การคัดเลือกลูกพันธุ์ปลานิล

พิมพ์

ni01การคัดเลือกลูกพันธุ์ปลานิล

ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย
การป้องกันกำจัด
ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
การป้องกันกำจัด
1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลาย
ช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอก
และช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้ง
ถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียว
หวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
การป้องกันกำจัด
ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์   นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ     ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9  ในวันและเวลาราชการ
ni01-1ปลานิลเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ไทยผลิตปลานิลได้สูงถึง 221,042 ตันในปี 2552  (กรมประมง 2554: ออนไลน์) คิดเป็น 42% ของผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และมีแนวโน้มการส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 1,014.6 ล้านบาท แม้ว่าลู่ทางการส่งออกสดใส แต่ปัญหาสำคัญในการเลี้ยงปลานิล คือ โรคปลานิลและปลาตายระหว่างการเลี้ยงเนื่องจากปัญหาคุณภาพน้ำ 

การคัดเลือกลูกพันธุ์ปลานิลที่แข็งแรง โตเร็วเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรค การได้มาซึ่งลูกปลาที่ดีก็ต้องมองกันถึงพ่อแม่พันธุ์ หากมีโอกาสควรไปเยี่ยมชมฟาร์มก่อนซื้อลูกปลา ต้องมั่นใจว่าฟาร์มผลิตมีมาตรฐานเชื่อถือได้ เช่น มีพ่อแม่พันธุ์จำนวนมากเพื่อป้องกันปัญหาเลือดชิด มีระบบการคัดเลือกและปรับปรุงสายพันธุ์ บางฟาร์มมีการรับประกันคุณภาพ 
ลูกพันธุ์จะต้องมีขนาดพอเหมาะไม่เล็กเกินไป เพราะจะมีอัตรารอดที่ต่ำ ขนาดสม่ำเสมอ ควรตรวจสอบรอยโรคและความแข็งแรงของลูกพันธุ์ โดยสังเกตจากลักษณะภายนอกด้วยตาเปล่า ลำตัวต้องไม่มีสีซีดผิดปกติ ตัวไม่เป็นรอยด่าง ไม่ช้ำเลือด หรือมีแผลบริเวณลำตัว เกล็ดไม่หลุด ครีบไม่หักกร่อน ไม่ว่ายน้ำและการทรงตัวที่ผิดไปจากปกติ เช่น อาการว่ายน้ำแบบควงสว่าน หรือเซื่องซึมว่ายน้ำช้าหรือไม่ค่อยว่ายน้ำเลย อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ได้ว่าลูกปลามีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย ni04

ปรสิตที่พบบ่อยบริเวณเหงือกและลำตัวของลูกปลานิล คือ เห็บระฆัง (Trichodina sp.)  ซึ่งมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ปลาที่ถูกเห็บระฆังเกาะจะมีเมือกมาก อาจทำให้เกล็ดหลุด ถ้าเกาะที่เหงือกมาก ๆ จะทำให้เหงือกกร่อน อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียได้ ปลิงใสเป็นปรสิตอีกตัวที่สร้างความเสียหายกับลูกปลานิล   ส่วนใหญ่พบเกาะอยู่ตามซี่เหงือกและบริเวณผิวหนัง ที่พบบ่อย คือ ไจโรแดคทิลัส (Gyrodactylus sp.) และแดคทิโรไจรัส (Dactyrogyrus sp.) ส่วนปลิงใสที่มักพบจำเพาะในปลานิล มีชื่อว่า ซิคลิโดไจรัส (Cichlidogyrus sp.) ปลาที่มีปรสิตพวกนี้เกาะอาจจะมีสีตัวเข้มกว่าปกติ กินอาหารน้อยลง หากมีเกาะบริเวณซี่เหงือกในปริมาณมาก ทำให้เหงือกบวม อักเสบและการแลกเปลี่ยนอากาศของปลาลดลง ทำให้ปลาตายได้ 
ni02

โรคตัวด่างเกิดจากเชื้อฟลาโวแบคทีเรี่ยม (Flavobacterium columnare ชื่อเดิม คือ Flexibacter columnaris) ปลามักติดเชื้อแทรกซ้อนเข้าไปหลังจากปลาเกิดแผลถลอก หลังจากตีอวน คัด
แยกหรือขนส่ง รวมทั้งปลาเครียดจากสภาวะที่ขาดออกซิเจนหรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ปลาจะมีตัวสีด่างซีดเป็นแถบ ๆ มีเมือกมากผิดปกติ ครีบกร่อน เหงือกกร่อน อาจมีการสร้างสารสีเหลืองเกิดขึ้นบริเวณบาดแผล ลูกปลาที่ติดโรคนี้จะตายจำนวนมากหรือตายหมดชุด ดังนั้นก่อนนำปลาลงบ่อควรจะแช่ลูกปลาในด่างทับทิบ 2 มิลลิกรัมในน้ำ 1 ลิตร นาน 30 นาที หรือเกลือแกง 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร 

การคัดเลือกสายพันธุ์ลูกปลานิล ก่อนนำมาเลี้ยง จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล เพราะถ้าลูกปลานิลที่ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ก่อน ก็มักจะทำให้เกิดปัญหาตามมาทีหลังในหลายด้าน ทั้งเรื่องโรค การเจริญเติบโต ปลาออกลูกในบ่อและระยะเวลาในการเลี้ยง ดังนั้น ก่อนจะหาลูกพันธุ์ปลานิลมาเลี้ยง ควรจะศึกษา หาข้อมูล วิธีการคัดเลือกลูกพันธุ์ปลานิล และแหล่งที่มาของลูกพันธุ์ปลานิลให้ละเอียด ก่อนจะตัดสินใจนำลูกพันธุ์ปลานิลมาเลี้ยง เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลเอง ni03

















ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูล หรือเจ้าของฟาร์มต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับคุณภาพลูกพันธุ์ปลานิล สามารถโทรปรึกษา ผศ.ดร.ชนกันต์ จิตมนัส คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร 053 873 470 – 2 หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. รวมทั้งสามารถติดตามข่าวเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำได้ทาง facebook โรคสัตว์น้ำ - คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

รายงานโดย

อาจารย์ พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ  และสมศักดิ์ ศิริ นักวิชาการเกษตร งานถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9