การเพาะเห็ดฟางสร้างรายได้งาม

    mus1เพาะเห็ดฟางสร้างรายได้งาม
    ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
    โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย
    การป้องกันกำจัด
    ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
    เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
    เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
    เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
    การป้องกันกำจัด
    1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
    2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
    เพลี้ยแป้ง
    เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลาย
    ช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอก
    และช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้ง
    ถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียว
    หวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
    การป้องกันกำจัด
    ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น
    ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์   นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ     ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9  ในวันและเวลาราชการ
    DSC01903          ในอดีตการทำนาโดยชาวนาจะใช้แรงงานคน และแรงงานจากสัตว์เท่านั้นทุกๆบ้านจะต้องมีคอกวัว หรือคอกควาย ในตอนเช้าจะเอาวัวและควายออกคอกเพื่อไปไถนา หรือเทียมเกวียนบรรทุกของ หรือเป็นพาหนะในการคมนาคม และเอาออกไปกินหญ้า ตอนเย็นจะเอากลับเข้าคอก และจะสุมไฟให้เพื่อไล่ยุงและแมลงต่างๆที่จะมากัด ผลพลอยได้จากการเลี้ยงสัตว์ ก็จะได้มูลวัวมูลควายมาทำปุ๋ยใส่ในนาข้าว โดยไม่ต้องซื้อหาปุ๋ยเคมี ประหยัดเงินและดินก็อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันการทำนาใช้เครื่องมือเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ ใช้รถแทรกเตอร์ไถนาแทนวัว ควาย ใช้รถเกี่ยวข้าวและนวดเป็นเม็ดข้าวเปลือกเลย ไม่ต้องใช้แรงงานจากคนลงแขกเกี่ยวข้าว ตากข้าว มัดข้าว นวดข้าว และขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง แต่ปัญหาที่เกิดตามมา คือ ข้าวมีความชื้นสูง ราคาตกต่ำโดนหักค่าความชื้น ต้นทุนสูง ที่ดินเป็นกรดเสื่อมโทรม เกิดมลภาวะ ขายข้าวเปลือกให้โรงสี ซื้อข้าวสารมาบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเผาฟางข้าว    
    ในบรรดาเห็ดเศรษฐกิจที่เพาะกันโดยทั่วไป เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะมากที่สุดในประเทศและมีการบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุการเพาะสั้นประมาณ 10-15 วัน วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดฟางมีหลากหลาย เช่น เปลือกถั่วเขียว, ทะลายปาล์มน้ำมัน. มันเส้น, ผักตบชวา, ต้นกล้วยสับแห้ง, ขี้เลื่อย, ฟางข้าวและตอซังข้าว
    การเพาะเห็ดฟางมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเหมือนกับการเพาะเห็ดอื่นๆ ไม่ต้องมีการนึ่งฆ่าเชื้อในวัสดุเพาะ ซึ่งมีองค์ประกอบในการเพาะง่ายๆ ได้แก่DSC00022
    1. วัสดุเพาะหลัก ได้แก่ ฟางข้าว, ตอซังข้าว, เปลือกถั่วเขียว, ขี้เลื่อยเก่าที่เพาะเห็ดถุงมาแล้ว  เป็นต้น
    2. หัวเชื้อเห็ดฟาง
    3. อาหารเสริม ได้แก่ ต้นกล้วยสับแห้ง, ผักตบชวา, ปุ๋ยคอกเก่าผสมกับดินร่วนในอัตรา 1:10 โดยปริมาตร และรำละเอียด
    4. พลาสติกใส
    5. แบบพิมพ์ รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาด 40x40x110-120 เซนติเมตร
    วิธีการเพาะ
    เตรียมพื้นที่เพาะเห็ด โดยให้พื้นดินมีความชื้นหมาดๆ และแช่ฟางข้าว, ตอซังข้าวหรือวัสดุที่ใช้เพาะทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน รวมทั้งอาหารเสริมให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถจัดเตรียมได้ ส่วนหัวเชื้อเห็ดฟางแต่ละถุง ให้ขยี่หัวเชื้อกระจายออกจากกันและแบ่งเป็น 4 ส่วน เท่าๆ กันเพื่อใส่ลงในแต่ละชั้นของกองฟาง หัวเชื้อ 1 ถุงใช้ได้ 1 กอง จากนั้นให้วางแบบพิมพ์ในพื้นที่เพาะเห็ดความยาวตามตะวัน
    DSC01898
    ขั้นตอนการเพาะ
    1. นำฟางที่แช่ไว้ขึ้นจากน้ำมาใส่ในแบบพิมพ์ กดด้วยมือให้แน่นสูงจากพื้นประมาณ 10 เซนติเมตร โรยอาหารเสริมลงบนวัสดุเพาะรอบๆ ทั้ง 4 ด้าน จากนั้นใช้หัวเชื้อที่เตรียมไว้โรยรอบทั้ง 4 ด้านเช่นเดียวกัน ก็เสร็จในชั้นที่หนึ่ง
    2. เมื่อทำชั้นแรกเสร็จ ก็นำฟางใส่ลงในแบบพิมพ์สูงจากชั้นแรกอีก 10 เซนติเมตร ใส่อาหารเสริมและหัวเชื้อเหมือนกับชั้นแรก ทำจนครบ 4 ชั้นต่อกอง ก็ถือว่าเสร็จในกองที่ 1 
    3. ทำการยกแบบพิมพ์ออกจากกองฟาง และวางแบบพิมพ์ให้ห่างจากกองแรกประมาณ 15 เซนติเมตร และให้ดำเนินเพาะเหมือนกองแรก โดยปกติกองเพาะเห็ดฟาง 10 กอง เรียกว่า 1 แปลง
    4. เมื่อเพาะเห็ดฟางได้ 5-10 กองแล้วก็จะนำพลาสติกใสมาคลุมกองฟาง เพื่อป้องกันความชื้นและเพิ่มอุณหภูมิภายในกองให้สูงขึ้น โดยให้ชายพลาสติกคลุมเหลื่อมกันบนสันกองและให้ชายโดยรอบห่างจากขอบข้างด้านละ 15-20 เซนติเมตร และทำการพลางแสงโดยรอบกองฟางด้วยฟางข้าวอีกครั้งหนึ่ง ในหน้าร้อนทิ้งไว้ 8-10 วัน ในหน้าหนาวทิ้งไว้ 15-20 วัน เห็ดฟางก็จะออกดอกและเก็บผลผลิตได้
    5. การเก็บผลผลิตดอกเห็ด ให้เลือกเก็บดอกเห็ดที่ตูมเต็มที่ จะได้คุณภาพดีที่สุด การเพาะเห็ดฟางในหนึ่งรุ่นจะเก็บผลผลิตได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน ก็จะเก็บเกี่ยวได้หมด โดยเฉลี่ยผลผลิตต่อกองได้ประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ให้บรรจุดอกเห็ดในภาชนะที่โปร่ง เช่น ตะกร้าหรือเข่ง ไม่ควรบรรจุเห็ดในถุงพลาสติก เพราะจะทำให้ดอกเห็ดบานเร็วขึ้นDSC01905
    ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  อ. ปรีชา รัตนัง สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร     มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จ. เชียงใหม่  50290   โทร.   053-873380      ในวันและเวลาราชการ   

    รายงานโดย

    อาจารย์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  และสมศักดิ์ ศิริ นักวิชาการเกษตร งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

     

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes