แม่โจ้สำรวจเด็กในเขตภาคเหนือพบชอบเกษตร 90.4%

พิมพ์

childแม่โจ้สำรวจเด็กในเขตภาคเหนือ พบชอบเกษตร 90.4 %

[blockquote]"เด็กร้อยละ 90.4 ชอบเรียนวิชาเกษตร แต่คิดจะเป็นเกษตรกรในอนาคต เพียงร้อยละ 29.3 เพราะส่วนใหญ่ไม่มีความถนัด และสนใจเรียนด้านอื่น ๆ มากกว่า"
[/blockquote]
ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย
การป้องกันกำจัด
ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่ นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้ นอกจากจะล้างออกยากแล้ว ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิด ลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด 3-4 มิลลิเมตร ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ แกนกลางของช่อดอก ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่ ไข่มีสีเหลืองอ่อน รูปร่างบางรี ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7-10 วัน ตัวอ่อนมีการลอกคราบ 4 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 17-19 วัน จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่ เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์ และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้ ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก เหลือแต่ช่อเปล่า โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน คือ มวนเพชฌฆาต จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
การป้องกันกำจัด
1. ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้ อัตราน้ำส้มควันไม้ 1 ส่วนต่อน้ำ 100-150 ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร) หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน (เซฟวิน 85) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
2. ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา 1: 150-200 ส่วน สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85 อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลาย
ช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอก
และช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต แคระแกรน แห้ง
ถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียว
หวาน เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ และจะเกิดราดำตามมา
 
การป้องกันกำจัด
ใช้น้ำส้มควันไม้ อัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 150 ส่วน ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล (เซฟวิน 85) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น
 
 
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9 ในวันและเวลาราชการ
 
child3ประเทศไทยที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม ในปัจจุบันนั้น ยังคงเป็นคำถามที่ต้องคอยหาคำตอบอยู่ว่า คนในประเทศเอง ยังคงให้ความสำคัญกับการเกษตรกรรม มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะเยาวชน ที่ถือเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้น ในวันที่ 14 มกราคม 2555  ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันเด็กแห่งชาตินั้น  ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร โดยแม่โจ้โพลล์  จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  และ 6  ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ  ระหว่างวันที่  26 ธันวาคม 2554 – 9 มกราคม 2555  จำนวน  934  ราย   ต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจในวิชาความรู้ด้านการเกษตรของเยาชน ในหัวข้อ “เด็กไทยกับการเกษตร อนาคตและความหวังของชาติ”   พบว่าข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้  เด็ก ร้อยละ 90.4 ยังคงชอบเรียนวิชาทางการเกษตรอยู่ เนื่องจากได้เรียนรู้สิ่งใหม่ และยังสามารถนำความรู้ด้านการเกษตรไปใช้ในหลาย ๆ สถานการณ์ และเด็ก ร้อยละ 99.1 เห็นว่าวิชาเกษตรมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน เพราะสามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้ แต่มีเด็กเพียงร้อยละ 29.3 ที่สนใจจะเรียนต่อด้านการเกษตร โดยส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจไม่เรียนต่อด้านการเกษตรเพราะ ไม่มีความถนัดในการทำการเกษตร และสนใจในการเรียนด้านอื่น ๆ มากกว่า  สำหรับผลการสำรวจในรายละเอียดอื่น ๆ มีผลสรุปดังต่อไปนี้
 
 
 

1. โรงเรียนมีการเรียนการสอนวิชาการเกษตรหรือไม่
มี ร้อยละ 95.5ไม่มี  ร้อยละ 4.5
 
2.นักเรียนชอบเรียนวิชาการเกษตร หรือไม่
ชอบ  ร้อยละ 90.4 โดยให้เหตุผลว่า  อันดับ 1 ร้อยละ 55.7ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ นอกจากนี้สามารถนำความรู้ด้าน      การเกษตรไปใช้หลายสถานการณ์ อันดับ 2  ร้อยละ 23.1    มีการได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง อันดับ 3  ร้อยละ 19.2    มีความสนุกสนานในการเรียน 
       ไม่ชอบ ร้อยละ  9.6  โดยให้เหตุผลว่า  อันดับ 1 ร้อยละ 66.2 เป็นวิชาที่เรียนแล้วทำให้เปื้อนดินและฝุ่น อันดับ 2  ร้อยละ 17.6 ความรู้ต่างๆปฏิบัติได้ยากและใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล อันดับ 3  ร้อยละ 9.5   ต้องใช้เวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ มากกว่า
 
3.นักเรียนคิดว่าวิชาการเกษตรมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันหรือไม่
มีประโยชน์  ร้อยละ 99.1 โดยให้เหตุผลว่า อันดับ 1 ร้อยละ 32.9 สามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ ครอบครัวได้ อันดับ 2  ร้อยละ 32.6สามารถนำความรู้ไปช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเช่น ปลูกผัก และผลไม้ทานเองที่บ้าน  อันดับ 3  ร้อยละ 19.7สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ 
ไม่มีประโยชน์ ร้อยละ  0.9
child2
4. นักเรียนเคยนำวิชาการเกษตรไปปรับใช้ที่บ้านหรือไม่
เคยร้อยละ 88.4โดยให้เหตุผลว่า  อันดับ 1 ร้อยละ 47.5 มีการทดลองปลูกผักกินเองที่บ้าน ทำให้ได้รับ ประทานผักที่ปลอดสารเคมี อันดับ 2  ร้อยละ 39.8 เพราะครอบครัวประกอบอาชีพด้านการเกษตร อันดับ 3  ร้อยละ 3.9 เพราะเป็นงานที่ครูผู้สอนให้ปฏิบัติเป็นการบ้าน 
ไม่เคย ร้อยละ  9.6 โดยให้เหตุผลว่า  อันดับ 1 ร้อยละ 47.1 ที่บ้านไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำการเกษตร อันดับ 2 ร้อยละ 31.8 ไม่มีเวลาในการทำการเกษตร  อันดับ 3 ร้อยละ 21.2 ไม่มีความสนใจในการทำการเกษตร
 
5. ในอนาคตนักเรียนสนใจที่จะเรียนทางด้านการเกษตรหรือไม่
 สนใจ  ร้อยละ 29.3โดยให้เหตุผลว่า  อันดับ 1 ร้อยละ 60.0 อยากมีความรู้ทางการเกษตรมากขึ้นและนำไปใช้ใน   ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการนำไปประกอบอาชีพได้  อันดับ 2  ร้อยละ 11.8 มีความสนใจในการเรียนด้านนี้อยู่แล้ว   อันดับ 3  ร้อยละ 10.0 เป็นวิชาที่เรียนรู้ได้ง่าย และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ
ไม่สนใจ ร้อยละ  70.7โดยให้เหตุผลว่า  อันดับ 1 ร้อยละ 96.4 เพราะไม่มีความถนัดในการทำการเกษตรและสนใจในการ เรียนด้านอื่นๆ มากกว่า อันดับ 2  ร้อยละ 1.9 เป็นอาชีพที่ไม่มีความมั่นคง มีความเสี่ยงสูง อันดับ 3  ร้อยละ 1.6ครอบครัวไม่ต้องการให้เรียนด้านการเกษตร 
 
รายงานโดย
เครือข่ายประชาสัมพันธ์คณะเศรษฐศาสตร์ นายจีระศักดิ์  วงษาปัน 053-875601

อาจารย์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และสมศักดิ์ ศิริ นักวิชาการเกษตร งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9