กระเจี๊ยบเขียว คุณค่ากับภูมิปัญญาไทย

พิมพ์

DSC02000_1กระเจี๊ยบเขียว คุณค่ากับภูมิปัญญาไทย ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันที่ 26 มีนาคม  2553 ปีที่ 40  ฉบับที่14,420

DSC02006 กระเจี๊ยบเป็นพืชที่นำมาประกอบเป็นอาหาร  และเป็นที่รู้จักของคนเกือบจะทั่วโลก  และคนไทยปลูกกระเจี๊ยบไว้บริโภคทั่วทุกภาคของประเทศ  แต่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่คุ้นเคยและรู้จักเท่าไรนัก  กระเจี๊ยบที่ปลูกกันในประเทศมี  2  ชนิดคือ  กระเจี๊ยบเขียวและกระเจี๊ยบแดง  กระเจี๊ยบแดงนำมาทำน้ำกระเจี๊ยบ  ผลไม้กวน  ทำแกงส้ม  และทำชากระเจี๊ยบได้  ส่วนกระเจี๊ยบเขียวใช้ปรุงอาหาร  เช่น  แกงส้ม  แกงใส่ปลาย่าง  เครื่องเคียงน้ำพริก  และย่างกินกับหมูหรือเนื้อย่างเกาหลี  นอกจากจะนำมาปรุงอาหารและเครื่องดื่ม กระเจี้ยบยังมีคุณค่าและสรรพคุณทางสุมนไพรหลายชนิด  กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุประมาณ 1 ปี เจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน คือมีอุณหภูมิระหว่าง 18-35 องศาเซลเซียสมีถิ่นกำเนิดจากประเทศซูดาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น : มีขนหยาบและมีความสูงประมาณ 1-2  เมตร

ใบ : ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายฝ่ามือเรียงสลับกัน และมีขนหยาบ

ดอก : มีสีเหลือง ที่โคนกลีบด้านในมีสีม่วงออกแดง ออกตามซอกใบ ก้านชูเรณูรวมกันเป็นลักษณะคล้ายหลอด

ฝัก : คล้ายนิ้วมือผู้หญิง ตามฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว ฝักอ่อนมีรสชาติหวานกรอบอร่อย ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียวuntitled 1

แหล่งเพาะปลูก

ในประเทศไทยนั้นพื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวมาก ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง มีหลายจังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร พิจิตร กาญจนบุรี ราชบุรี ระยอง และนครนายก

การปลูก
กระเจี๊ยบเขียวสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี  แต่ในฤดูหนาวจะให้ผลผลิตที่ต่ำเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำ ทำให้ต้นเตี้ย แคระแกรน  ออกดอกไว  การเตรียมดินควรไถพลิกหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ และเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินโดยการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือหว่านพืชตระกูลถั่วปล่อยทิ้งไว้จนออกดอกแล้วจึงทำการไถกลบ การปลูก ในฤดูฝนและฤดูแล้งใช้ระยะปลูก 50 x  50 เซนติเมตร  (6,400 หลุมต่อไร่) คลุกเมล็ดด้วย สารเคมีไอโปรไดโอน 50% wp อัตรา 60 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1  กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์  หยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด ถอนแยกเมื่ออายุได้ 30 วัน ให้เหลือจำนวนหลุมละ 2 ต้น

การดูแลรักษา

หลังปลูก  15 – 20 วันควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ทุก 20 วัน

โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนส  เมื่อปรากฏโรคควรฉีดป้องกันด้วยเชื้อบาซิลลัส (BT) ฉีดพ่นในอัตรา 30 -50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  หรือใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา  แมนโคเซป หรือ ไธอะเบนดาโซล ฉีดพ่นตามฉลากแนะนำ  ส่วนโรคเส้นใบเหลือง  ที่มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะนำโรคไวรัส ฉีดพ่นด้วย คาร์โบซัลแฟน หรือ ฟิโปรนิล

DSC02000 แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย ให้ฉีดพ่นด้วยเชื้อบาซิลลัส (BT) ฉีดพ่นในอัตรา 60 - 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  หรือใช้สารสกัดธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากสะเดา ฉีดพ่นในอัตรา  60 – 80  ซีซี ต่อนำ 20 ลิตร ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน และอาจใช้การจัดการเกษตรที่ดีเข้าช่วยด้วยการปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช

การเก็บเกี่ยว

เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 45 - 50 วัน ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน สามารถเกี่ยวได้ ทั้งช่วงเช้าและบ่าย แต่การเก็บเกี่ยวในช่วงบ่ายไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจาการระคายเคืองจากขนของกระเจี๊ยบเขียว  โดยการใช้ตัดทีละฝักตัดที่ขั้วให้เหลือก้านประมาณ 1  เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

1. เมื่อกระเจี๊ยบเขียวอายุได้ 40 วันจะเริ่มออกดอก หลังจากดอกบาน 5 วัน จะสามารถเก็บเกี่ยวได้

2. ต้องเก็บกระเจี๊ยบเขียวทุกวัน ไม่ปล่อยฝักที่สามารถตัดได้ทิ้งไว้บนต้น เพราะฝักกระเจี๊ยบเขียวโตเร็วมาก

3. ในระหว่างเก็บเกี่ยวให้ตัดใบทิ้งครั้งละใบพร้อมกับการตัดฝักทุกครั้ง เพราะจำนวนใบที่มากเกินไปจะทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงฝักล่าง ฝักจะมีสีซีด และยังเป็นการป้องกันการเป็นแหล่งของศัตรูพืช

4. ใช้มีดคมตัดขั้วทีละฝัก ตัดขั้วให้ตรง วางในภาชนะอย่างระมัดระวัง ไม่โยน

5. ใส่ถุงมือผ้าหรือถุงมือยางทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระคายผิวหนัง

6. เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว รีบนำเข้าที่ร่ม การระบายอากาศดี

7. คัดแยกฝักที่ไม่ได้คุณภาพออก

DSC02351

ลักษณะประจำพันธุ์แม่โจ้ 49 และ แม่โจ้ 70 ปี

แม่โจ้ 49

แม่โจ้ 70 ปี

- ทนทานโรคเส้นใบเหลือง

-อายุการออกดอก  42-45 วัน

- ข้อที่ออกดอกแรก  ข้อที่  5

-ความสูงเฉลี่ยเมื่อดอกแรกบาน 80 เซนติเมตร

- ความสูงเฉลี่ยเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย  216.26  เซนติเมตร

- จำนวนกิ่งแขนงต่อต้น   4 – 5  กิ่ง

- จำนวนฝักเฉลี่ยต่อต้น  100-110 ฝัก

- น้ำหนักฝักเฉลี่ยต่อต้น 1,076  กรัม

- น้ำหนักเฉลี่ยต่อไร่  4,735 กิโลกรัมต่อไร่

- ลักษณะใบเป็นสามแฉก โปร่ง

- ทนทานโรคเส้นใบเหลือง

-อายุการออกดอก  55-58 วัน

- ข้อที่ออกดอกแรก  ข้อที่  6

-ความสูงเฉลี่ยเมื่อดอกแรกบาน 70  เซนติเมตร

- ความสูงเฉลี่ยเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย  125 เซนติเมตร

- จำนวนกิ่งแขนงต่อต้น   4 – 5  กิ่ง

- จำนวนฝักเฉลี่ยต่อต้น 70 - 100 ฝัก

- น้ำหนักฝักเฉลี่ยต่อต้น 763.8  กรัม

- น้ำหนักเฉลี่ยต่อไร่ 3,360 กิโลกรัมต่อไร่

-ลักษณะใบเป็นสามแฉกทึบ

ลักษณะเด่นของพันธุ์  แม่โจ้  70 ปี

กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ แม่โจ้ 70 ปีเป็นพันธุ์ที่ทนทานโรคเส้นใบเหลืองอันเกิดจากเชื้อไวรัส    ฝักมีสีเขียวสม่ำเสมอ มี  5  เหลี่ยม  ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดเพื่อการส่งออก  ทรงต้นเตี้ย เป็นพุ่มกะทัดรัด ทำให้เก็บเกี่ยวง่าย

ลักษณะประจำพันธุ์  แม่โจ้ 70 ปี

DSC02006 untitled 1

ลักษณะเด่นของพันธุ์ แม่โจ้ 49

พันธุ์ แม่โจ้ 49 เป็นพันธุ์ที่ทนทานโรคเส้นใบเหลืองอันเกิดจากเชื้อไวรัส    ฝักมีลักษณะ 5 เหลี่ยม  สีเขียวเข้ม  ซึ่งเป็นลักษณะคุณภาพของฝักที่เหมาะสมกับการส่งออก  อายุการออกดอกเร็ว  ความสูงปานกลาง  ทรงต้นโปร่ง  ใบเป็นแฉกลึก  ซึ่งเป็นผลดีต่อการได้รับแสง  ทำให้ฝักมีสีเขียวเข้ม  และง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

DSC02342 untitled 2

ลักษณะประจำพันธุ์  แม่โจ้ 49

DSC01999 DSC02004
untitled 1 untitled 4

สรรพคุณทางยา
กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง มีสรรพคุณเป็นยาระบายและสามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย แต่ต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย15วัน

คนไม่เคย รับประทาน ฝักกระเจี๊ยบเขียว อาจจะ รับประทานไม่เป็น รับประทานยากกันสักหน่อย คนสมัยก่อน ชอบเอาไป ต้ม หรือ ต้มราดกะทิสด กินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู รสชาติ กรอบหวานอร่อยมาก แต่ที่หลาย ๆ คนออกจะไม่ชอบ กระเจี๊ยบเขียว เพราะ ฝักของมัน ข้างในจะมี ยางเมือก ๆ หุ้มเมล็ดอยู่ ทำให้ พิอักพิอ่วน หากคนไม่ชอบ แต่หารู้ไม่ว่า นั่นเป็นสิ่งมีประโยชน์เหลือคณานับ ของกระเจี๊ยบเขียวเลยทีเดียวDSC02330

รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก
รับประทาน 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
รับประทาน 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
รับประทาน 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
รับประทาน 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ อุจจาระตกค้าง
รับประทานสม่ำเสมอ เป็นเส้นใยอาหารธรรมชาติ มีแคลเซียม และ วิตามินสูง
รับประทานประจำ มี โฟเลต สูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และ พัฒนาการ ทารก
ใน ครรภ์

40 ฝักแห้ง มีโฟเลต เทียบเท่าที่คนต้องการในหนึ่งวัน 10 ฝัก มีโฟเลต เท่ากับ 25% ของความต้องการในหนึ่งวัน

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา  วิชรัตน์   สาขาพืชผัก  ภาควิชาพืชสวน  คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873380   ในวันและเวลาราชการ

นำเสนอข่าวโดย
ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทร. 053-873938-9

thainews