ชื่อเรื่อง(ไทย)

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ให้ต้นเตี้ย โดยวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก

ชื่อเรื่อง(Eng)

GLUTINOUS RICE IMPROVEMENT OF RD6 FOR SEMIDWARF PLANT HEIGHT BY MOLECULAR MARKER-ASSISTED BACKCROSSING

ชื่อผู้วิจัย(ไทย)

วราภรณ์ แสงทอง ประวิตร พุทธานนท์ ยุพเยาว์ คบพิมาย ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์ และศุภางค์ ทิพย์พิทักษ์

ชื่อผู้วิจัย(Eng)

VARAPORN SANGTONG, PRAWIT PUDDHANON , YUPPAYAO KOPHIMAI, CHOTIPA SAKULSINGHAROJ AND SUPANG TIPPITAK

หน่วยงาน

สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ,สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ให้ต้นเตี้ย โดยวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก

บทคัดย่อ

ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 มีพื้นที่ปลูกถึง 15 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 83 ของพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวทั้งหมด ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 นิยมปลูกกันมากเนื่องจากมีคุณภาพการหุงต้มเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แต่เนื่องจากข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 มีลําต้นสูงจึงหักล้มทําให้ผลผลิตต่ำ จึงปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ให้ต้นเตี้ยโดยวิธีผสมกลับและใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือกพันธุ์รับ (recipient parent) คือ ข้าวต้นสูงพันธุ์ กข 6 มียีโนไทป์เป็น Sd1Sd1 และพันธุ์ให้ (donor parent) คือ ข้าวต้นเตี้ยพันธุ์ กข 1 มียีโนไทป์เป็น sd1sd1 การปรับปรุงพันธุ์เริ่มจากหา target marker ได้ไพรเมอร์ RD6Sd1MW1F/1R ที่เฉพาะกับอัลลีลเด่น Sd1 ของข้าวต้นสูงพันธุ์ กข 6 และไพร์เมอร์ sd1MW3F/3R ที่เฉพาะกับอัลลีลด้อย sd1 ของข้าวต้นเตี้ยพันธุ์ กข 1 ผลการหา flanking marker 1 คือ RM1339 (บนโครโมโซมที่ 1 ที่ 147.5 cm) และ flanking marker 2 คือ RM 3375 (บนโครโมโซมที่ 1 ที่ 155.1 cM)  ผลการหา background marker ได้ SSR marker จํานวน 69 ตําแหน่ง การผสมพันธุ์ในฤดูแรก ผลิต F1 โดยการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์ กข 6 กับข้าวพันธุ์ กข 1 ในฤดูที่ 2 ผสม F1 กับข้าวพันธุ์ กข 6 และในฤดู 3-6 ผสม BCnF1 กับข้าวพันธุ์ กข 6 ในแต่ละชั่วของการผสมกลับใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก ในฤดูที่ 6 ได้ต้น BC4F1-127-4 4121-2630-358 ที่มียีโนไทป์เป็น Sd1sd1 และ flanking marker 1, flanking marker 2 และ background marker จํานวน 69 ตําแหน่ง มียีโนไทป์เหมือนกับ กข 6 ทุกตําแหน่ง ต่อจากนั้นนําสายพันธุ์ กข 6 ต้นเตี้ย ผสมกับสายพันธุ์ กข 6 ไม่ไวต่อช่วงแสงได้เมล็ด F1 ปลูกต้น 1F แล้วคัดเลือกด้วยโมเลกุลเครื่องหมายเพื่อหาต้นที่มีทั้งยีนด้อย sd1 และ hd1 ทําการผสมตัวเองเพื่อผลิตเมล็ด F2 ได้เมล็ด F2 ทั้งหมด 100 ประชากร เมล็ด F2 เหล่านี้จะนําไปปลูกในสภาพวันยาวเพื่อคัดเลือกหาต้น F2 ที่มีฟีโนไทป์เป็นต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสงต่อไป

Abstract

oci. Genetic crossing conducted during the 1 season was between RD 6 and RD 1 while the 2 season, crossing was between F1 and RD 6 while the 3rd-6th seasons, between BCnF1 with RD 6. During each molecular marker-assisted backcrossing selection, BC4F1-127-4121-2630-358 resulted on the 6 season with a genotype of Sd1sd1 and flanking marker 1, flanking marker 2 and background marker at 69 loci, which showed a genotype similar to RD 6 in each locus. Afterwards, the semi-dwarf RD 6 was then crossed with non-photo sensitive RD 6 using F seeds and then planted for use in the molecular marker-assisted backcrossing to determine plants with genotype of sd1 and hd1 which were then self-crossed to produce 100 F2 populations to be planted during the longer daylengths in order to select F2 plants with phenotypes of semi-dwarfness and non-photo sensitivity.

Top