มารู้จักน้อยหน่ากันเถอะ

     a0013 1มารู้จักน้อยหน่ากันเถอะ

    a0012เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีความสำคัญเดือนหนึ่งของพี่น้องประชาชนคนไทย วันที่ 12 สิงหาคม ที่ผ่านมาเป็นวันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่มีความสำคัญของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่ และเดือนนี้ก็เป็นฤดูกาลของผลไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานเป็นผลไม้ที่คนทั่วไปรู้จักกิน แต่หาน้อยคนมากที่จะรู้จักพันธุ์และชนิดของมัน ผลไม้ชนิดที่ว่านี้คือ น้อยหน่า ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะประสบกับปัญหาในการเลือกซื้อเลือกหาผลไม้ที่ตัวเองต้องการรับประทาน แต่มักจะพบกับผลไม้ชนิดนั้น ๆ ทำไมจืดชืด รสชาติไม่หวาน เปรี้ยวมาก ยังไม่สุกแก่เลยทำไมเอามาขายแล้ว ทำไมข้างนอกสวยงามแต่ข้างในมีแต่หนอน บางครั้งรับทานผลไม้ชนิดนั้นแล้วเข็ดขยาดและบอกกับตัวเองว่าในชาตินี้จะไม่ซื้อมากินอีกเลย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปพบอาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด และคณะที่สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำต้นกล้าพันธุ์น้อยหน่าจากสถานีวิจัยปากช่องมาปลูกและทำการวิจัยที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 12 สายพันธุ์ อาจารย์เรืองศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับน้อยหน่า นานกว่า 20 ปี และเป็นผู้ที่ปรับปรุงพันธุ์ไม้ผลสกุลน้อยหน่าและได้เผยแพร่เป็นพันธุ์การค้าถึง 2 พันธุ์ คือ พันธุ์เพชรปากช่องและพันธุ์เนื้อทอง และต่อไปนี้ผู้เขียนและอาจารย์เรืองศักดิ์ จะได้แนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับน้อยหน่า

    น้อยหน่า มีชื่อสามัญ Sugar Apple , Sweetsop, Custard Apple ภาคเหนือเรียกว่า มะนอแน้ ภาคใต้เรียกว่า ลงหนัง การจำแนกน้อยหน่า โดยทั่วไปจะจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ เช่น สีผิวของผล สีเนื้อและชนิดของเนื้อ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

    patch51.น้อยหน่าพื้นเมืองหรือน้อยหน่าฝ้าย แบ่งออกได้ 2 สายพันธุ์ ตามลักษณะของสีผล คือ น้อยหน่าฝ้ายเขียวซึ่งมีผลสีเขียว กับน้อยหน่าฝ้ายครั่งมีผลสีม่วงเข้ม น้อยหน่าฝ้ายโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือ ลำต้นกลม เปลือกสีน้ำตาล พุ่มต้นมีรูปทรงแบบที่มีกิ่งก้านสาขาด้านกว้างมากกว่าความสูง ใบเป็นรูปไข่หรือโอวอนแลนซีโอเลท (oval lanceolate) สีใบเขียวในน้อยหน่าฝ้ายเขียว และสีเขียวเข้มในน้อยหน่าฝ้ายครั่ง ด้านล่างของใบสากมือเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมฐานใบเป็นมุมป้าน ความยาวเฉลี่ย 12.32 ซม. ความกว้าง 5.13 ซม. ใบเรียงสลับกันออลเทอร์เนท (alternate) ลักษณะภายนอก ผลมีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆรูปร่างผลรูปหัวใจ ความยาวเฉลี่ย 6.78 ซม. ความกว้างเฉลี่ย 6.86 ซม. น้ำหนักเฉลี่ย 182.2 กรัม ผลอ่อนนุ่มเมื่อสุกมักแตกจากขั้ว ลักษณะภายใน เนื้อหยาบเป็นทราย เปลือกไม่ล่อนเมื่อปอกเปลือกเนื้อกับเมล็ดมักมักติดเปลือก เนื้อยุ่ยไม่จับตัวเป็นก้อน เนื้อในสีขาวในน้อยหน่าฝ้ายเขียว และสีขาวอมชมพูในน้อยหน่าฝ้ายครั่ง มีกลิ่นหอม รสหวาน เปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ย 17.2 % เมล็ดสีดำเป็นมันเมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาล จำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อผล 50 เมล็ด การสุกประมาณ 1 วันpatch7


    2. น้อยหน่าหนังหรือน้อยหน่าญวน แบ่งได้ 3 สายพันธุ์ คือ น้อยหน่าหนังเขียวมีผลสีเขียว น้อยหน่าหนังทองเกิดจากการเพาะเมล็ดของน้อยหน่าหนังเขียวแล้วกลายพันธุ์ผลมีสีเหลืองทอง และน้อยหน่าหนังครั่งเกิดจากการเพาะเมล็ดของน้อยหน่าหนังเขียวแล้วมีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับหนังทองแต่มีผลสีม่วงเข้มคล้ายน้อยหน่าฝ้ายครั่ง น้อยหน่าหนังโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือ ลำต้นกลมเปลือกสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น ทรงพุ่มเป็นรูปโดม (dome shaped) ใบมีรูปร่างรูปไข่และรูปหอก ปลายใบเรียวแหลมเล็กน้อย ด้านบนของใบสีเขียวเข้ม ในน้อยหน่าหนังเขียว สีเหลืองทองในน้อยหน่าหนังทอง และสีเขียวเข้มเกือบคล้ำในน้อยหน่าหนังครั่ง ส่วนด้านล่างของใบสีอ่อนกว่าด้านบนเล็กน้อย ความยาวเฉลี่ยของใบ 11.55 ซม. ความกว้างเฉลี่ย 5.0 ซม. ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.5 ซม. การจัดเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ ลักษณะภายนอกของผล ตากว้างไม่ค่อยนูน ร่องตาตื้น ผลอ่อนนุ่มเมื่อสุกมักแตกจากขั้ว ผลยาวเฉลี่ย 6.87 ซม. กว้างเฉลี่ย 7.37 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 180 กรัม ลักษณะภายในผล เนื้อสีขาวในน้อยหนังเขียว สีขาวอมชมพูในน้อยหน่าหนังครั่ง และสีขาวอมเหลืองในน้อยหย่าหนังทอง เนื้อละเอียด เปลือกล่อนเป็นแผ่นล่อนจากเนื้อได้ เนื้อมาก เนื้อเหนียว กลิ่นหอม รสหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ย 17.9% เมล็ดสีดำเป็นมัน จำนวน 41 เมล็ดต่อผล การสุกประมาณ 2 วัน


    น้อยหน่าพันธุ์ลูกผสม


    1.พันธุ์เพชรปากช่อง เกิดจากรูปผสมระหว่าง (เชริมัวย่าXหนังครั่ง)Xหนังเขียว#102 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบขนาดกลาง รูปหอกกว้าง 7.4 ซม. ยาว 17.9 ซม. สีpatch6เขียวเข้ม เส้นใบเด่นเห็นชัดเจน ทรงพุ่มโปร่งปานกลาง ดอกใหญ่กว้าง 0.9 ซม. ยาว 2.8 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจกว้าง 9 ซม. ยาว 9.7 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 436.8 กรัม/ผล ผิวค่อนค้างเรียบ มีร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนัง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดสีเขียวอ่อนขาวนวล เปลือกบางลอกเปลือกได การแตกของผลน้อยเมื่อแก่หรือสุก เนื้อเหนียวคล้ายน้อยหน่าหนัง ปริมาณเนื้อ72.4 % เมล็ดสีน้ำตาลอ่อนเฉลี่ย 19 เมล็ดต่อผล รสชาติหวานหอม ความหวาน 20 บริกซ์ การสุกช้าเฉลี่ย 4.9 วัน อายุหลังการเก็บเกี่ยวยาวนาน เริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นอายุ 2 ปีหลังปลูก เมื่อตัดแต่งสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปี การติดผลดกกระจายทั่วต้น อายุ 2 ปีเริ่มให้ผลผลิตเฉลี่ย 2.2 กก./ต้น/ปี อายุ 3 ปี เฉลี่ย 4.4 กก./ต้น/ปี และอายุ 4 ปีเฉลี่ย 37.9 กก./ต้น/ปี เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีเมล็ดน้อยจึงทำให้มีผลบิดเบี้ยวและมีขนาดของผลที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่มีการติดผลง่ายทำให้สามารถเลือกไว้ผลที่มีรูปทรงตามต้องการได้


    2. พันธุ์เนื้อทอง
    เกิดจากลูกผสมระหว่าง (เซริมัวย่า x หนังเขียว) x หนังเขียว #31 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบขนาดใหญ่รูปหอกกว้าง 7.8 ซม. ยาว 18.3 ซม. สีเขียวอกเหลือง เส้นใบเด่นเห็นชัดเจน ทรงพุ่มโปร่ง ดอกใหญ่สั้น กว้าง 0.8 ซม. ยาว 2.9 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจกว้าง 8.8 ซม. ยาว 9.9 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 504.8 กรัม/ผล ผิวผลเรียบไม่มีร่องตา ผลอ่อนสีเขียวอ่อนเมื่อแก่จัด สีขาวนวล การแตกของผลปานกลางเมื่อสุก เปลือกหนามีส่วนของเมล็ดทรายอยู่ระหว่างเปลือกด้านในติดกับเนื้อ เนื้อสามารถแยกออกเป็นพูๆ ได้ไม่ติดกัน ปริมาณเนื้อ 64.0 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดสีดำเฉลี่ย 23.3 เมล็ด/ผล รสชาติหวานหอม ความหวาน 18.9 บริกซ์ การสุกเฉลี่ย 4.5 วัน อายุหลังการเก็บเกี่ยวขาวนาน เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 ปีหลังปลูก เมื่อตัดแต่งสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปีการติดผลดกกระจายทั่วต้นแต่ในบางฤดูมีการติดผลค่อนข้างยาก มีขนาดผลสม่ำเสมอไม่แตกต่างกันมาก อายุ 2 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 1.78 กก./ต้น/ปี อายุ 3 ปีเฉลี่ย 2.14 กก./ต้น/ปี และอายุ 4 ปีเฉลี่ย 13.62 กก./ต้น/ปี


    น้อยหน่าพื้นเมือง  หรือ น้อยหน่าฝ้าย

     

    เปรียบเทียมความแตกต่าง

    ลักษณะทั่วไป

    น้อยหน่าฝ้ายเขียว

    น้อยหน่าฝ้ายครั่ง

    สีของใบ

    เขียว

    เขียวเข้ม

    รูปร่างของผล

    รูปหัวใจ

    รูปหัวใจ

    น้ำหนักผล

    180  กรัม

    180  กรัม

    สีของผล

    เขียว

    ม่วงเข้ม

    สีของเนื้อ

    ขาว

    ขาวอมชมพู

    เปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ย

    17.2  องศาบริกซ์

    17.2  องศาบริกซ์

    การสุก

    24  ชั่วโมง

    24  ชั่วโมง

     

     น้อยหน่าหนัง หรือ น้อยหน่าญวน

     

    เปรียบเทียมความแตกต่าง

    ลักษณะทั่วไป

    น้อยหน่าหนังเขียว

    น้อยหน่าหนังทอง

    น้อยหน่าหนังครั่ง

    สีของใบ

    เขียวเข้ม

    เขียวออกเหลืองทอง

    เขียวเข้มเกือบคล้ำ

    รูปร่างของผล

    รูปหัวใจ

    รูปหัวใจ

    รูปหัวใจ

    น้ำหนักผล

    180  กรัม

    180  กรัม

    180  กรัม

    สีของผล

    เขียว

    เขียวออกทอง

    ม่วงเข้ม

    เปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ย

    17.9  องศาบริกซ์

    17.9  องศาบริกซ์

    17.9  องศาบริกซ์

    การสุก

    2  วัน

    2  วัน

    2  วัน

     

    patch1 patch2
    ต้นน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง ผลน้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง
    naug2 naug1
    ต้นน้อยหน่าพันธุ์หนัง ผลน้อยหน่าพันธุ์หนัง
    patch3 patch4

     

    ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    อาจารย์ เรืองศักดิ์ กมขุนทด สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ตำบลปากช่อง  อำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมา

    อาจารย์พิชัย สมบูรณ์วงศ์ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9 ในวันและเวลาราชการ

    © 2017 Your Company. All Rights Reserved. Designed By agethemes.com.com
    Free Joomla! templates by AgeThemes