เกษตรอินทรีย์ ผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

พิมพ์

IMG_5893_1เกษตรอินทรีย์ ผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 2 เมษายน  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,427

เกษตรอินทรีย์ผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

แสงเดือน  อินชนบท

IMG_5897ปัจจุบันกระแสรักสุขภาพของคนเกิดขึ้นทุกประเทศทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย   โดยอัตราการเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษก็มีอยู่ไม่น้อยในแต่ละปี  โดยเฉพาะโรคมะเร็งนับว่าเป็นสาเหตุของการตายในลำดับต้นๆของประเทศไทย  ดังนั้นคนที่รักสุขภาพจึงหันมาบริโภคอาหารปลอดภัยกันเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ผู้เขียนคิดว่าผู้บริโภคหลายคนคงเคยซื้ออาหารที่ผ่านการผลิตหรือได้มาจากผลผลิตที่ผลิตในระบบของเกษตรอินทรีย์มาบ้าง  แต่อาจจะรู้เพียงว่าเป็นผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ปราศจากสารเคมี  ดังนั้นฉบับนี้ผู้เขียนขออธิบายความหมายของเกษตรอินทรีย์ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจก่อนว่าคืออะไร แล้วแตกต่างจากเกษตรปลอดภัยอย่างไร

เกษตรอินทรีย์คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการระบบนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ
และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม
IMG_7583เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย  (กรมวิชาการเกษตร)   หลายคนอาจสังสัยว่าแล้วทำไมต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ คำถามนี้ตอบได้ไม่อยากเลยเนื่องจากปัจจุบันการใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุ และกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหายและไร้สมรรถภาพความไม่สมดุลนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้นได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลิตผลมี แร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำ เป็นผลทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองของพืช พืชจะอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้การคุกคามของแมลงเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจะนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซอาหารและระบบการเกษตรของเรา ซึงก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันIMG_7591
จากรายงานการสำรวจขององค์กรการอาหารและการเกษตรแห่งประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ 4 ของโลก ใช้ฮอร์โมนเป็นอันดับ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร เป็นเงินสามหมื่นล้านบาทต่อปี เกษตรต้องมีปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูก ทำให้เกิดการลงทุนสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปีไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลให้เกษตรกรขาดทุน มีหนี้สินเพิ่มขึ้น การเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
การเกษตรสมัยใหม่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากดั้งนี้
1.  ความอุดมสมบรูณ์ลดลง
2.  ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีจึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม
3.  เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาดทำให้เกิดความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด
4. แม่น้ำและทะเลสาบปนเปื้อนด้วยสารเคมีและความเสื่อมโทรมของดิน
5. พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณที่กำหนด ทำให้เกดพิษภัยต่อผู้บริโภค
6. สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิม

IMG_7587นอกจากนั้นการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมซึงเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่ายจึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมากทำให้ตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อผู้บริโภค โรควัวบ้าที่เกดขึ้นจึงเป็นเสมือนสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกให้รู้ว่าการลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพียงเป็นการทรมานสัตว์ แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย

ครั้งต่อไปผู้เขียนจะเสนอหลักการผลิตพืชผักในระบบอินทรีย์ว่ามีขั้นตอนการทำอย่างไร หากมีการปลูกพืชในระบบเคมีอยู่ก่อนแล้วจะทำอย่างไรหากต้องการเปลี่ยนมาผลิตในระบบอินทรีย์



ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  อาจารย์แสงเดือน  อินชนบทสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873071   ในวันและเวลาราชการ

รายงานโดย

นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์  และ นางจิรนันท์   เสนานาญ
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

นำเสนอข่าวโดย
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

thainewsnewpaper01