การเลี้ยงกุ้งฝอยเชิงพาณิชย์

    12-18การเลี้ยงกุ้งฝอยเชิงพาณิชย์ บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่  4 ธันวาคม 2552 ปีที่ 40 ฉบับที่ 14,304 คอลัมม์ ทรัพย์ในดินสินในน้ำ..

    จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาต้องยอมรับเป็นผลทำให้มีผู้ที่ตกงานมากมาย  ทำให้หลาย ๆ คนเห็นสัจจะธรรมที่ว่าอย่าทำอะไรเกินตัว  วิถีชีวิตแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  คือ  สิ่งที่เห็นได้จริง  ทำได้จริง  ใช้ในสิ่งที่จำเป็น  ในปัจจุบันคนอยู่ในวิถีชีวิตที่มีความอดทนน้อยลง  ความขี้เกียจมากขึ้น  หลายสิ่งหลายอย่างต้องหาซื้อใช้จากความขี้เกียจหรือไม่อดทนเลย  ต้องมีอันนั้น  อันนี้  แค่โทรศัพท์ที่มือถือก็บริโภคจนเกินควร  บางคนซื้อแพง ๆ  แต่ใช้ประโยชน์แค่การพูดคุย  บางคนมีหลายเครื่อง  หลายสิ่ง  หลายอย่าง  เราบริโภคจนเกินควร  เกินที่ทรัพยากรจะมีให้  ผลสุดท้ายก็เกิดผลกระทบในวงกว้าง  โดยเฉพาะผลเสียที่มีผลต่อมนุษย์เอง

    12-26การเลี้ยงสัตว์น้ำช่วยกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจได้  นอกจากเป็นส่วนหนึ่งในการทำการเกษตร  ทฤษฏีใหม่แล้ว  ยังสามารถทำเป็นเสมือนครัวหลังบ้านหรือเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้  กุ้งฝอยเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่หลายคนมองข้าม  แต่โดยแท้จริงแล้ว  กุ้งฝอยมีความสำคัญทั้งที่เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์น้ำอื่น ๆ  มีความสำคัญ  เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ  จากความต้องการที่สูงและมีปริมาณไม่เพียงพอ  เนื่องจากแหล่งน้ำในธรรมชาติลดลง  หลายแหล่งเกิดความเสื่อมโทรมทำให้ราคากุ้งฝอยในตลาดสูงถึงกิโลกรัมละ  200-300  บาท

    จากการศึกษาวิจัย  ดร.บัญชา  ทองมี คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จ. เชียงใหม่ โดยทุนสนับสนุนการวิจัยจาก  สวทช. (เครือข่ายภาคเหนือ)  และจากการวิจัยเพิ่มเติมโดยทุนส่วนตัว  ทำให้สามารถพัฒนาระบบการเพาะและเลี้ยงกุ้งฝอยได้ในระดับที่น่าพอใจ  แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไป

    กุ้งฝอยในประเทศไทยพบหลายชนิดแต่ที่พบมากและนิยมคือ  Macrobrachium  lanchesteri ชื่อสามัญ  เป็นกุ้งที่อยู่ในสกุลเดียวกับกุ้งก้าม12-27กราม  ลักษณะลูกกุ้งฝอยจึงมีลักษณะคล้ายกุ้งก้ามกรามมาก  แต่สามารถแยกได้โดยดูตรงบริเวณกรี  ซึ่งกุ้งก้ามกรามจะมีกรีที่มีลักษณะโค้งขึ้น  และมีซี่หยักฟันกรีที่มากกว่า คือ  12-17  ซี่  ขณะที่กุ้งฝอยมีกรีลักษณะตรง  ซี่หยักบริเวณกรี  มี  5-7  ซี่  กุ้งฝอยชอบอาศัยในน้ำที่ไหลไม่แรง  ความลึกไม่เกิน  1  เมตร  สะอาด  มีอินทรีย์สารและอาหารธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  กินอาหารได้ทุกชนิด  รวมทั้งซากพืชซากสัตว์  กุ้งฝอยที่สามารถนำมารับประทานจะมีขนาดตั้งแต่  2.5-3.5  ซม.  แต่ขนาดประมาณ  3  ซม.  จะเป็นขนาดที่พอเหมาะในการรับประทาน  กุ้งฝอยเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ภายนอก  เพศผู้และเพศเมีย  มีเพศแยกกัน  ไข่ที่ถูกปล่อยออกมาจะผสมกับน้ำเชื้อที่ถูกเก็บเอาไว้แล้วและถูกเก็บไว้ที่ด้านท้องบริเวณที่มีขาว่ายน้ำด้วยเมือกเหนียว  และจะใช้เวลาในการพัฒนาการของไข่ประมาณ  25  วัน  จึงฟักออกเป็นตัวหลังจากฝักออกเป็นตัวจะทำการอนุบาลประมาณ  1  เดือนเพื่อให้ลูกกุ้งมีความแข็งแรง  อาหารที่ใช้อนุบาลลูกกุ้งคือ  ไข่แดงต้มสุกในสัปดาห์แรก  (โรติเฟอร์)  ในสัปดาห์ที่ 2  และ 3  และเสริมไรแดงในสัปดาห์ที่ 4  หลังจากนี้จะนำไปเลี้ยงในบ่อดิน  ขนาด  1-2  งาน  ด้วยอาหารสำเร็จรูป  หรือ  อาหารที่ผลิตเอง  ต้นทุนประมาณ  20  บาทต่อ  1  กิโลกรัม

    12-19

    สูตรอาหารประกอบด้วย

    1.  กากถั่วเหลือง                  30%

    2.  ปลาป่น                            25%

    3.  น้ำมันพืช                        3%

    4.  น้ำปลาหมัก                    1%

    5.  แป้งมัน                           6%

    6.  ปลายข้าวต้มสุก             10%

    7.  รำละเอียด                      25%

    รวม                                        100%

    1.  เตรียมบ่อปล่อยน้ำออกจากบ่อ  ตากบ่อให้แห้ง  บ่อเก่าให้หว่านปูนขาว  60-120  กก.  ต่อไร่12-20

    เติมน้ำ  (โดยผ่านถุงกรอง)  30-40  ซม.  ใส่ปุ๋ยมูลไก่

    60-100  กก. ต่อไร่  ทิ้งไว้  4-5  วัน  จนมีสีเขียวอ่อนเติมน้ำจนได้คราบลึก  80-100  ซม.
    12-212.  เตรียมกระชังเพาะฟักใช้กระชังผ้าโอล่อนแก้วหรือ

    ผ้าขาวที่ละเอียด ขนาด  1x1x80  เมตร

     

    12-22

     

     

     

     

    12-233.  เตรียมตะแกรงพลาสติกขนาดตา  0.5  ซม.เพื่อใส่พ่อแม่พันธุ์

     

     

     

     

     

     

    4.  เตรียมแม่พันธุ์โดยคัดเลือกแม่กุ้งไข่แก่ที่ไข่มีจุดตา  2  จุด12-24

    วิธีการเพาะ

    นำแม่กุ้งไข่แก่ใส่ในตะแกรง  เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัว  รวบรวมลูกกุ้งที่มีอายุเดียวกันไปอนุบาลต่อ  จนมีอายุ  1  เดือน  ซึ่งเป็นขนาดประมาณ  1  ซม.  ซึ่งเป็นขนาดที่แข็งแรงสามารถรอดจากศัตรูธรรมชาติได้  การอนุบาลจะอนุบาลในกระชังที่กว้างในบ่อดิน  กุ้งจะเจริญเติบโตเร็วเนื่องจากมีอาหารธรรมชาติเพิ่มเติมจากอาหารที่ให้

     

     

    12-25การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน  สามารถปล่อยได้ตั้งแต่  100-1,000  ตัวต่อตารางเมตร  จะมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วที่สุด  แต่การปล่อยที่มากถึง  1,000  ตัวต่อตารางเมตร  จะได้ผลผลิตรวมต่อรารางเมตรต่อระยะเวลา  3  เดือน  มากกว่าและคุ้มค่ากว่าการให้ระบบอากาศลงไปจะทำได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
    การเลี้ยงกุ้งฝอยต้องระวังศัตรูธรรมชาติ  เช่น  ลูกอ๊อดของกบ  เขียด  ตัวอ่อนแมลงปอ  มวนกรรเชียง  ที่จะมากินลูกกุ้งฝอยได้  (ในกรณีที่ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงเพาะในบ่อดินโดยตรง)
    การให้อาหารโดยผสมกับอาหารที่ผ่านการหมักจะทำให้กุ้งฝอยเข้ากินอาหารดีขึ้นและมีขนาดที่สม่ำเสมอกัน

    ขอรายละเอียดเพิ่มเติมจาก  ดร. บัญชา  ทองมี  ได้ที่  053-498178  คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จ. เชียงใหม่

    12-26_1รายงานโดย

    ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร 
    สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
    มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes