มะรุม หรือ ภาคเหนือเรียก ผักอีฮึม มะค้อนก้อม ภาคกลางเรียก มะรุ่ม และภาคอีสานเรียก ผักอีฮุม มะดัน ชื่อท้องถิ่น ส้มไม่รู้ถอย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 3-7 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวสีเข้ม หนาแข็ง รูปขอบขนาน ออกเรียงสลับกัน มีรสเปรี้ยว....
มะรุม หรือ ภาคเหนือเรียก ผักอีฮึม มะค้อนก้อม ภาคกลางเรียก มะรุ่ม และภาคอีสานเรียก ผักอีฮุม
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นจะเป็นพุ่มโปร่ง จะมีเปลือกลำต้นเป็นสีเทาอ่อน ผิวค่อนข้างเรียบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร
ใบ : เป็นไม้ใบรวม ออกรวมกันเป็นแผง ๆ ละ 5-9 ใบ ลักษณะของใบย่อยนั้นรูปใบจะมน เกือบกลม ปลายใบมนแต่โคนใบแหลมเรียว หรือมนเล็กน้อย เนื้อใบอ่อนบางมีสีเขียวกว้าง ประมาณ 1- 1.5 นิ้ว ใบที่อยู่ปลายสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่น ๆ
ดอก : ดอกออกเป็นช่อ อยู่ตามข้อบริเวณส่วนยอด ดอกมีสีเหลืองนวล มีอยู่ 5 กลีบ เกสรกลางดอกเป็นสีเหลืองเข้ม บานเต็มที่โตประมาณ 1 นิ้ว
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก กลม ยาว ฝักอ่อนมีสีแดงเรื่อ ๆ ฝักแก่จะมีเป็นสีเขียว เปลือก ของฝัก หนา มีเคลื่อนนูนของเมล็ด
การรับประทาน :
ใบสด ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อจนเกินไปนักเพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ การใช้ใบสดปรุงอาหารต่าง ๆ สามารถทำได้ตามความต้องการและความถนัด เนื่องจากใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูงมาก
เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง 3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 5 ใบ และสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นทีละน้อยตามอายุ จนถึง 10 ขวบ เด็กในวัยเจริญเติบโตควรทานแต่พอสมควร เพราะการรับประทานเกินขนาดธาตุเหล็กจะให้โทษมากกว่าให้คุณ
เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลเร็วควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะ สำหรับผู้ใหญ่ และ1 ช้อนชา สำหรับเด็ก บางคนรับประทานสดอาจมีอาการท้องเสีย ไม่ต้องตกใจ ให้ลดจำนวนลงและค่อย ๆ เพิ่มจำนวนทีละน้อยจนร่างกายปรับสมดุล
การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมากใช้ทำสลัดรวมกับผักสดหรือวางบนแซนด์วิชก็ได้
ฝัก นำไปปรุงอาหารต่างๆ ตามต้องการ ใช้ได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควร ฝักแก่ต้องปอกเปลือกก่อน
เมล็ด สามารถนำเมล็ดมะรุมมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใช้ทำอาหาร ใช้รักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊าต์ โรครูมาติซั่ม และโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อรา
เปลือกจากลำต้น นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบ นึ่งให้ร้อน นำมาใช้ประคบแก้ปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี
