การทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกอย่างถูกวิธีเพิ่มผลผลิต

พิมพ์

32-1_1เกษตรอินทรีย์ ปลูกอย่างถูกวิธีเพิ่มผลผลิต  บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 9 เมษายน  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,436

สนใจปลูกพืชแบบอินทรีย์จะทำอย่างไร

 

แสงเดือน  อินชนบท

ครั้งที่แล้วผู้เขียนได้อธิบายความหมายของคำว่าเกษตรอินทรีย์กันไปเรียบร้อยแล้ว หวังว่าท่านผู้อ่านคงเข้าใจกันพอสมควร และครั้งนี้หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจที่จะหันมาทำการปลูกพืชในระบบอินทรีย์จะต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมวัสดุ  อุปกรณ์อะไรบ้าง

32-1การเลือกพื้นที่
1. ควรเลือกพื้นที่เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน ห่างแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน
2. ศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและสารเคมี ย้อนหลังอย่างน้อย 3  ปี
3. เลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดินเหนียว หน้าตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม
4.สังเกตจากพืชที่ขึ้นอยู่เดิม เก็บตัวอย่างดิน น้ำ ไปทำการวิเคราะห์

การวางแผนจัดการ

1.วางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอก ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การป้องกันทางน้ำโดนขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศโดยปลูกพืชกันชน ทั้งไม้ทรงสูง ทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลางต้นเตี้ย บนคันกั้นน้ำรอบแปลง
2.วางแผนป้องกันภายในจัดระบบการระบายน้ำ การเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และการเข้าออกไร่นา
3.วางแผนระบบการปลูกพืช เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสมใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค-แมลง พืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง

การเลือกพันธุ์ปลูก
1.คำนึงถึงสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ ความต้านทานต่อ โรคแมลง และวัชพืช ความหลากหลายของชนิดพืชในแปลง
2.ไม่ใช้พืชจีเอ็มโอ (พืชที่มาจาการตัดต่อสารพันธุกรรม)
3.ควรเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มาจาการปลูกแบบอินทรีย์

การปรับปรุงบำรุงดิน32-2
1.เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)
2.ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด
3.ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบสำหรับทำปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสนควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่)
4.ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช
5.ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต
6.ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน  ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดคงจะเก็บตัวอย่างดินและส่งวิเคราะห์  โดยติดต่อสอบถามข้อมูลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและการเก็บตัวอย่างดินที่ถูกต้องที่หมอดินประจำตำบลของท่าน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นหลักการอย่างคร่าวๆของการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งหากท่านผู้สนใจท่านใดที่ต้องการทำการปลูกพืชในระบบอินทรีย์อย่างจริงจังก็จะต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดของแต่ละข้อที่กล่าวมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกพอสมควร โดยท่านผู้อ่านสามารถติดต่อสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่ของเกษตรอำเภอหรือเกษตรจังหวัดทุกแห่งหรือสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทางอินเตอร์เนตซึ่งมีข้อมูลมากมายที่ท่านต้องการจะทราบ  ครั้งต่อไปผู้เขียนจะขอนำเสนอการปลูกพืชผักในระบบเกษตรอินทรีย์  ขอเชิญชวนท่านที่ใส่ใจในสุขภาพอย่าลืมติดตามอ่านกันฉบับหน้านะคะ

 

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์แสงเดือน  อินชนบทสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873071   ในวันและเวลาราชการ

รายงานโดย

นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์  และ นางจิรนันท์   เสนานาญ
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

นำเสนอข่าวโดย
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

thainewsnewpaper02