การรับจำนำข้าว

พิมพ์
r1-1การรับจำนำข้าว
ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย
การป้องกันกำจัด
ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
การป้องกันกำจัด
1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลาย
ช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอก
และช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้ง
ถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียว
หวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
การป้องกันกำจัด
ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์   นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ     ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9  ในวันและเวลาราชการ
r2             น้ำมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต คนอยู่กันเป็นชุมชน ทุกจังหวัดหลายประเทศ ถ้าหากพวกเขาสามารถเลือกที่จะอยู่อาศัยได้ แน่นอนพวกเขาต้องเลือกทำบ้านและชุมชนติดกับแม่น้ำลำคลอง ในอดีตที่ผ่านมาการคมนาคมทางรถยนต์ยังไม่มีถนนหนทางมากมายและทันสมัย ผู้คนต้องอาศัยสัญจรทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ แม่น้ำลำคลองจะเป็นที่ไปมาหาสู่ การขนส่งผู้คน และผลผลิตทางการเกษตร แม่น้ำยังเป็นปัจจัยที่จำเป็นในการทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช และการเลี้ยงปศุสัตว์ น้ำมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของผู้คนต้องใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค นอกจากนั้นน้ำยังช่วยในการทำอุตสาหกรรม และประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย แต่ทุกสิ่งทุกอย่างมีคุณอนันต์ ย่อมมีโทษมหันต์เช่นกัน ดังเช่นประเทศไทยต้องพบกับปัญหาอุทกภัยดังกล่าว เดือนนี้เป็นเดือนสิบสอง วันเพ็ญเดือนสิบสองน้ำนองเต็มตลิ่งเราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริงวันลอยกระทง มีเทศการแข่งเรือ และเทศการลอยกระทง เพราะน้ำมาก ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรทของคน ในหลายประเทศบริโภคข้าวเป็นหลัก และช่วงนี้เป็นช่วงที่ภูมิอากาศเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูหนาว กลางวันสั้นกลางคืนยาว ข้าวนาปีเป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสงจะออกดอกติดผลและเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป สำหรับในปีนี้รัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวนาปี โดยคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)ได้มติเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 อนุมติกรอบ ชนิดราคา ปริมาณ ระยะเวลา วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบกอบ วิธีการหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีผลิต 2554/55 และพิจารณาอนุมัติงบประมาณดำเนินการโครงการต่อไป สรุปดังนี้
ชนิดและราคาจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี ที่ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้ r1
1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม)           ตันละ 20,000 บาท
 2.ข้าวเปลือกหอมจังหวัด(40 กรัม)        ตันละ 18,000 บาท      
   (ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่(23จังหวัด)
3.ข้าวเปลือกประทุม(42 กรัม)               ตันละ 16,000 บาท
4.ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว      ตันละ 16,000 บาท      
   ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น       ตันละ 15,000บาท
5.ข้าวเปลือกเจ้า 100%               ตันละ 15,0
    ข้าวเปลือกเจ้า 5%       ตันละ 14,800 บาท    
    ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท    
    ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท    
    ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

 r3          ทั้งนี้ราคารับจำนำข้างต้นให้ปรับเพิ่ม-ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท เป้าหมายการรับจำนำ ไม่จำกัดปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำทั้งโครงการ ส่วนปริมารจ้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละรายจะจำนำได้ไม่จำกัดจำนวนเช่นกัน โดยต้องเป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และต้องมีหนังสือรับรองเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร และปลัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย ระยะเวลาการดำเนินการ ระยะเวลาการดำเนินการรับจำนำ 7 ตุลาคม 2554 – 29 กุมภาพันธ์ 2555 (ภาคใต้ 1 กุมภาพันธ์ 2554 – 31 กรกฎาคม 2555) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ ระยะเวลาโครงการ 7 ตุลาคม2554 – 30 กันยายน 2555 วิธีการรับจำนำ ให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมจังหวัด และข้าวเปลือกปทุมธานี เฉพาะใบประทวนเท่านั้น โดยให้ อคส. และ อ.ต.ก. รับสมัครโรงสี/ตลาดกลางเข้าร่วมโครงการเป็นจุดรับฝากข้าวเปลือกและจ่ายใบประทวนให้เกษตรกรนำข้าวเปลือกมาจำนำ เพื่อให้เกษตรกรนำใบประทวนไปจำนำกับ ธ.ก.ส. และธ.ก.ส. ต้องจ่ายเงินให้เกษตรกร ภายใน 3 วันทำการ โดยให้โรงสีที่รับฝากข้าวเปลือกไว้ดำเนินการสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารส่งมอบเข้าโกดังตามหลักเกณฑ์ แลมติของอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าว สำหรับตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการฯให้เก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ในโกดังที่ อคส./ อ.ต.ก.กำหนดเป็นโกดังกลาง ในกรณีรับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวให้รับจำนำใบประทวนเท่านั้น แต่ให้มีการพิจารณาจำนำยุ้งฉางเฉพาะพื้นที่ที่มียุ้งฉางเก็บรักษาและมีการดูแลได้มาตรฐานโดยในอดีตไม่เคยมีปัญหาสร้างความเสียหายให้ภาครัฐเท่านั้น ตามหลักเกณฑ์และมติคณะกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำข้าว หลักเกณฑ์การรับจำนำ ได้แก่ เกษตรกรผู้มีสิทธิจำนำ การจำนำข้ามเขตของเกษตรกร การจำนำข้ามเขตของโรงสีและตลาดกลาง การเข้าร่วมโครงการของโรงสีและตลาดกลาง การสีแปรสภาพ การเก็บรักษาข้าวสาร การระบายข้าว และการกำกับดูแล
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์   นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ
ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9
ในวันและเวลาราชการ

 

รายงานโดย

อาจารย์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  และสมศักดิ์ ศิริ นักวิชาการเกษตร งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9