริโภคมาช้านาน มีทั้งมะม่วงที่กินผลดิบและผลสุก มะม่วงสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้และนำมาทำเป็นอาหารหลากหลายชนิด ตั้งแต่มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเหนียวมะม่วง ยำมะม่วง ยำปลาดุกฟู และยังนำไปแปรรูป เช่น แช่อิ่ม มะม่วงดอง มะม่วงกวน มะม่วงแผ่น ขนม ไอศกรีม และน้ำมะม่วงปั่น การทำการเกษตรในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรหรือประชาชนทั่วไป จำเป็นจะต้องมีองค์ความรู้หรือมีความรอบรู้ในพืชชนิดนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง รู้แจ้งเห็นจริง รู้การวางแผนการผลิตตลอดถึงการตลาด เมื่อปลูกแล้วสามารถควบคุมได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่การเจริญเติบโต การออกดอก ติดผล รสชาติความหวานและคุณภาพผลผลิตต้องสั่งได้ทุกขบวนการ จึงจะทำการเกษตรในพืชชนิดนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ
การทำมะม่วงแฟนซี
การทำให้มะม่วงหนึ่งต้นมีผลหลากหลายสายพันธุ์ และมีมะม่วงไว้รับประทานเกือบตลอดทั้งปี ชื่อเป็นมงคล เป็นไม้ประดับ สีผลสวยงาม โดยการเปลี่ยนยอดหรือเปลี่ยนกิ่งพันธุ์ เหมาะสำหรับท่านที่มีพื้นที่รอบบริเวณบ้านน้อย ต้องการที่จะปลูกไม้ผลไว้บริโภคตลอดทั้งปี ตามฤดูกาล ไม่ต้องเปลืองเงินซื้อหาและปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ปลูกไม้ผลหลายชนิด ในการปลูกมะม่วง มะยงชิด มะนาว ลำไย ละมุด ส้มโอ ลิ้นจี่ ลองกอง มังคุด ทุเรียน เงาะ มะพร้าวน้ำหอม อย่างละต้น แต่อยากจะปลูกมะม่วงมัน มะม่วงที่มีกลิ่นหอม มะม่วงที่มีสีสันสะดุดตาไว้หลายๆต้นก็ปลูกไม่ได้เนื่องจากพื้นที่จำกัด เทคนิคการขยายพันธุ์มะม่วงโดยวิธีเสียบยอดหรือโดยการเสียบข้างและเสียบเปลือก สามารถตอบสนองความต้องการของท่านได้ ผู้เขียนจะขออนุญาตแนะนำท่านที่คิดจะปลูกมะม่วงแฟนซีไว้บริโภคภายในครัวเรือน หรือผู้ที่คิดจะผลิตมะม่วงแฟนซีในภาชนะไว้จำหน่ายเพื่อเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ให้มีแนวคิดในจุดขาย ในการทำมะม่วงแฟนซี ให้ประสบความสำเร็จและตอบคำถามต่าง ๆ ได้
พันธุ์มะม่วงที่จะแนะนำให้ใช้ในการเปลี่ยนยอดหรือกิ่งมะม่วง 4-5 สายพันธุ์ ควรต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. ออกดอกติดผลง่าย ไม่เว้นปี
2. ต้านทานต่อโรคและแมลงพอสมควร
3. ทนต่อสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ
4. ชื่อเป็นมงคล
5. ออกดอกติดผลทะวาย 2-3 รุ่นต่อปี
6. รับประทานผลดิบได้อร่อย รับประทานผลสุกก็อร่อย สามารถแปรรูปได้หลากหลาย
7. ผลผลิตราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
มะม่วงมหาชนก
1.มะม่วงมหาชนก
เป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซ็ท กับมะม่วงหนังกลางวันหรือมะม่วงงาหม่น ผลดิบมีรสเปรี้ยว ผลสุกผิวสีแดงอมส้มปนเขียวเล็กน้อย กลิ่นหอม รสหวาน สามารถทำแปรรูปได้หลากหลาย เช่น น้ำมะม่วงปั่น ขนม และไอศกรีม
มะม่วงมันขุนศรี |
2.มะม่วงมันขุนศรี
มะม่วงมันบางขุนศรี ย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย ทรงผลจะแหลมและงอน หัวจะป้าน ติดผลดก ผลดิบมีรสเปรี้ยว เมื่อผลเริ่มแก่จะมีรสมัน หวานอมเปรี้ยว เนื้อละเอียด คล้ายน้ำดอกไม้ ผลสุกรสหอมหวาน ปัจจุบันเป็นที่นิยมของตลาดและประชาชนทั่วไป
มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง |
3.มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
ผลไม้ของอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลดิบรับประทานจิ้มน้ำปลาหวานอร่อยมาก เพราะเนื้อละเอียด ไม่เปรี้ยวมาก เมื่อผลเริ่มแก่ นิยมรับประทานผลสุก รสหอมหวาน เนื้อละเอียด เมล็ดลีบ รับประทานคู่กับข้าวเหนียวมูล ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
มะม่วงโชคอนันต์ |
4.มะม่วงโชคอนันต์
มะม่วงที่ค้นพบโดย อ.ประสงค์ คงวิทยานนท์ ศิษย์เก่าแม่โจ้ เจ้าของสวนกุหลาบเชียงใหม่ ติดผลดก ออกผลทะวายตลอดทั้งปี ประมาณ 3 รุ่น เปลือกหนา ทนต่อสภาพดิน ฟ้า อากาศ ผลดิบรสเปรี้ยว เหมาะสำหรับทำยำต่าง ๆ เช่น ยำมะม่วง หรือยำปลาดุกฟู และนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม เป็นต้น ผลสุกเนื้อเหลืองแข็ง กลิ่นหอม คนต่างประเทศชอบรับประทาน
มะม่วงอาร์ทูอีทู |
5.มะม่วงอาร์ทูอีทู
มะม่วงจากประเทศออสเตรเลีย ติดผลดก เนื้อเหนียวละเอียดไม่มีเสี้ยน รับประทานผลสุกรสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อในเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง ผิวภายนอกสีแดงอมส้ม สะดุดตา ปัจจุบันผลิตเพื่อการส่งออก ไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และสิงค์โปร
วัสดุ อุปกรณ์และการมะม่วงแฟนซี
|
||
วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ | ด้านบนคือยอดที่ให้ผลผลิตแล้ว ส่วนด้านล่างคือยอดที่ยังไม่ให้ผลผลิต |
|
||
มะม่วงในภาชนะ | มะม่วงออกดอก |
|
||
กิ่งที่ทำการเปลี่ยนยอดเรียบร้อยแล้ว |
ต้นมะม่วงหนึ่งต้นที่มีหลากหลายสายพันธุ์
1.พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง
2.พันธุ์โชคอนันต์
3.พันธุ์มันขุนศรี
4.พันธุ์มหาชนก
5.พันธุ์อาร์ทูอีทู
ต่อไปเป็นการขยายพันธุ์มะม่วง โดยการเสียบยอดแบบเสียบข้าง
การเสียบยอดแบบเสียบข้าง
เลือกต้นตอที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณไม่เกิน 1 นิ้ว เฉือนต้นตอลงมาเป็นมุม 20 - 30 องศา ให้รอยเฉือนยางประมาณ 2 - 3 นิ้ว ตำแหน่งรอยเฉือน ประมาณ 4 - 6 นิ้ว สูงจากพื้น เลือกยอดพันธุ์ดี ความยาวประมาณ 3 นิ้ว ยอดพันธุ์ดีมีใบเขียวเข้มและควรมีตายอด ริดใบออกให้หมด ระวังอย่าให้โดนตา ในกรณีที่ตายอดยังไม่เต่งให้ทำการริดใบออก เหลือก้านใบทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 วัน จึงนำมาเสียบ เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่ม ให้ความยาวของรอยเฉือนประมาณ 2 นิ้ว เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลที่เตรียมไว้ในต้นตอ จัดเนื้อเยื่อเจริญของกิ่งพันธุ์ดี และต้นตอให้ชิดกัน พันด้วยพลาสติกใสให้มิดยอดของกิ่งพันธุ์ดีขึ้นไปประมาณ 3 นิ้ว ประมาณ 25-30 วัน รอยแผลจะเชื่อมสนิทและตาของกิ่งพันธุ์จะเริ่มแตก ทำการกรีดพลาสติกตรงบริเวณปลายยอดออกเมื่อยอดใหม่แตกออกมาใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว ทำการตัดยอดต้นตอทิ้งโดยจะทำการตัดให้ชิดรอยต่อ ในกรณีที่ตาของกิ่งพันธุ์ดีไม่แตกควรบังคับตาให้แตกโดยการควั่นหรือบากต้นตอให้สูง จากรอยต่อประมาณ 3 นิ้ว
การเสียบข้างมะม่วงในถุง | ||
รอยแผลยาวประมาณ 2.5-5 ซม. | ลักษณะการเฉือนกิ่งพันธุ์ดี |
สวมกิ่งพันธุ์ดีลงบนต้นตอ โดยให้เยื่อเจริญตรงกัน |
พันพลาสติกจากล่างขึ้นบนให้แน่นมิดรอยแผล ประมาน25-30วันยอดจะเริ่มแตกเปิดพลาสติก บริเวณยอดออก |
ยอดที่เปลี่ยนติดแล้วดี | มะม่วง1ต้นมี2สายพันธุ์ที่ปลูกในกระถาง |
การเสียบข้างมะม่วงในแปลง
มะม่วงต้นตอที่ปลูกไว้ในแปลง รอการเสียบข้าง | ตำแหน่งรอยเฉือน สูงจากพื้น 4-6 นิ้ว |
เฉือนต้นตอโดยให้รอยแผลยาวประมาณ2.5-5ซม. | ตัดชิ้นส่วนที่เฉือนออกให้เหลือเพียง 1/3 ของส่วนที่เฉือนออกทั้งหมด |
การเลือกยอดพันธุ์ดี ต้องยาวประมาณ 3 นิ้ว ยอดพันธุ์ดีมีใบสีเขียวเข้มควรมีตายอด ริดใบออกหมด |
ให้แผลยาวเท่ากันกับแผลที่เตรียมบนต้นตอ |
เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีด้านตรงข้ามกับที่เฉือนครั้งแรกออกถึงเนื้อไม้ให้แผลที่เฉือน มีขนาดเท่ากับรอยเฉือนที่เหลือบนต้นตอ |
สวมกิ่งพันธุ์ดีลงบนต้นตอโดยให้เยื่อเจริญตรงกัน | พันพลาสติกให้แน่นมิดรอยแผล |
ประมาณ25-30วันยอดพันธุ์ดีจะเริ่มแตก |
เมื่อยอดพันธุ์ดีแตกและมีใบสีเขียวแสดงว่า |
ต่อไปเป็นการขยายพันธุ์มะม่วง โดยการเสียบกิ่งแบบเสียบเปลือก
การขยายพันธุ์มะม่วง โดยการเสียบกิ่งแบบเสียบเปลือก
การเสียบกิ่งแบบเสียบเปลือกดัดแปลง (Modified Bark grafting) วิธีการนี้จะใช้ในกรณีที่เปลือกไม้ลอกออกจากเนื้อไม้ได้ง่าย เหมาะสำหรับเปลี่ยนยอดมะม่วงในแปลงปลูก และทำการเปลี่ยนยอดต้นที่มีขนาดใหญ่ซึ่งปฏิบัติดังนี้ เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำการต่อให้ตรงความสูงจากพื้นประมาณ 3-6 นิ้ว กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้ความยาวประมาณ 3 นิ้ว ทำการกรีด 2 รอยให้ขนานกัน ความกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว ตัดรอยกรีดด้านบน เผยเปลือกออกให้หมด และตัดเปลือกออกให้เหลือควายยาวประมาณ 0.5 นิ้ว การเตรียมกิ่งพันธุ์ดีความยาว 3 นิ้ว ริดใบออกให้หมด ทำการเฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลงให้รอยแผลยาวประมาณ 2 นิ้ว เฉือนปลายรอยเฉือนทางด้านตรงข้ามยาวประมาณ 0.5 นิ้ว เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนรอยแผลของต้นตอ การวางกิ่งพันธุ์ดีควรวางให้ตรงรอยแผลของต้นตอ พันด้วยพลาสติกให้มิดพันธุ์ดี ประมาณ 3 นิ้ว ประมาณ 21-30 วัน ยอดพันธ์ดีจะเริ่มแตก ทำการกรีดพลาสติกตรงบริเวณด้านบนยอดออกให้ด้วยความระมัดระวัง เมื่อยอดพันธุ์ดีแตก ใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวจะทำการตัดยอดต้นตอทิ้ง
กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้ ความยาวประมาณ 3 นิ้วทำการกรีด 2 รอยให้ขนานกัน ความกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว |
ตัดกรีดรอยด้านบน | เผยเปลือกไม้ออกมา | |
ตัดเปลือกออกให้เหลือความยาวประมาณ0.5นิ้ว | เตรียมกิ่งพันธุ์ดีความยาว 3 นิ้ว | |
เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลงให้รอยแผล ยาวประมาณ 2 นิ้ว |
เฉือนปลายรอยเฉือนทางด้านตรงข้าม ยาวประมาณ 0.5 นิ้ว |
|
เสียบกิ่งพันธุ์ลงบนแผลของต้นตอ | พันด้วยพลาสติกให้มิดพันธุ์ดี | |
พันด้วยพลาสติกให้มิดยอดพันธุ์ดี ประมาณ 3 นิ้ว | ประมาณ 21-30 วัน ยอดพันธุ์ดีจะเริ่มแตก ทำการกรีดพลาสติกตรงบริเวณด้านบนยอดออก |
|
เมื่อยอดพันธุ์ดีแตก ใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวจะทำการตัดยอดต้นตอทิ้ง |
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
สำนักวิจัยและส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. โทร.0-5387-3938-9 และ 089-6311432ในวันและเวลาราชการ