ผักอายุสั้นทันต่อการบริโภค

    veg2-1ผักอายุสั้นทันต่อการบริโภค

     

    veg1พืชผักมีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์  เป็นแหล่งอาหารที่ให้ประโยชน์ในด้านเป็นแหล่งวิตามิน ทำให้ร่างกายแข็งแรง และมีเส้นใยอาหารทำให้ระบบขับถ่ายภายในร่างกายเป็นไปอย่างปรกติ ในแต่ละวันประชาชนมีการประกอบอาหาร จำเป็นต้องใช้ผักเป็นอาหารหลักและใช้ในการประกอบเป็นเครื่องปรุงรสหลากหลายชนิด  เช่น  พริก    กระเทียม    ผักบุ้ง   กวางตุ้ง คะน้า ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า  ขิง ผักชี  คื่นฉ่าย   กระชาย  หอมแดง  หอมแบ่ง  เป็นต้น  

    ปัจจุบันได้เกิดปัญหาอุทกภัย  น้ำท่วมเป็นวงกว้าง ทำให้กลุ่มพืชผัก ได้รับผลกระทบโดยตรง  เกิดความเสียหาย  จากภัยพิบัติเหล่านี้ทำให้เกิดความขาดแคลนส่งผลทำให้ราคาสูงขึ้น  เป็นอย่างมาก  ทั้งนี้ประชาชนสามารถแบ่งเบาภาระอันเนื่องจากผักราคาที่สูงขึ้นโดยการปลูกพืชผักสวนครัว  อายุสั้น ต่าง ๆ  ได้ด้วยตนเอง

    กลุ่มพืชผักที่แนะนำควรเป็นพืชผักที่มีอายุสั้น ดูแลรักษาง่าย ๆ  มีการเจริญเติบโตเร็ว ได้แก่ ผักบุ้ง  ผักกวางตุ้ง  ผักคะน้า  หอมveg3แบ่ง  ผักชี  ผักกาดฮ่องเต้  ผักกาดขาวปลีพันธุ์เบา เป็นต้น  

    วิธีการ

    1. พื้นที่ปลูกในกรณีไม่มีพื้นที่หรือพื้นที่มีน้ำท่วมขัง มีข้อแนะนำให้หาที่เพาะปลูกในภาชนะต่าง ๆ  เช่น  กะบะ  ตะกร้า  เข่ง  หรือ ภาชนะที่สามารถบรรจุวัสดุปลูกได้

    2. วัสดุเพาะปลูกให้หาดินร่วนผสมกับปุ๋ยคอก  หรือปุ๋ยหมักผสมคลุกเคล้าในอัตรา ดินร่วน 3 ส่วน ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน

    3. เมล็ดพันธุ์พืชผักอายุสั้นต่าง ๆ  

    4. เมื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ  ข้างต้นไว้พร้อมแล้ว ก็นำเมล็ดพันธุ์หว่านให้

    veg5กระจายโดยทั่วบนผิวหน้าภาชนะที่เตรียมไว้บาง ๆ  และให้กระจายตัวมากที่สุด และมีการกลบเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ให้หนาประมาณ 2-3 เท่า ของเมล็ดด้วยดินร่วน  หรือปุ๋ยหมักหมั่นรดน้ำทุกวันเช้าและเย็น  ประมาณ 3-5 วัน  เมล็ดก็จะงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อน  ถ้าหากมีประมาณการงอกที่หนาแน่นอาจจะถอนแยกออกและย้ายปลูกในภาชนะใหม่

    5. อายุการเจริญเติบโตของพันธุ์ผักแต่ละชนิดจะมีอายุในการเจริญพร้อมเก็บเกี่ยวแต่ละชนิดดังนี้

    ผักบุ้ง  20-25 วัน ผักกวางตุ้ง 25-30 วัน

    คะน้า 30-35 วัน ผักกาดขาวปลีพันธุ์เบา  25-30 วัน

    ผักชี  40-50 วัน

    ในช่วงการเจริญเติบโตควรให้ปุ๋ยประเภทปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเสริมทุก ๆ  5-7  วัน  เพื่อให้ได้ผักปลอดสารพิษในการบริโภค

    วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพอย่างง่าย veg6

    1. นำเศษพืช สัตว์ ผัก ผลไม้ หญ้า เศษอาหารที่ยังสดอยู่ มาสับเป็นชิ้นเล็กๆพอควร ยิ่งละเอียดยิ่งดี ชั่งเศษพืชสัตว์ให้น้ำหนัก สมมติว่า 3 กิโลกรัม (ใช้มากหรือน้อยตามอัตราส่วน)

    2. หมักในโอ่ง ไห ถังพลาสติก ห้ามใช้พาชนะที่เป็นโลหะ (เพราะน้ำหมักชีวภาพมีสภาพเป็นกรดสูง จะกัดโลหะผุกร่อนเร็ว

    3. ในกรณีนี้ ให้ใส่น้ำตาลทรายแดง (ที่ยังไม่ฟอก) หรือน้ำตาลทรายขาว หรือกากน้ำตาลหนัก 1 กิโลกรัม ลงไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

    - ถ้าส่วนใหญ่เป็นเศษพืช ใช้เศษพืชต่อน้ำตาล = 3 ต่อ 1

    -ถ้าส่วนใหญ่เป็นเศษสัตว์ ใช้เศษสัตว์ = 1 ต่อ 1

    veg7 4. ปิดฝาโอ่ง ไห ถังพลาสติกให้สนิท อย่าให้อากาศเข้า และควรเก็บไว้ในที่ร่ม ใช้ปากกาเขียนวันเดือนปีที่หมักไว้

    5. หลังจากหมักไว้ 15 วัน ให้เปิดฝาออก เติมน้ำลงไป 10 ลิตร หรือ 10 กิโลกรัม ใช้ไม้คนให้ทั่ว ปิดฝาให้สนิทไว้ดังเดิม หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 วัน จึงเปิดฝาแล้วใช้ไม้คนให้ทั่ว และปิดฝาไว้เหมือนเดิม

    6. น้ำหมักชีวภาพนี้ สามารถเริ่มใช้ได้หลังจากหมัก 5 วัน ถ้าจะให้ได้ผลดี ควรหมักไว้นาน 30 วัน และจะให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น เมื่อหมักไว้นาน 3 เดือน หรือมากกว่า ซึ่งจะทำให้น้ำหมักชีวภาพมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย

     

              วิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ

    ใช้ฉีดพ่นพืชผัก น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 500 – 1,000 ส่วน หรือน้ำหมักชีวภาพ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 7 – 10 ลิตร ฉีดพ่นveg4ทุก 7 วัน

    ใช้ราดลงดิน น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 200 -  500 ส่วน หรือน้ำหมักชีวภาพ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 5 ลิตร ทุกๆ 7 วัน 

    หากจะพูดถึงเรื่อง  “น้ำท่วม”  ในปัจจุบัน คงจะไม่เชยจนเกินไป กลับจะเป็นหัวข้อในวงสนทนาที่ทันสมัยด้วยซ้ำไป   เนื่องด้วยในห้วงเวลาที่ผ่านมา ใน ปี พ.ศ. 2554   ปํญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นแทบจะทั่วประเทศในขณะนี้ เป็นปัญหาที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลเป็นยิ่งนัก    เนื่องจากส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ และ ส่งผลกระทบถึงประชาชนโดยตรง  ไม่เพียงเท่านั้น  สัตว์เลี้ยงก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
    ผลกระทบที่เกิดกับสัตว์ อาจแบ่งได้ตามลักษณะการหลากมาของน้ำ  ได้แก่  ผลกระทบที่มาจากน้ำป่าไหลหลาก ในกรณีนี้มักส่งผลทำให้สัตว์ตายจากการจมน้ำ  เนื่องจากความแรง ความเชี่ยวกรากของน้ำ  สัตว์ส่วนใหญ่จะต้านทานไม่ไหว โดยเฉพาะ ในไก่  สุกร  สุนัข  แมว รวมถึง โค  บางพื้นที่ อาจมีของแถมเป็นดินโคลน และ ท่อนซุงด้วย   ส่วนผลกระทบที่มาจากน้ำท่วมประเภทน้ำท่วมขัง จะมีผลกับสัตว์ในระยะยาว ขึ้นกับว่า น้ำท่วมขังนั้นกินระยะเวลายาวนานเท่าไร ยิ่งระยะเวลายาวนานมาก ก็จะยิ่งส่งผลกระทบมาก   ผลที่เห็นได้ประการแรก  คือ การขาดพื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์  เนื่องจาก จะต้องนำสัตว์ขึ้นไปอยู่บนที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง  เช่น  ตามข้างถนน  บนหลังคาบ้าน ฯลฯ ซึ่งมักพบในสัตว์กลุ่ม  สุนัข  แมว  โค  กระบือ  ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงในระบบฟาร์มอย่าง  สุกร  ไก่  ซึ่งมักเลี้ยงในปริมาณมากๆอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด จึงยากต่อการเคลื่อนย้ายในเวลาที่เกิดน้ำท่วม น้ำหลาก ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินอย่างหนึ่ง  ผลประการต่อมา  ได้แก่ ปํญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์ ซึ่งจะเห็นได้ชัด ในสัตว์กลุ่มที่ต้องใช้พืชอาหารสัตว์เป็นหลักในการดำรงชีวิต เช่น  โค  กระบือ  แพะ  แกะ  ม้า  เพราะ พื้นที่แปลงหญ้า  ทุ่งนา  ถูกน้ำท่วมขัง  ,  การขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำกินที่สะอาดสำหรับสัตว์   โดยผลดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลในระยะยาวต่อสัตว์   ทำให้สัตว์เกิดความเครียด  ภูมิต้านทานโรคลดต่ำลง  ง่ายต่อการติดเชื้อโรค  อาทิ  โรคคอบวม ในโค กระบือ  ซึ่งมักพบในช่วงที่ โค กระบือ เกิดความเครียด และทำให้โค กระบือ ถึงแก่ความตายได้  ,  โรคปากและเท้าเปื่อยใน โค กระบือ และ สัตว์กีบคู่อื่นๆ  ซึ่งติดต่อและระบาดได้อย่างรวดเร็ว  ,  โรคทางระบบทางเดินหายใจในสัตว์ทุกชนิด  เช่น  หวัด   ปอดบวม   สำหรับในไก่ อาจพบไก่ป่วยตายด้ยโรคอหิวาต์   โรคนิวคาสเซิล  โรคหลอดลมอักเสบ  เป็นต้น  ส่วนในสุกรโดยเฉพาะลูกสุกรเล็กๆที่ได้รับความเครียด  มักแสดงอาการท้องร่วง  ถ่ายเหลว  และมักถึงแก่ความตายได้ง่าย  สำหรับในสุกรขุน  สุกรใหญ่  ต้องระมัดระวังโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  สเตรปโตคอคคัส  ซูอิส  ซึ่งภาวะความเครียดจะเป็นปัจจัยโน้มนำทำให้สุกรติดเชื้อได้ง่ายขึ้น  โดยที่ตัวสุกรอาจไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นอย่างเด่นชัด แต่เชื้อสามารถปนเปื้อนมากับ เนื้อและเลือดของสุกรได้   และสิ่งที่สำคัญ คือ โรคนี้สามารถติดต่อมาสู่คนได้  โดยคนจะติดโรคได้จากการกิน เนื้อและเลือดของสุกร แบบดิบๆ หรือ สุกๆดิบๆ เช่น  ลาบ  หลู้   เป็นต้น   ซึ่งในคนมักเรียกโรคนี้ว่า  โรคหูดับ

    ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
     

    อ. ปรีชา รัตนัง สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร

    มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่  50290 โทร. 053-873380  ในวันและเวลาราชการ   

     

    รายงานโดย

    อาจารย์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  และสมศักดิ์ ศิริ นักวิชาการเกษตร งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

     

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes