เทคนิกการต่อกิ่งมะม่วง การต่อกิ่งหรือการเสียบกิ่งคือการสอดส่วนของพืชหรือกิ่งพืชต้นหนึ่งลงบนต้นพืชอีกต้นหนึ่ง และส่วนทั้งสองของพืชจะเชื่อมประสานติดต่อกัน และเจริญไปเป็นพืชต้นใหม่...
การทำอาชีพด้านการเกษตรโดยเฉพาะการทำสวนไม้ผล สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องคำนึงถึงคือ การคัดเลือกต้นพันธุ์ดี มีประวัติการให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด จากนั้นจึงขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ดีให้มากขึ้น ไม้ผลชนิดหนึ่งอาจขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีความยากง่ายและมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้นนักขยายพันธุ์จึงจำเป็นที่จะต้องทราบถึงวิธีที่เหมาะสมของไม้ผลแต่ละชนิด และควรทราบถึงเทคนิคและขั้นตอนการขยายพันธุ์พืชแต่ละวิธี เพื่อช่วยให้การขยายพันธุ์พืชประสบผลสำเร็จมากขึ้น ในที่นี้จะขอนำเสนอเทคนิคการต่อกิ่ง ซึ่งการต่อกิ่งเป็นศิลปะของการต่อชิ้นเนื้อเยื่อพืช 2 ชิ้นเข้าด้วยกันด้วยวิธีต่างๆ เมื่อแผลเชื่อมกันสนิทแล้วเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกันชิ้นส่วนที่อยู่ด้านบนรอยต่อเรียกว่า กิ่งพันธุ์ดี ส่วนที่อยู่ด้านล่างรอยต่อทำหน้าที่รากเรียกว่าต้นตอ ในปัจจุบันการต่อกิ่งได้รับความนิยมทำเป็นการค้าในไม้ผลหลายชนิด ได้แก่ พืชตระกูลส้ม มะม่วง มะขาม ขนุน มะปราง และน้อยหน่า ในฉบับนี้จะขอนำเสนอเรื่อง เทคนิคการต่อกิ่งมะม่วง มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้ |
ภาพที่ 1 อุปกรณ์ในการต่อกิ่ง |
ภาพที่ 2 เลือกต้นตอและยอดพันธุ์ให้มีขนาดใกล้เคียงกัน |
ภาพที่ 3 ผ่าตรงกลางต้นตอลึก 2.5 – 5 เซนติเมตร (1-2 นิ้ว) โดยชี้ ปลายมีดลง |
ภาพที่ 4 เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวเท่ากับรอยแผล ของต้นตอ |
ภาพที่ 5 สอดแผลของกิ่งพันธุ์ดีลงบนต้นตอจัดให้กิ่งชิดด้านใดด้านหนึ่ง |
ภาพที่ 6 พันด้วยพลาสติก(ซ้าย) ใช้ เชือกฟางผูกแทนการพัน พลาสติก(ขวา) |
ภาพที่ 7 นำกิ่งที่ต่อใส่ไว้ในถุงพลาสติกใสมัดปากถุงให้ | ภาพที่ 8 ประมาณ 25-30 วันยอดพันธุ์ดีจะเริ่มแตกใบให้เปิดปากถุงอีกประมาณ 5 วันจึงนำต้น |
ภาพที่ 9 เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวเท่ากับรอยแผลของต้นตอ(ซ้าย) สอดกิ่งพันธุ์ดีลงบนต้นตอจัดเยื่อเจริญให้ |
ภาพที่ 10 พันพลาสติกให้มิดยอดนำต้นพันธุ์ที่ต่อกิ่งไว้ในโรงเรือนที่มีแสงส่องไม่เกิน 30% |
ภาพที่ 11 หลังต่อกิ่ง 12 วัน ยอดพันธุ์ดีเริ่มแตกใบให้เปิดพลาสติกเฉพาะบริเวณยอด(ซ้าย) |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.พาวิน มะโนชัย นางจิรนันท์ เสนานาญ สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 053-875122 มือถือ 081-9515907
รายงานโดย
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9