เทคนิกการปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน 2 สี ตอนที่ 3

    11-16_1เทคนิกการปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน 2 สี ตอนที่ 3 บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่  13 พฤศจิกายน 2552 ปีที่ 40 ฉบับที่ 14,287 คอลัมม์ ทรัพย์ในดินสินในน้ำ..

    thainews

    11-16การปลูกข้าวโพดโดยทั่วไป  ถ้าปลูกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงสัตว์  เขาเรียกว่าทำไร่  ข้าวโพดเพื่อสีเอาเมล็ดหัวมาบดเพื่อการเลี้ยงสัตว์  ส่วนมากปลูกในพื้นที่สูง  โดยทั่วไปทางจังหวัดพิษณุโลก  เพชรบูรณ์  ใช้พื้นที่มาก  อาศัยน้ำฝน  แต่ถ้าเป็นข้าวโพดหวานสีเดียวหรือสองสี  เรียกกันว่าทำสวนข้าวโพด  จะทำแบบประณีตใช้พื้นที่ที่สามารถดูแลรักษาได้เป็นอย่างดี  ผลตอบแทนต่อไร่สูง  มีทั้งรวมกลุ่มกันผลิตเพื่อส่งขายให้บริษัท  หรือส่งให้พ่อค้าคนกลางรวบรวมผลผลิต  แต่การรวมกลุ่มราคาค่อนข้างจะแน่นอน  ซึ่งขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนในการให้ปุ๋ย  การให้น้ำ  การดูแลเกี่ยวกับโรค  แมลง  และการเก็บเกี่ยว  มีความสำคัญไม่น้อยกว่าตอนที่ 1  และตอนที่ 2

    รองศาสตราจารย์ประวิตร  พุทธานนท์  และทีมวิจัย  ซึ่งประกอบด้วยผู้ช่วยศาตราจารย์  ดร. ศิริชัย  อุ่นศรีส่ง  อาจารย์สุรินทร์  ดีสีปาน  และนายเสกสรร  สงจันทึก  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวาน  จนได้ข้าวโพดหวาน  2  สี  (พันธุ์ No. 4058 F1)  และได้ทดลองปลูกในหลายพื้นที่ในภาคเหนือพบว่าให้ผลผลิตที่ดี  จึงมีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกอย่างแพร่หลาย  ซึ่งการดูแลรักษาข้าวโพดหวาน  2  สี  (พันธุ์ No. 4058 F1)  ให้ได้ผลผลิตที่ดีมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

    1. การดูแลรักษา

    • การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เมื่อย้ายกล้าได้ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46–0–0  อัตรา 10 กก./ไร่ผสมกับ สูตร 15–15-15  อัตรา  15  กก./ไร่ โดยการละลายในน้ำ 80 ลิตร  รดบริเวณข้างโคนต้น  หรือใช้วิธีการหยอดที่โคนต้น
    • การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2  เมื่อย้ายกล้าได้ 14 วัน ใช้ปุ๋ยสูตรเดี่ยวกันกับครั้งที่ 1
    • การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3  เมื่อย้ายกล้าได้ 21 – 25 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่ ผสมกับสูตร 15-15-15  อัตรา 20 กก./ไร่ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืชและทำการคลุมโคน
    • ในกรณีปลูกด้วยเมล็ดให้ใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 (ดินเหนียว) หรือ สูตร 15-15-15  (ดินทราย)  อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อข้าวโพดอายุได้  25-30  วันหลังหยอดเมล็ด  ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0  อัตรา  30  กิโลกรัมต่อไร่
    • เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30-40 วัน   ต้นจะมีการแตกแขนงหน่อข้างลำต้นให้เด็ด ออกให้เหลือฝักบนเพียง 1 ฝัก  และควรตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ  เพราะอาจมีการเข้าทำลายของโรคราสนิม ใบไหม้แผลใหญ่ และการเข้าทำลายของหนอน เจาะลำต้นและฝัก
    11-16 11-22
    ภาพ ลักษณะของฝักที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว ภาพ การตัดต้นข้าวโพดก่อนการเก็บเกี่ยว

    ข้อควรระวัง

    • ควรทำการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยและคลุมโคน
    • ควรปล่อยน้ำเข้าแปลงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  หากพืชขาดน้ำจะทำให้การผสม เกสรไม่ดี  การติดเมล็ดจะไม่สม่ำเสมอ
    • ควรปลูกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม  ขนาดไม่ต่ำกว่า 1 งานขึ้นไป

