ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)กับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับ

พิมพ์

untitled1_1ห้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับ บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 30 เมษายน  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,448

เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผลลำไยสดคือ  การรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แต่ในปัจจุบันการรมผลลำไยสดด้วย SO2 มักมีปัญหาเกี่ยวกับการมีปริมาณ SO2 ตกค้างในผลลำไยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ทำให้ประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าผลลำไยสดรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีความการเข้มงวดในการนำเข้าผลลำไยสดจากประเทศไทยมากขึ้น ปัญหาการตกค้างของ SO2 ในผลลำไยสดที่สูงกว่าเกณฑ์นั้นอาจเนื่องมาจาก ผู้ประกอบการขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในเทคโนโลยีดังกล่าว หรือส่วนหนึ่งอาจเกิดจากตัวเทคโนโลยีเอง ทั้งนี้เพราะการรม SO2 ในปัจจุบันเป็นการเผาผงกำมะถันเพื่อให้ได้แก๊ส SO2 ออกมา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มักมีข้อเสียคือ เมื่อมีการเผาผงกำมะถันในปริมาณมากกว่า 1 กิโลกรัมภายในระยะเวลาที่จำกัด ผงกำมะถันมักจะเผาไหม้ไม่หมด ทำให้ความเข้มข้นของ SO2 ที่ได้ไม่ค่อยแม่นยำเท่าที่ควร และที่สำคัญคือ ยังต้องใช้ความเข้มข้นของ SO2 หลังจากสิ้นสุดการรมควันสูงถึง 15,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm)

untitled 1ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรพงษ์ พิมพ์พิมล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาตุพงศ์   วาฤทธิ์ อาจารย์สมเกียรติ   จตุรงค์ล้ำเลิศ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินการออกแบบและสร้างห้องรม SO2 ทั้งที่ได้จากการเผาผงกำมะถันและจากถังอัดความดันโดยตรงกับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับพบว่า ระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้งมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ในกระบวนการรม SO2 กับผลลำไยสดคือ สามารถลดระดับความเข้มข้นของ SO2 หลังสิ้นสุดการรมให้เหลือเพียง 4,000 ppm หรือประมาณ  4-5 เท่า เมื่อเทียบกับระดับความเข้มข้นของ SO2 ตามคำแนะนำหรือตามที่ผู้ประกอบการใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ 15,000-20,000 ppm โดยยังคงป้องกันการเกิดโรคและการเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกผลลำไยได้ไม่ต่ำกว่า 20 วัน หลังจากเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2°ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์       ที่สำคัญคือ ช่วยให้ผลลำไยมีปริมาณ SO2 ตกค้าง โดยเฉพาะในเนื้อผลหลังจากรมทันทีไม่เกิน 8 ppm (ตารางที่ 1) ต่ำกว่าเกณฑ์สูงสุดที่ได้กำหนดไว้ (MRL, Maximum Residue Level) ทั้งของประเทศแคนาดาและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งกำหนดไว้เท่ากับ 10 ppm และ 50 ppm ตามลำดับ (กรมวิชาการเกษตร, 2551) และไม่พบการตกค้างในเนื้อผลเกิดขึ้นหลังจากเก็บรักษา 5 วัน

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความสามารถในการป้องกันโรคและการเกิดสีน้ำตาลบนเปลือกผล รวมทั้งปริมาณ SO2 ตกค้างในผลลำไยสดที่ผ่านกระบวนการรม SO2 ด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบปกติและแบบบังคับแนวตั้ง

ระบบหมุนเวียนอากาศ

ความเข้มข้น

ของ SO2 ที่ใช้

(ppm)

การป้องกันโรคและการเกิดสีน้ำตาลที่

เปลือกผล

ปริมาณ SO2 ตกค้าง (ppm) ในผลลำไยหลังจากรมทันที

ส่วนเปลือก

ส่วนเนื้อ

แบบปกติ

15,000-20,000

ü

1,800*

38*

แบบบังคับแนวตั้ง

4,000

ü

1,700

8

* สุ่มเก็บตัวอย่างผลลำไยสดจากสถานประกอบการจำนวน 7 แห่ง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

จากระดับความเข้มข้นของ SO2 ที่แตกต่างกันดังกล่าว เมื่อนำมาคำนวณในเชิงเปรียบเทียบถึงปริมาณแก๊ส SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงที่ต้องปล่อยเข้าไปในห้องรม SO2 ที่ได้ออกแบบขึ้นมาซึ่งมีความจุ 22.5 ลูกบาศก์เมตรแล้วพบว่า กรณีที่มีปริมาณผลลำไยเท่ากัน การใช้ระบบหมุนเวียนอากาศแบบปกติต้องปล่อยแก๊ส SO2 เข้าไปในห้องมากกว่าการใช้ระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้งประมาณร้อยละ 45 (ตารางที่ 2) หรือหมายความว่า ระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับสามารถลดปริมาณแก๊ส SO2 ได้ประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ระบบหมุนเวียนอากาศแบบปกติ

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบปริมาณแก๊ส SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงที่ต้องปล่อยเข้าไปในห้องเมื่อใช้ระบบหมุนเวียนอากาศต่างกัน

ระบบหมุนเวียน

อากาศ

ความเข้มข้นของแก๊ส

SO2 ที่ต้องใช้ (ppm)

ปริมาณแก๊ส SO2 ที่ต้องปล่อย

เข้าไปในห้อง

ความแตกต่าง

 

ผลลำไย 60 ตะกร้า

(660 กิโลกรัม)

ผลลำไย 120 ตะกร้า

(1,320 กิโลกรัม)

แบบปกติ

15,000-20,000

1.45

2.00

ร้อยละ 45

แบบบังคับแนวตั้ง

4,000

0.80

1.30

untitled 2

การตรวจสอบความสดของผิวเปลือกผลลำไยซึ่งผ่านการรม SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้งเปรียบเทียบกับผลลำไยของสถานประกอบการ

untitled 3

และจากการศึกษาเบื้องต้นร่วมกับผู้ประกอบการในการส่งผลลำไยสดที่ผ่านกระบวนการรม SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงด้วยระบบหมุนเวียนอากาศแบบบังคับแนวตั้งไปยังประเทศฮ่องกงและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วพบว่า ยังคงรักษาคุณภาพและสามารถขายหรือวางจำหน่ายได้เช่นเดียวกับผลลำไยสดที่ผ่านกระบวนการรม SO2 ตามกรรมวิธีโดยทั่วไปของสถานประกอบการ แต่สิ่งที่เป็นข้อแตกต่างซึ่งเป็นความคิดเห็นจากการสังเกตได้ของผู้ประกอบการคือ ผลลำไยที่ผ่านการรม SO2 จากถังอัดความดันโดยตรงมีความสดของผิวเปลือก โดยเฉพาะผิวเปลือกด้านในขาวและมองเห็นส่วนต่างๆ ของเซลล์ผิวได้ชัดเจนกว่าผลลำไยจากสถานประกอบการซึ่งมีสีน้ำตาลและเซลล์ผิวค่อนข้างแห้ง (ภาพที่ 1) สาเหตุนั้นอาจเป็นไปได้ว่า กระบวนการรม SO2 ของสถานประกอบการเป็นการเผาผงกำมะถันเพื่อให้ได้แก๊ส SO2 ออกมา ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูงถึง 250°ซ จึงจะสามารถเผาไหม้ผงกำมะถันได้ ดังนั้นจึงทำให้ภายในห้องรม SO2 มีความร้อนเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลลำไยดังกล่าวได้

ผู้อ่านท่านใดที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ผู้ช่วยศาสตราจารย์จักรพงษ์   พิมพ์พิมล  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร   มหาวิทยาลัยแม่โจ้    จ.เชียงใหม่    50290  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ในวันและเวลาราชการ

thainews

 

newpaper05