ดอก ใช้ต้มทำน้ำชา ใช้ดื่ม ช่วยให้นอนหลับสบาย
ใบตากแห้ง สามารถนำใบมาตากแห้ง โดยตากในร่ม อย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่ต้องเดินทางและหาใบสดไม่ได้ ให้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภทปลูกติดง่าย ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการปักชำกิ่ง
วิธีการปลูก
1.แบบเพาะเมล็ดลงในตะกล้าแล้วแยกปลูกลงถุง เพื่อจำหน่าย คือ การปลูกวิธีนี้เป็นวิธีที่แน่นอนกว่าการเพาะเมล็ดลงถุงเลย เนื่องจากเปอร์เซนการงออกของเมล็ดอาจมีการงอกน้อยทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองวัสดุเพาะและ เมื่อทำการเพาะเมล็ดซ่อมแซมลงถุงใหม่ต้นมะรุมที่งอกใหม่จะไม่ใช่รุ่นเดียวกันกับมะรุมที่เพาะลงถุงครั้งแรกทำให้มีปัญหาเมื่อนำมะรุมไปจำหน่ายจะมีขนาดที่โตไม่เท่ากัน
วัสดุและอุปกรณ์
1. เมล็ดมะรุม ต้องเป็นเมล็ดที่ได้จากฝักที่แก่ ฝักเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเมล็ดต้องไม่มีแมลงทำลาย และต้องมีครีบติดเปลือกหุ้มเมล็ด
2. ตะกล้าพลาสติก ขนาด 30 x 40 เซนติมตร
3. ดินร่วนปนทราย
4. ขี้เถ้าแกลบหรือแกลบดำ
2.วิธีการปลูก แบบเพาะในตะกล้า
1.ทำการผสมดินปลูกโดยนำดินผสมกับขี้เถ้าแกลบใช้อัตราส่วน 1 : 1 คือ ดิน 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน
แล้วจะได้ดินปลูกดังรูป 2.1
2.นำตะกล้าขนาด 30 x 40 เซนติเมตร ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองก้นตะกล้าสองแผ่นเพื่อป้องกันดินปลูกรอดลงรูตะกล้า
3.นำดินปลูกใส่ลงตะกล้าโดยใส่ดินเขย่าตะกล้าใช้ไม้บรรทัดปาดให้เรียบเสมอกันเว้นเหลือจากขอบบนตะกล้าประมาณ 2 เซนติเมตร เพื่อเว้นพื้นที่ด้านบนในการใช้ดินกลบเมล็ด
4. นำเมล็ดมะรุมลงปลูกในกล้าที่เตรียมไว้โดยปลูกเป็นแถวแถวละ 10 เมล็ดให้เต็มเนื้อที่ในตะกล้าการปลูกนั้นให้เมล็ดมะรุมฝังดินในลักษณะแนวนอนหรือขนานกับพื้นเพราะการงอกของมะรุมนั้นจะงอกที่ด้านหัวของเมล็ดถ้าปลูกเมล็ดแนวตั้งหรือแนวดิ่งอาจทำให้เมล็ดงอกช้าสวนที่งอกอยู่ใต้ดินนานเกินไปอาจทำให้เกิดการเน่าได้และไม่ควรฝังเมล็ดลึกจนเกินไปให้ฝังลึกประมาณ 0.5 เชนติเมตรแล้วใช้ดินกลบทีหลัง
5.เมื่อกลบดินเสร็จให้รดน้ำให้ชุ่มแล้วใช้พลาสติกคลุมกันน้ำฝนชะเมล็ดประมาณ 6 – 7 วัน มะรุมก็จะงอกพ้นบนผิวดินและเริ่มแตกใบออกบ้างแล้วช่วงนี้ไม่ต้องใช้อะไรปิดบนตะกล้ารดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอ
6.ประมาณ 1 สัปดาห์ นับจากวันที่งอก ให้ทำการย้ายต้นกล้ามะรุมลงถุงปลูกทันที เพราะเมื่อทำการย้ายลงถุงช้าจะทำให้ลำต้นยืดสูงทำให้ลำต้นผอมไม่อวบอ้วน
7.หลังจากต้นมะรุมได้ทำการย้ายเสร็จแล้วในช่วงนี้ให้ดูแลโดยการให้น้ำสม่ำเสมอจนมะรุมฟื้นตัวได้แล้วจึงสามารถนำไปจำหน่ายได้
มะดัน
มะดัน ชื่อท้องถิ่น ส้มไม่รู้ถอย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 3-7 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวสีเข้ม หนาแข็ง รูปขอบขนาน ออกเรียงสลับกัน มีรสเปรี้ยว ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ และกิ่งก้าน กลีบดอกหนาแข็งมีสีเหลืองส้มหรือสีส้มอมม่วง ผลมีลักษณะกลมยาว รสเปรี้ยวมาก และให้ผลตลอดปี เมล็ดยาวแบนโค้งเล็กน้อย คล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน ใบเป็นแบบ ใบวงเป็นแถวคู่ ฐานใบมน ใบยาวประมาณ 9 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร ดอกออกดอกเป็นกลุ่ม 3-6 ดอก ดอกเดี่ยวเล็กๆมีสี่กลีบยาว 6.5 มิลลิเมตร กว้าง 3 มิลลิเมตร ผลเป็นรูปกลมยาวปลายเรียวหรือยาวรี ผลยาว 5-7 เซนติเมตรกว้าง 2-3 เซนติเมตร ผลสีเขียวเป็นมันรสเปรี้ยวจัด
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การปลูกมะดัน มะดันในธรรมชาติมักจะขึ้นในป่าโปร่ง ที่ลุ่มต่ำและริมตะลิ่ง แม่น้ำลำครองชาวบ้านมักนำมาปลูกตามบ้าน และตามสวน มะดันเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบดินร่วนซุย ชุ่มชื้น ระยะปลูก 6x6 เมตร
ประโยชน์และสรรพคุณของมะดัน
ประโยชน์ ยอดอ่อน ใส่ต้มเนื้อต้มปลา ต้มปลา ต้มไก่ ทำให้รสชาติเปรียว สามารถใช้ทดแทนมะนาวนอกจากนั้นยังทำให้รสชาติของอาหารหวานและหอมขึ้น ผลใส่น้ำพริกหรือต้ม แกงต่างๆ หรือ ดอง กิ่งใช้หนีบไก่ ทำเป็นไก่ปิ้งไม้มะดัน ทำให้มีกลิ่นหอม สรรพคุณใบและราก เป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ และเป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี ผล เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอ ทำเป็นอาหาร ยาฟอกเสมหะ แก้ไอ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และช่วยขับระดู
ขนาดและวิธีใช้ ใบและผล
1 . นำมาทำยาดองเปรี้ยวเค็ม เพื่อเป็นยาฟอกเสมหะ แก้ไอ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และช่วยขับระดู เอายามาบดเป็นยาผงหยาบๆ ห่อผ้าขาวบางให้หลวมๆ ใส่ในโหลแก้วเติมเหล้าให้ท่วมผ้าห่อยา แช่ไว้ประมาณ 7 วัน ระหว่างที่แช่ให้บีบห่อผ้าบ่อยๆ เพื่อให้ตัวยาออกมา ขนาดรับประทาน 1 แก้ว
2. นำไปปรุงเป็นยาต้ม ช่วยแก้กษัยและช่วยละลายเสมหะเป็นยาระบายอ่อน โดยใชใบหรือผลประมาณ 1 กำมือ ใส่น้ำให้ท้วมยา ต้มจนสุก หมายถึงต้มให้เดือด (ประมาณ 10 นาที) นอกจากบางตำราที่กำหนดไว้ว่า ต้ม 3 เอา 1 ก็หมายถึงให้ใส่น้ำ 3 ส่วน เวลาต้มไม่ควรใช้ไฟแรง ต้องให้น้ำ
ค่อย ๆ เดือด ขนาดรับประทาน สำหรับยาต้มคือ 0.5-1 แก้ว ( 1 แก้ว เท่ากับ 250 ซีซี โดยประมาณ)
การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ใบและผลมีรสเปรี้ยวประกอบด้วยสารที่สำคัญคือ เบต้า-แคโรทีน (b-Carotene) วิตามินซี และแร่ธาตุหลายชนิดเช่น แคลเซีอม ฟอสฟอรัส เหล็ก
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อ. พิชัย สมบูรณ์วงศ์ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จ. เชียงใหม่ 50290 โทร. 053-873387-9 ในวันและเวลาราชการ