    11-172. การเก็บเกี่ยว

    การเก็บเกี่ยวควรเก็บตามอายุ ฤดูแล้งและฤดูฝนอายุประมาณ 60-65  วัน  ฤดูปลายฝนหรือฤดูหนาว  อายุประมาณ 70-75  วัน โดยสังเกตดูเส้นไหมจะเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาลสุ่มตัวอย่างบีบเมล็ดจะมีน้ำสีขาวขุ่นหากยังไม่แก่จะมีลักษณะใส   หรือนับจากอายุวันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์  18-20  วัน  ทั้งแปลงควรมีการสุ่มตัวอย่างหลาย ๆ จุด  หากเก็บฝักอ่อน  เมล็ดจะเหี่ยวแฟบเร็ว

    ข้อควรระวัง

    • ควรตัดต้นออกในตอนเย็นและมาเก็บฝักในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้นและจัดส่งให้ตลาดโดยเร็วเพราะหากฝักข้าวโพดไม่ได้อยู่ในห้องเย็นจะทำให้ความหวานลดลงอย่างรวดเร็วและเมล็ดเหี่ยวแฟบทันที
    • ไม่ควรเก็บข้าวโพดหวานไว้ข้ามวันเพราะจะทำให้เมล็ดเหี่ยวแฟบ

    3. ศัตรูพืช

    • หนู ชอบเข้าทำลายช่วงหยอดเมล็ดปลูกและช่วงติดฝัก ป้องกันโดย
    • ไม่ใช้สารเคมี  เช่น  การดัก  การล้อมตี  การเขตกรรม  โดยการกำจัดวัชพืชอย่าให้แปลงปลูกรก  เพื่อหนูจะได้ไม่มีแหล่งหลบซ่อน
    • ป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี  ใช้เหยื่อพิษสำเร็จรูป  เช่น สะตอม  คลีแร็ต หรือใช้สารฆ่าแมลงที่กลิ่นเหม็น ๆ  ฉีดพ่นบริเวณรอบแปลง11-20

    4. คำแนะนำการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

    ชื่อโรค

    อาการของข้าวโพด

    สาเหตุของการแพร่กระจาย

    การป้องกันกำจัด

    1.  โรคราน้ำค้าง

     

     

    2.  โรคใบไหม้แผลเล็ก

     

     

    3.  โรคใบไหม้แผลใหญ่

     

    4.  โรคราสนิม

     

     

     

    5.  เพลี้ยอ่อน

    6.  เพลี้ยไฟ

     

    7. หนอนเจาะลำต้น

    8. หนอนเจาะฝัก

    ทางลายสีขาวบนใบ

    เกิดขึ้นได้ในระยะต้นอ่อน

    และระยะกล้า

    รอยแผลไหม้บนใบ

    ขนานกับเส้นใบ  อาจกลายเป็นแผลใหญ่

    รอยแผลขนาดใหญ่เกิด

    กับใบล่างๆก่อน

    มีตุ่มแผล (pustule) ทั้งด้านบนและ

    ล่างของใบ แผลเป็นสีสนิม

    -

    -

     

    -

    -

    ใบข้าวโพดที่เป็นโรค

    พืชอาศัย

     

    เชื้อติดไปกับเมล็ด

    ตกค้างในดิน

    หรือปลิวไปตามลม

    เชื้อแพร่กระจายโดยลม หรือติดไปกับเศษซากพืช

    เชื้อติดไปกับใบพืชและลม

     

     

     

    -

    -

     

    -

    -

    -ใช้เอพรอน 35 เอสดี 7 กรัมต่อน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม  หรือ

    ฟอร์รัม 20  กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วัน 2-3  ครั้ง

    กำจัดต้นที่เป็นโรคทิ้งออกจากแปลงและพืชอาศัย

    -ใช้สารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม -45 สลับกับแอนทราโคล

     

     

    -หลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่โรคระบาด กำจัดเศษซากพืช

    หรือใช้สารเคมี ไตรโฟรีน (ซาพรอน 20%EC) 60 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

    -ใช้สารเคมีไดฟิโนโคนาโซล  (สกอร์ 25% EC)  20  ซีซี / น้ำ 20  ลิตร

     

     

    -อิมิตาโครปิค (คอนฟิดอร์ 10% SL) 10 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

    -อิมิตาโครปิค (คอนฟิดอร์ 10% SL) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

    หรือ คาร์โบซันแฟน (พอร์) 40 ซีซี / น้ำ 20  ลิตร

    -เชื้อแบคทีเรีย (เชื้อ  Bt)  60-100 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร

    -methomyl 90% WP ในอัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง

    ท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน 2  สี  พันธุ์ No. 4058 F1 มีจำหน่ายที่ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่  โทรศัพท์  053-498169 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คุณเสกสรร   สงจันทึก   โทร.  08-61903535

    11-15รายงานโดย 
    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร 
    สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes